กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพฟันดียิ้มสวยทุกกลุ่มวัย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรียะ ยูนุ๊
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคฟันผุในฟันน้ำนม ของกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน ยังเป็นปัญหามากในเขตเทศบาลเมืองสะเตงนอก ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนม การไม่ดูดน้ำตามหลังดื่มนม การไม่ทำความสะอาดช่องปากให้เด็ก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหา ทั้งยังพบว่า ผู้เลี้ยงดูเด็ก ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และไม่เห็นความสำคัญต่อฟันน้ำนมและพฤติกรรมในการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง นอกจากในกลุ่มก่อนวัยเรียนแล้ว ก็ยังมีปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กวัยเรียน ปัญหาที่ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ หรือในบางรายเด็กไม่แปรงฟันทั้งตอนตื่นเช้าและก่อนนอน จึงทำให้เกิดปัญหาฟันผุขึ้น นอกจากนี้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้แก่ โรคเหงือกอักเสบและ โรคฟันผุ เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลง มีผลทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แพ้ท้อง เกิดอาการเบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารบ่อยครั้ง โดยพฤติกรรมการกินอาหารบ่อยครั้งไม่เป็นเวลา มีผลทำให้เหงือกอักเสบและเกิดโรคฟันผุได้ง่าย ร่วมกับการไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากได้อย่างเหมาะสม มีโอกาสเกิดโรคปริทันต์ที่มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดและเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย ซึ่งคุณแม่ที่มีฟันผุและเหงือกอักเสบใน ช่องปากสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคไปสู่ลูกได้โดยทางน้ำลาย การดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ควรบูรณาการไปพร้อมกับการให้บริการฝากครรภ์
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพฟันดียิ้มสวยทุกกลุ่มวัยประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยมีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบในช่องปากและเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการรักษาหรือ ส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปากต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

 

0.00
2 เพื่อให้ทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

 

0.00
4 เพื่อรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปาก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 33,830.00 4 33,830.00
24 - 25 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มวัยเรียน 0 12,980.00 12,980.00
28 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มก่อนวัยเรียน 0 10,750.00 10,750.00
29 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 0 5,800.00 5,800.00
30 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ 0 4,300.00 4,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
    1. ลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียน
  2. ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็ก
  3. ผู้ป่วยได้รับการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 11:53 น.