กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยมีคุณค่า รพ.สต.บ้านในเมือง ปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65-L5313-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรทัย อุสมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 37,500.00
รวมงบประมาณ 37,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ทำให้ประชากรในวัยผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลให้ลักษณะครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยาย (Extend Family) ไปสู่ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวลดลง จำนวนผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวลดลง มีเวลาให้ผู้สูงอายุลดลง ขาดการให้ความรัก ความอบอุ่น แก่ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจึงถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ดำเนินชีวิตเพียงลำพัง จากการสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุ ปี2565ทั้งหมด 1,308 คน แยกเป็นผู้สูงอายุ ติดสังคม 1,278 คน ติดบ้าน 25 คน ติดเตียง5 คน จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจ ความเครียด ความคับข้องใจ แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้น มีสารชีวเคมีและฮอร์โมนลดลง การสูญเสีย สิ่งสำคัญของชีวิต เช่น การสูญเสียคู่ชีวิตเพราะตายจาก การสูญเสียบุตรเพราะแยกไปมีครอบครัว การสูญเสียตำแห่งหน้าที่การงาน การสูญเสียสถานภาพหรือบทบาททางสังคม ตลอดจนการสูญเสียการเป็นที่พึ่งของครอบครัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ และหากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยมีคุณค่า เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม มีความรู้ แนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย ให้แก่ผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์การในท้องถิ่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำอสม. เป็นพี่เลี้ยงให้กับแกนนำผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ค้นหาและคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุด้วยกัน แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

มีจำนวนพี่เลี้ยงที่เป็นอสม. 1 ท่าน ต่อแกนนำผู้สูงอายุ 1-2คน

60.00 48.00
2 เพื่อให้ แกนนำ อสม.มีความรู้ในการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและมีทักษะการให้คำแนะนำในเรื่องการดูแลและการปฏิบัติตัวแก่ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบ

อสม.แกนนำมีความรู้ ร้อยละ 80 หลังการอบรม โดยวิธีอบรมให้ความรู้

60.00 48.00
3 เพื่อจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผู้สูงอายุ ร้อยละ 30 ได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

300.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 360 37,500.00 2 37,500.00
16 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรม 60 19,200.00 19,200.00
16 - 30 มิ.ย. 65 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 300 18,300.00 18,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีทักษะและแนวทางการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในการดูแลตนเองได้
  2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการรวจสุขภาพ และคัดกรองความเสี่ยง
  3. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 00:00 น.