กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 60-L6895-01-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 60-L6895-01-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 25,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันสังคมไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” การมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐจำเป็นต้องสร้างการจัดสวัสดิการต่างๆแก่ผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกด้าน ซึ่งการจัดการดูแลโดยชุมชนนั้นถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ภาครัฐส่งเสริมให้กลายเป็นบทบาทของท้องถิ่นแทนในการบริหารจัดการและจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยมีหน่วยงานหลักได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนอกจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานเรื่องการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพนั้นบุคลากรในหน่วยงานและคนในชุมชนมีความสำคัญเช่นกันในการประสานงานและให้ความร่วมมือ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน พยาบาลชุมชน นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัคร เป็นต้น จะเห็นว่าการจัดสวัสดิการเป็นบทบาทของท้องถิ่น แต่บทบาทการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนยังคงเป็นหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวและอาสาสมัครในชุมชน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยในการหนุนเสริมให้การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเกิดประสิทธิภาพ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงเป็นไปตามกาลเวลา เป็นผลที่ทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆสามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่ายหากผู้สูงอายุมีปัญหาต่างๆไม่ว่าปัญหาทางครอบครัวปัญหาเศรษฐกิจฯลฯ ด้วยแล้วก็มักจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกายจิตใจ ผลที่ตามมานั้นอาจจะเป็นปัญหาทางชุมชนและสังคมต่อไปด้วย เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้สูงอายุนั้นมักมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง จำเป็นต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีหากได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ก็น่าเชื่อว่าน่าจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน ได้อย่างยืนยาว ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้น จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายคือตัวผู้สูงอายุเองผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสมาชิกที่รวมอยู่ครอบครัวเดียวกัน ให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในงานสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพการฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลรักษาสุขภาพด้วย ทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนจึงจัดทำโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561ขึ้น เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมกันในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนา ทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.)
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.) มีทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพทั้งกาย-จิตผู้สูงอายุ
  2. มีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 12 ชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 30 เมษายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • บรรยายให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ผู้สูงอายุและบทบาทความสำคัญของ อผส.
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายให้ความรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ หลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • แบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้พร้อมประเมินทักษะ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานการประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ  ฐานการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม/วิธีการป้องกันและรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม ฐานการออกกำลังกาย/ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุด้วยยางยืด และฐานการประเมินภาวะหกล้ม/การดูแลจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน
  • ตอบข้อซักถามและสรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน  80 คน  ในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมผู้สูงอายุในชุมชน  เมื่อวันที่  30  เมษายน  2561  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ผู้สูงอายุและบทบาทความสำคัญของ อผส. การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุและหลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น แบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนรู้พร้อมประเมินทักษะ โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตังและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ฐานที่ 1 การประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ( Barthel ADL Index ) ฐานที่ 2  การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม/วิธีการป้องกันและรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม
ฐานที่ 3  การออกกำลังกาย/ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงวัย(ยางยืด) ฐานที่ 4  การประเมินภาวะหกล้มผู้สูงวัย/การดูแลสภาพแวดล้อมในบ้าน ผลการประเมินทักษะ 1.1 ฐานที่ 1 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และแปลผลการประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง  จำนวน  70 คน  คิดเป็นร้อยละ  87.5
1.2 ฐานที่ 2 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และแปลผลการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการป้องกัน รักษาโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง  จำนวน  75 คน  คิดเป็นร้อยละ  93.75
1.3 ฐานที่ 3 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยยางยืดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง  จำนวน  78 คน  คิดเป็นร้อยละ  97.5
1.4 ฐานที่ 4  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และประเมินภาวะหกล้มของผู้สูงอายุได้ถูกต้อง  จำนวน  73  คน  คิดเป็นร้อยละ  91.25

 

80 0

2. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุในชุมชน 12 แห่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุโดยอาสาสมัครผู้สูงอายุในชุมชน 12 แห่ง โดยเฉพาะการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง โดยมีเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อผส. จำนวน  30 ราย

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนา ทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.)
ตัวชี้วัด : อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุจำนวน 80 คน ได้รับการพัฒนาทักษะการดูแล/ฟื้นฟูผู้สูงอายุ

 

2 เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : มีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนา  ทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครผู้สูงอายุ (อผส.) (2) เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ (2) เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) รวมพลัง ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2561 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 60-L6895-01-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด