กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวรัชนี เอ็มเล่ง

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-L5313-03-003 เลขที่ข้อตกลง 007/65

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 65-L5313-03-003 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 103,035.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้านเพื่อที่จะเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้เหมาะสมและเป็นไปตามวัย ครูและผู้ปกครองจะต้องตระหนักและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลและการส่งเสริมสุขภาพเด็กซึ่ง เป็นสิ่งสำคัญจะต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับการส่งเสริมพัฒนาการ นอกจากนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือการประสานงานจากทุกฝ่าย เพราะเด็กวัยนี้มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพและโรคภัยเจ็บไข้ได้ง่าย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ถ้าเด็กมีสุขภาพดี ก็จะทำให้เด็กมีความพร้อมในการที่จะเรียนรู้ในด้านต่างๆได้ดี และจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่อายุ 2-5ปี ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ.2560 ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ตามศักยภาพของเด็กโดยผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูเปิดจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเด็กปฐมวัย อายุ 2-5 ปี ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 69 พบว่าเด็กมีพัฒนาการการไม่สมวัยในด้านร่างกาย ร้อยละ 18มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร้อยละ๘น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์และร้อยละ 8 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ 66 จากการคัดกรองเด็กปฐมวัยที่มาเรียนในแต่ละวันพบว่าร้อยละ ๑๒ของเด็กทั้งหมดเกิดภาวะโรคติดต่อภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเช่น โรคหวัด โรคตาแดง โรคมือเท้าปากและภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของเชื้อไวรัยโคโรน่า COVID 19 นอกจากนี้ผู้ปกครองร้อยละ60 ยังไม่เข้าใจในวิธีการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในเรื่องของโภชนาการของเด็ก ยังให้เด็กกินขนมกรุบกรอบ ดื่มน้ำอัดลมและลูกกวาด ขนมหวานต่างๆซึ่งส่งผลให้เด็กร้อยละ 80 มีปัญหาในเรื่องของโรคฟันผุ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูจึงมีความจำเป็นในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูประจำปี 2565 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัย และกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
  2. เพื่อลดภาวะโรคติดต่อและป้องกันภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่าcovid 19 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู
  3. เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย
  4. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สำรวจข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน
  2. ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูล
  3. เวทีคืนข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้ความเข้าใจ
  4. ปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมใน ศพด.
  5. ปฏิบัติการของคณะครูและนักเรียนในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
  6. ประชุมติดตามประเมินการดำเนินงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 238
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัย ๒.ภาวะโรคติดต่อและภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่า covid 19 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูลดลง ๓.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น และมีฟันผุในเด็กปฐมวัยลดลง ๔.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สำรวจข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน

วันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สำรวจข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน และสถานการณ์โรคติดต่อต่างๆของเด็กแรกเข้าและทบทวนข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน และสถานการณ์โรคติดต่อต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ครั้งคือก่อนเริ่มโครงการและก่อนสิ้นสุดโครงการโดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์การดำเนินงานเพื่อให้ครูสามารถเปรียบเทียบวัดผลการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานหลังเสร็จสิ้น โดยสำรวจข้อมูลดังต่อไปนี้ - สำรวจพัฒนาการสมวัยของเด็ก - ข้อมูลด้านโภชนาการ - สำรวจฟัน - โรคติดต่อในเด็ก - ค่าป้ายโครงการขนาด ๓x๒ เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900 บาท
- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 1 เครื่อง  เป็นเงิน 1,200  บาท - ที่วัดส่วนสูง 1 ชุด  เป็นเงิน1,500 บาท - ชุดประเมินพัฒนาการ DSPMจำนวน 1 ชุด  เป็นเงิน 2,800  บาท รวมค่าใช้จ่าย 6,400 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง 5 ด้านและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย1ช.ม.

 

0 0

2. ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูล

วันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลของเด็กแรกเข้าและเด็กเก่าในเรื่องพัฒนาการสมวัยของเด็กด้านโภชนาการ ฟัน และโรคติดต่อจำนวน 5 คน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 1 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 5 ชุด เป็นเงิน 175 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

2.ลดการแพร่ระบาดไม่พบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู

 

0 0

3. เวทีคืนข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้ความเข้าใจ

วันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เวทีคืนข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลบุตรหลานในเรื่องพัฒนาการสมวัย ภาวะโรคติดต่อในเด็ก และภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่าโดยการคัดกรองให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพปาก โรคฟันผุและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยให้กับผู้ปกครอง2 วัน จำนวน 119 คน ประกอบด้วย - คณะครูจำนวน 5 คน - เด็กนักเรียนจำนวน 57 คน - ผู้ปกครองจำนวน 57 คน วันที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการสมวัย  และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโรคติดต่อในเด็กและภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่าโดยการคัดกรอง วันที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพปาก โรคฟันผุและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 4 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน  476 ชุด
เป็นเงิน 16,660 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน2 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 238 ชุด
เป็นเงิน 19,040 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2วัน วันละ2 คน คนละ2 ชม. ชม.ละ600 เป็นเงิน 4,800 บาท
- ค่าเอกสารการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ชุดละ30 บาทจำนวน 57 ชุด เป็นเงิน1,710บาท -  ปากกาน้ำเงิน ขนาด 0.5 มม.กล่องละ 180
  บาทจำนวน  1 กล่อง
  เป็นเงิน  180 บาท -  กระดาษ A4 รีมละ 135 บาทจำนวน  1 รีม
  เป็นเงิน 135 บาท - เครื่องวัดอุณหภูมิแบบมีเจลล้างมือจำนวน1 ชุด
เป็นเงิน 2,500  บาท - หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กและผู้ใหญ่100 กล่องกล่องละ 50บาท เป็นเงิน 5,000  บาท - ชุดตรวจ  ATK ชุดละ 85 บาท จำนวน  50 ชุด
เป็นเงิน  4,250 บาท - ชุดโมเดลฟันชุดละ 820บาทจำนวน 2 ชุด
เป็นเงิน 1,640  บาท - ปืนยิงแอลกอฮอล์ ชุดละ 660บาทจำนวน1 ชุด
  เป็นเงิน  660  บาท - แปรงสีฟัน ยาสีฟันสำหรับเด็กจำนวน 57 ชุด ชุดละ 50 บาท
เป็นเงิน  2,850  บาท - ผ้าขนหนูผืนละ 35 บาทจำนวน 57 ผืน - เป็นเงิน  1,995 บาท - แก้วน้ำเด็ก ใบละ 20 บาท จำนวน 57ใบ - เป็นเงิน  1,140บาท   รวมค่าใช้จ่าย 62,560บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โรคฟันผุในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูไม่เพิ่มขึ้น

 

0 0

4. ปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมใน ศพด.

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมใน ศพด.และบริเวณใกล้เคียงให้เอื้อต่อการมีพัฒนาการที่สมวัยและการดูแลสุขภาพของเด็ก -ปรับที่สำหรับแปรงฟันของเด็กโดยทำอ่างล้างมือเคลื่อนที่ -ปรับสถานที่บริเวณในศพด.ให้เด็กมีพื้นที่ในการปลูกผักร่วมกับครูและผู้ปกครองในศพด.และจัดให้มีกิจกรรมรดน้ำผักทุกวันในตอนเช้า -ปรับพื้นที่บริเวณศพด.ให้มีพื้นที่ออกกำลังกายและจัดให้มีการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหน้าเสาธงในทุกๆวัน เด็กได้เล่นปีนป่ายกับเครื่องเล่นสนามที่ทางศพด.จัดให้ในทุกๆวัน -ครูและจำนวนผู้ปกครองเข้าร่วมปรับสถานที่ 20 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อๆละ
  35 บาท จำนวน 20 ชุด
  เป็นเงิน 1,400 บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆละ 80 บาท
  จำนวน 20 ชุด   เป็นเงิน 1,600 บาท - อ่างแปรงฟันล้างมือพร้อมติดตั้งสำหรับเด็ก
  ปฐมวัย ชุดละ 1000 บาท จำนวน 15 ชุด เป็นเงิน 15,000 บาท - น้ำยาฆ่าเชื้อ เดทตอล แกลอนละ 2,000 บาท
  จำนวน 3 แกลอน
เป็นเงิน 6,000 บาท - แอลกอฮอล์ แกลอนละ 980 บาทจำนวน 5
  แกลอน
เป็นเงิน 4,900 บาท
- บัวรดน้ำ 5 อันๆละ 50 บาท เป็นเงิน 250บาท - พันธุ์ผักบุ้ง 2 กิโลกรัมๆละ 100 บาท   เป็นเงิน 200 บาท - ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กระสอบๆละ 50บาท เป็นเงิน 500 บาท รวมค่าใช้จ่าย 29,850 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กนักเรียนมีกิจกรรมทางกาย

 

0 0

5. ปฏิบัติการของคณะครูและนักเรียนในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

วันที่ 1 เมษายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ปฏิบัติการของคณะครูและนักเรียนในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดย. 1.ครูทำความสะอาดสถานที่ภายในศูนย์โดยใช้ยาฆ่าเชื้อ 2.ครูทำการตรวจวัดไข้นักเรียนด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมีเจล 3.ครูให้เด็กล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล 4.ครูพ่นแอลกอฮอลโดยใช้ปืนยิงแอลกอฮอลทั่วบริเวณภายในศูนย์และอุปกรณ์ของใช้นักเรียน ๕.ครูตรวจATK ให้กับกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงในศพด. ๖.ให้เด็กแปรงฟันโดยใช้ชุดยาสีฟันแปรงสีฟันแก้วน้ำและใช้ผ้าขนหนูส่วนตัวของตนเอง ๗.ก่อนกลับบ้าน ตรวจวัดไข้ ให้เด็กล้างมือและเปลี่ยนหน้ากากอนามัย ๘.กิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน ๙.กิจกรรมปลูกผักบุ้งและดูแลแปลงผัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี

 

0 0

6. ประชุมติดตามประเมินการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามประเมินการดำเนินงานโครงการ จำนวน๓ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ปกครองและครูตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติกับเด็กได้ถูกต้อง ๑๐๐  เปอร์เซ็นต์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัย และกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง 5 ด้านและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย1ช.ม.
119.00 119.00

 

2 เพื่อลดภาวะโรคติดต่อและป้องกันภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่าcovid 19 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู
ตัวชี้วัด : ลดการแพร่ระบาดไม่พบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู
119.00 119.00

 

3 เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : โรคฟันผุในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูไม่เพิ่มขึ้น
119.00 119.00

 

4 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองและครูตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติกับเด็กได้ถูกต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
119.00 119.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 238
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 238
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงูมีพัฒนาการที่สมวัย และกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (2) เพื่อลดภาวะโรคติดต่อและป้องกันภาวะเสี่ยงในโรคระบาดโคโรน่าcovid 19 ของเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู (3) เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (4) เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็กปฐมวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สำรวจข้อมูลพัฒนาการ โภชนาการ ฟัน (2) ประชุมสังเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูล (3) เวทีคืนข้อมูลและอบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้ความเข้าใจ (4) ปฏิบัติการปรับสภาพแวดล้อมใน ศพด. (5) ปฏิบัติการของคณะครูและนักเรียนในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (6) ประชุมติดตามประเมินการดำเนินงานโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 65-L5313-03-003

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวรัชนี เอ็มเล่ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด