กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร ”



หัวหน้าโครงการ
นายเกรียงศักดิ์ แดวากม

ชื่อโครงการ โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-2-02 เลขที่ข้อตกลง 06/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ 2566-L8010-2-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,795.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในบรรยากาศ สาเหตุใหญ่มาจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ และเชื่อกันว่า อุณหภูมิของโลกที่ สูงขึ้นเป็นผลเนื่องมาจากปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) ในชั้นบรรยากาศมากกว่าปกติ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าชเรือนกระจกจะทำให้บรรยากาศโลกกักเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นสาเหตุใหญ่ คือ มนุษย์ ซึ่งเป็นผู้เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากจนเกินไป หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะที่สมดุลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นส่วนที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ มนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหานั้นได้ ถึงแม้ว่าการที่โลกจะกลับมาสูสภาวะสมดุลได้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม แต่เราก็สามารถบรรเทาผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีความรุนแรงลดน้อยลงได้

ปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนเป็นจำนวนมากซึ่งประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ได้แก่เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ฯลฯ ขยะรีไซเคิลได้แก่ ขวดน้ำ ขวดแก้ว กล่องนม ขวดน้ำผลไม้ ฯลฯ และขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก ถุงขนม ฯลฯ ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟแบบต่างๆ ถ่านไฟฉาย กระป่องสเปรย์ ฯลฯ จากการสำรวจขยะในโรงเรียนในแต่ละวันมีปริมาณขยะวันละ 15 กิโลกรัม และมีนักเรียนที่สามารถแยกขยะอย่างถูกวิธีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 23 ของนักเรียนทั้งหมด และใน 1 สัปดาห์รถขยะจะเก็บขยะในโรงเรียนและชุมชนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำให้ขยะส่งกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ เกิดมลพิษทางกลิ่น ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีสุขภาพจิตที่ไม่ดี

ทางโรงเรียนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชนได้อีกทางหนึ่งอีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดตั้งแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียนและชุมชน
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะเเละโรคที่มากับขยะเเก่ผู้ร่วมโครงการ
  3. ผักสวนครัวปลอดสารพิษ
  4. ติดตามพฤติกรรมในการคัดเเยกขยะ
  5. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ
  6. ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย
  7. จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการคัดแยกขยะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดตั้งแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียนและชุมชน

วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกนักเรียนแกนนำ(อถล.)ห้องละ 2 คน
2.ให้นักเรียนแกนนำ(อถล.) เป็นผู้ประสานในห้องเรียนกับครูประจำชั้น
3.จดบันทึกปริมาณขยะในโรงเรียนทุกวัน
4.จดบันทึกขยะในครัวเรือนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทุกวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการคัดเลือกนักเรียนแกนนำ(อถลฺ)ห้องละ 2 คน จากนั้นให้นักเรียนแกนนำ(อถลฺ)เป็นผู้ประสานในห้องเรียนกับครูประจำชั้นในการเก็บข้อมูล โดยมีการจดบันทึกปริมาณขยะในโรงเรียนทุกวันและหลังจากนั้นจดบันทึกขยะในครัวเรือน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทุกวัน สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าแกนนำนักเรียนร้อยละ 100 มีการจดบันทึกปริมาณขยะในโรงเรียนและครัวเรือน

 

0 0

2. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะเเละโรคที่มากับขยะเเก่ผู้ร่วมโครงการ

วันที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองเเละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไรเกี่ยวกับการคัดเเยกขยะที่ถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไรเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี โดยการบรรยาย ดูวีดีโอ และฝึกทดสอบโดยให้นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษาทุกคน นำขยะทิ้งลงถังแต่ละประเภทให้ถูก ช่วงบ่ายเชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไรเกี่ยวกับโรคที่มากับขยะ สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า นักเรียน ครู และผู้ปกครองร้อยละ 98 ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ

 

0 0

3. ผักสวนครัวปลอดสารพิษ

วันที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • ปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีภาพ ผลการดำเนินงานร้อยละ 10 ได้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

 

0 0

4. ติดตามพฤติกรรมในการคัดเเยกขยะ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามพฤติกรรมการคัดเเยกขยะของนักเรียนเเละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไร เเละบันทึกผลสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไร และบันทึกผลสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง พบว่าปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงร้อยละ 30 และมีการจำหน่ายขยะรีไซเคิลที่ได้จากการคัดแยกขยะ กิจกรรมที่ 5 ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย

 

0 0

5. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เดินรณรงค์การคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการเดินรณรงค์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธ๊และโรคที่มากับขยะ สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่านักเรียนและชุมชนร้อยละ 80 ได้ร่วมกิจกรรม

 

0 0

6. ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ให้ความรู้เกี่ยวการทำน้ำหมักชีวภาพ

2.ครูและนักเรียนร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ พร้อมกับลงมือปฏิบัติ ครูและนักเรียนร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักและเศษอาหารเหลือจากอาหารกลางวัน

 

0 0

7. จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการคัดแยกขยะ

วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรูปเล่มรายงาน จำนวน 3 เล่ม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งแกนนำ(อถล.)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียนและชุมชน มีการคัดเลือกนักเรียนแกนนำ(อถลฺ)ห้องละ 2 คน จากนั้นให้นักเรียนแกนนำ(อถลฺ)เป็นผู้ประสานในห้องเรียนกับครูประจำชั้นในการเก็บข้อมูล โดยมีการจดบันทึกปริมาณขยะในโรงเรียนทุกวันและหลังจากนั้นจดบันทึกขยะในครัวเรือน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ทุกวัน สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่าแกนนำนักเรียนร้อยละ 100 มีการจดบันทึกปริมาณขยะในโรงเรียนและครัวเรือน กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะแก่ผู้ร่วมโครงการ เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไรเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี โดยการบรรยาย ดูวีดีโอ และฝึกทดสอบโดยให้นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษาทุกคน นำขยะทิ้งลงถังแต่ละประเภทให้ถูก ช่วงบ่ายเชิญวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไรเกี่ยวกับโรคที่มากับขยะ สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า นักเรียน ครู และผู้ปกครองร้อยละ 98 ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ มีการเดินรณรงค์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธ๊และโรคที่มากับขยะ สรุปผลการดำเนินกิจกรรมพบว่านักเรียนและชุมชนร้อยละ 80 ได้ร่วมกิจกรรม กิจกรรมที่ 4 ติดตามพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ ติดตามพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านอุไร และบันทึกผลสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง พบว่าปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงร้อยละ 30 และมีการจำหน่ายขยะรีไซเคิลที่ได้จากการคัดแยกขยะ กิจกรรมที่ 5 ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพ พร้อมกับลงมือปฏิบัติ ครูและนักเรียนร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักและเศษอาหารเหลือจากอาหารกลางวัน กิจกรรมที่ 6 ผักสวนครัวปลอดสารพิษ มีการปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีภาพ ผลการดำเนินงานร้อยละ 10 ได้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ70 ของโรงเรียนและชุมชนมีปริมาณขยะลดลง 2. นักเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี
70.00

 

2 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะเพิ่มขึ้น
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน (2) นักเรียน ผู้ปกครอง ครูบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดตั้งแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียนและชุมชน (2) อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะเเละโรคที่มากับขยะเเก่ผู้ร่วมโครงการ (3) ผักสวนครัวปลอดสารพิษ (4) ติดตามพฤติกรรมในการคัดเเยกขยะ (5) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ (6) ทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย (7) จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการคัดแยกขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเเยกขยะเพื่อสุขภาพ โรงเรียนบ้านอุไร จังหวัด

รหัสโครงการ 2566-L8010-2-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายเกรียงศักดิ์ แดวากม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด