กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา


“ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ ”

ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางปริยา สว่างศรี

ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ

ที่อยู่ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 2566/L2979/1/05 เลขที่ข้อตกลง 11/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 2566/L2979/1/05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,170.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี มีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของเด็ก เนื่องจากเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทนับล้านโครงข่าย เป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้ การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 - 3 ปี ถือเป็น proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ (Human capital) อีกทั้งยังเป็นช่วงของการสร้างอวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานโรคระบบเผาพลาญ ระบบทางเดินอาหาร ของร่างกายให้สมบูรณ์ จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ พบว่า สภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะโภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต มีความสำคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกำหนดภาวะสุขภาพไปตลอดชีวิต ในขณะที่ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มีส่วนกำหนดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น หากในช่วง 1,000 วัน ได้รับอาหารน้อยไปส่งผลให้ทารกในครรภ์และเด็กอายุ 0 - 2 ปี เจริญเติบโตไม่ดี คลอดออกมามีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะเตี้ย เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ตามทฤษฎีโปรแกรมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดาและในเด็กปฐมวัยช่วงตอนต้นของชีวิต (Fetal programming) ของ David Barker นายแพทย์ชาวอังกฤษและนักระบาดวิทยา ในทางตรงกันข้าม หากได้รับอาหารมากเกินไป ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ทารกกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นเด็กอ้วน ผู้ใหญ่อ้วน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่นเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายให้ขับเคลื่อนงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตทั่วประเทศใน ปี 2561 และมอบหมายให้กรมอนามัยขับเคลื่อนงานด้วยการวางรากฐานตั้งแต่ 1,000 วันแรกของชีวิต โดยให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ทารกในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งให้ผลที่คุ้มค่ามากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ ร่วมกับอาหาร/เครื่องดื่มสะอาดปลอดภัย การดูแลสุขภาพช่องปาก การกอด การเล่น การนอน การอ่านเล่านิทาน เป็นผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ (Full Potential Growth) สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ ระดับเชาวน์ปัญญาดี พัฒนาการเรียนรู้และการเข้าสังคม จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีในอนาคต ทั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่ม เป้าหมายในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิตออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) หญิงตั้งครรภ์ (270 วัน) 2) เด็กอายุ 0 - 6 เดือน (180 วัน) 3) เด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี (550 วัน) ซึ่งจะวางระบบการดูแลที่ต่อเนื่องตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ทั้งนี้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร มารดาหลังคลอด 6 สัปดาห์ และเด็กแต่ละคนต้องได้รับบริการตามชุดกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร มารดาหลังคลอด 6 สัปดาห์ และเด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ จากสถานการณ์ผลการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา ในปี 2565 พบว่ามีประเด็นที่เกี่ยวข้อง 9 ประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสุขภาพเด็กในพื้นที่ ดังนี้ 1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 90.48 (HDC 2565) 2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ85.71( HDC 2565)
3.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 20 ( HDC 2565)
4. หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดไอโอดีนและรับประทานทุกวัน ร้อยละ 90.48 5 เด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 0( HDC 2565)
6. เด็กแรกคลอดกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนร้อยละ 16.67 (HDC)
7. การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในเด็ก ร้อยละ 98.95( 2560 )
8. เด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 49.15 พบพัฒนาการล่าช้าร้อย 33.59 9 .เด็กอายุ 0-2 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ63.33

    ดั้งนั้น เงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จคือ การบูรณาการและการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเด็กจนถึงอายุ ๒ ปี บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ ปี พ.ศ 2566 ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการตั้งครรภ์
  2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลัง3 ครั้งตามเกณฑ์
  3. เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วนตามวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์   2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์   3. เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ

วันที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ขั้นดำเนินการ     2.1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่ขึ้นทะเบียน       2.1.1 จนท.และอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์/เชิญชวน ค้นหาหญิงตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ       2.1.2 จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ตำบลทุ่งพลา     2.1.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์ตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต
      2.1.4 เตรียมพร้อมคลินิกรับฝากครรภ์ปลอดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
    -.จัดระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ทั้งจากผู้ให้และผู้รับบริการ ให้มีจุดคัดกรอง มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย มีเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อบริการก่อนและหลังการสัมผัสสิ่งต่างๆ       2.1.5 พัฒนางานคลินิกฝากครรภ์ (ANC) คุณภาพ -ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ -คัดกรองความเสี่ยงหญิงตั้งครรภ์     - ส่งเสริมการจ่าย/การกินยา Triferdineทุกวัน - หลังคลอด 6 เดือน     - ส่งเสริมโภชนาการหญิงตั้งครรภ์     - ตรวจสุขภาพช่องปากและขัดทำ ความสะอาดฟัน ในหญิงตั้งครรภ์     – กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ 1.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อเป็นโรคประจำถิ่นและโรคติดต่อที่มีผลกระทบกับหญิงตั้งครรภ์ 2.การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ 3.การใช้ยา 4.ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 5.พัฒนาการทารก 6.การเตรียมตัวก่อนคลอด และระหว่างคลอด 7.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่     2.1.6 ทำมาตรฐานการปฏิบัติงานโครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วันแรกแห่งชีวิต ซึ่งเป็นการดูแลสตรีตั้งครรภ์       และเด็ก 0-2 ปี ดังนี้   1.หญิงตั้งครรภ์(ช่วง 270 วัน)     - การให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน (Triferdine150) และแคลเซียม     -การให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก ไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด 19     -การคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ธาลัสซีเมีย เบาหวาน     - คัดกรองภาวะซึมเศร้า   2.มารดาหลังคลอดและเด็กอายุ 0-6 เดือน(ช่วง 180 วัน)   - เน้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน   - ส่งเสริมให้ผู้ปกครองใช้คู่มือตรวจพัฒนาการ DSPM   - ส่งเสริม 5เทคนิค กิน นอน กอด เล่น เล่า เสริมสร้างไอคิวและอีคิวลูกน้อย   3. ผู้ปกครองและเด็กอายุ6 เดือน-2 ปี(ช่วง 550 วัน) - เน้นนมแม่พร้อมอาหารเสริมตามวัย -การได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในช่วง 6 เดือน-5 ปี -ส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ใช้คู่มือตรวจพัฒนาการDSPM ตามช่วงวัย     -ส่งเสริม 5เทคนิค กิน นอน กอด เล่น เล่า เสริมสร้างไอคิวและอีคิวลูกน้อย   2.1.7 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงที่บ้าน แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน
      การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำ: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไปโดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย  เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา  (ธาตุเหล็ก และยาไอโอดีน)การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อ กับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง: ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อ กับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล   - กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิตและแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อมบันทึกผล  ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม   - กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมหญิงหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บ และน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา 2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็ก 0-2ปี     2.2.1 จนท.และอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์/เชิญชวน ค้นหาเด็กแรกเกิด- 2 ปีและแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ     2.2.2 หน่วยบริการจัดทำทะเบียน เอกสารข้อมูลและแผนกำกับดูแล แผนปฏิบัติงาน และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็ก0-2ปี 2.2.3 จัดกิจกรรมสร้างความรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในหัวข้อ     - กิน นอน กอด เล่น เล่า     - นมแม่พร้อมอาหารเสริมตามวัย     - การใช้คู่มือตรวจพัฒนาการDSPM ตามช่วงวัยสำหรับผู้ปกครอง     - ส่งเสริมการจ่าย/กินยาน้ำ เสริมธาตุเหล็ก เด็กอายุ 6 เดือน – 5 ปีในคลินิก WCC 3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์     2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์   3. เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วน

 

45 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการตั้งครรภ์
ตัวชี้วัด : 1. หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80

 

2 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลัง3 ครั้งตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : 2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

 

3 เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วนตามวัย
ตัวชี้วัด : เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 โภชนาการสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 60

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 8ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการตั้งครรภ์ (2) มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลัง3 ครั้งตามเกณฑ์ (3) เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วนตามวัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ครรภ์คุณภาพ จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 2566/L2979/1/05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปริยา สว่างศรี )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด