กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยผักที่ปลูกนั้นจะนำมารับประทานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในการปลูกผักจะมีครูคอยเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กมีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบในการดูแลผักโดยผักที่ปลูกจะเป็นผักปลอดสารพิษ ในกิจกรรมนี้เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะได้เรียนรู้วิธีการเตรียมดิน การปลูกผัก การดูแลรักษา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว เด็กมีความสุข สนุนสนาน ในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำตารางการออกกำลังกายและกิจกรรมเคลื่อนไหวของร่างกายที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น กิจกรรมแอโรบิค กิจกรรมเต้นประกอบเพลง โรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ1ชั่วโมง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมาะสมตามวัย มีความสุข สนุกสนานกับการทำกิจกรรม

4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 26 คน เป็นเวลา 80 วัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าทุกคน และมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ดีขึ้น

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นวางแผน (P) - ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงาน - แต่งตั้งคระกรรมการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ(D) -ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องการจัดอาหาร ที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพ โภชนาการของเด็กรายบุคคล ขั้นประเมินผล (c) -สรุปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงพัฒนางาน(A) -นำผลการดำเนินกิจกรรมมาวิเคราะห์ปรับปรุงพัฒนาเพื่อวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครูและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
  • การเลือกอาหารที่เหมาะสม
  • การพิจารณาข้อมูลบนซองขนมและเครื่องดื่ม
  • การจัดเมนูอาหารที่น่าสนใจสำหรับเด็ก
2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้อที่วัดส่วนสูง จำนวน 1 ชุด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน -ข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงของเด็ก

1. เตรียมความพร้อม29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนที่ ๑ สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กทีมีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็ก ที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหา๒ กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ ๑ เด็กมีน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์จำนวน๑๙ คน พบว่าผู้ปกครองของเด็ก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและกรีดยาง ซึ่งต้องออกไปตั้งแต่เช้ามืด จึงไม่ค่อยมีเวลา ดูแลบุตรหลานก่อนไปโรงเรียน แล้วปล่อยให้อยู่กับปู่ย่าตายาย ซึ่งไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ได้เท่าที่ควร ทำให้เด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้า อีกทั้งผู้ปกครองบางส่วนมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปมาให้เด็กรับประทาน เด็กจึงได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการและอีกหนึ่งสาเหตุคือผู้ปกครองเร่งรีบที่จะไปทำงานจึงรีบส่งเด็กมาที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยที่เด็กยังไม่ได้กินอาหารเช้า ทำให้เด็กอารมณ์หงุดหงิด งอแง ไม่พร้อมสำหรับการเรียนรู้และการเล่น กลุ่มที่๒ เด็กมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน๗ คน รวมเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมด ๒๖ คนขั้นตอนที่ ๒ นำเสนอโครงการต่อกองการศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษา ท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวสู่แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช) ตำบลละงูขั้นตอนที่๓ ประชุมคณะครูเพื่อเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช) ตำบลละงู

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ