กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก ”
ชุมชนหลังโรงพัก



หัวหน้าโครงการ
นางสาวชุติมา พูนผล




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก

ที่อยู่ ชุมชนหลังโรงพัก จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L8008-02-33 เลขที่ข้อตกลง 32/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนหลังโรงพัก

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนหลังโรงพัก รหัสโครงการ 66-L8008-02-33 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2566 - 31 ธันวาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 36,150.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 80 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะสุขภาพ จึงมักพบการเกิดโรคในลักษณะของการเสื่อมสภาพของร่างกาย อีกทั้งด้วยสภาพการณ์ในปัจจุบันที่มีการใช้ชีวิตที่แตกต่าง ออกไปจากเดิมส่งผลให้ผู้คนมักมีอาการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยทางกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก ที่สามารถพบได้ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าโรคข้อที่มีความเสื่อมมากที่สุด คือ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากข้อเข่าถือเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ ต้องรับน้ำหนักของร่างกายโดยตรง และยังทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้มีความเสื่อมไปตามการใช้งานมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันรูปแบบการดำรงชีวิตมีความแตกต่างกันไป ทั้งนิสัยการทานที่ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือการเคลื่อนไหนร่างกายที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ดังนั้น อาการข้อเข่าเสื่อมจึงถือเป็นปัญหาสำคัญของระบบบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นโรคข้อที่พบได้มากที่สุด และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญให้ทุพพลภาพ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กำหนดให้วันที่ 12 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันโรคข้อสากล (World Arthritis Day)” มีการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักรู้ ลดความเสี่ยง และมีแนวทางในการป้องกันข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร


ปัญหาสุขภาพข้อเข่า มักพบได้หลากหลายช่วงวัย พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยภาวะของโรคข้อเข่าที่เรารู้จักกันคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) คือโรคที่มีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ เมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกทำให้มีอาการปวดมากขึ้น อาจพบข้อเข่าผิดรูปได้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหวร่างกายอันเป็นภาระต่อตนเองและผู้ดูแลทั้งยังมีเรื่องของภาระค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการรักษาโรคอาการทางเข่านั้นยังไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจัง รวมทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลเองก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในอาการที่เจอรวมถึงขาดความรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น ทำให้คนมักหันไปพึ่งการรักษาด้วยยา ซึ่งการได้รับยารักษาโรคกล้ามเนื้อและกระดูกเป็นระยะเวลานานนั้น ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เลือดออกในกระเพาะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกผุข้อเสื่อมเร็วขึ้น ทั้งยังส่งผลให้อวัยวะสำคัญของร่างกายอย่างไตทำงานหนักอีกด้วย ดังนั้นหากมีวิธีการดูแลสุขภาพข้อเข่าแบบไม่ใช้ยาหรือรับการผ่าตัด จึงเป็นทางเลือกแรกที่คนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพข้อเข่า
ภูมิปัญญาไทย หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในด้านสมุนไพรไทยรวมถึงศาสตร์การดูแลสุขภาพแบบแผนไทยนั้น ปรากฏให้เห็นบ่อยๆ เนื่องจากทางรัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองไม่เป็นภาระไม่ต้องเข้าสูระบบสุขภาพ โดยในทางการแพทย์แผนไทย โรคจับโปงแห้งเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นถือเป็นโรคลมชนิดหนึ่งที่เกิดจากอาหาร อากาศ และน้ำ โดยโรคจับโปงแห้งมักจะเป็นจับโปงน้ำมาก่อนเมื่อปล่อยไว้จึงกลายเป็นจับโปงแห้ง คือมีอาการสะบ้าเจ่า ทำให้สะบ้ายึดติด มีหินปูนเกาะทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ ซึ่งปัญหาสุขภาพเข่าทั้งสองแบบนั้นส่งผลให้การนั่ง การลุก การเดิน มีความยากลำบาก และนอกจากอายุจะเป็นปัจจัยสำคัญของโรคข้อเข่าแล้ว ยังพบว่า อาชีพหรือการทำงานหนักก็จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการข้างต้นเช่นกัน การรักษาหรือบรรเทาอาการปวดเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมีการรักษาหลากหลายวิธี เช่น การจ่ายยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวด การสั่งหัตถการนวดและประคบสมุนไพร บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้ออันเป็นผลมาจากอาการปวดเข่า และการพอกยาสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าโดยตรง โดยการพอกยาสมุนไพรที่มีรสประธานฤทธิ์ร้อน เพื่อแก้อาการปวดเข่า ในลักษณะของโรคจับโปงแห้งเข่า (ข้อเข่าเสื่อม) เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งหรืออั้นที่ข้อเข่า ทำให้อาการปวดและอาการฝืดในข้อเข่าลดลง เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น และการใช้ยาพอกเข่าที่มีรสประธานฤทธิ์เย็น เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าที่มีอาการของโรคจับโปงน้ำ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นป้องกันปัญหาสุขภาพข้อเข่าที่จะเกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ในชุมชนหลังโรงพัก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้หันมาเลือกใช้วิธีการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพเข่าด้วยตนเอง เสริมสร้างองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพข้อเข่า การออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงการเรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพร การพอกเข่าสมุนไพร และการทำลูกประคบสมุนไพร ให้แก่ กลุ่มวัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ รวมทั้งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนหลังโรงพัก ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สมุนไพรท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมให้ ประชาชนและ อสม.ในการใช้สมุนไพรท้องถิ่นประดิษฐ์ลูกประคบได้
  3. เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพข้อเข่าในเขตชุมชนหลังโรงพัก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่
  2. การอบรมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
  3. กิจกรรมพอกเข่าและการทำลูกประคบสมุนไพร
  4. กิจกรรมติดตามประเมินผลการใช้ลูกประคบและการพอกเข่า

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ด้านการบำบัดรักษาอาการปวดเข่าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยไปใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าได้จริง
  2. อสม.ชุมชนหลังโรงพัก มีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีอาการปวดข้อเข่าในเขตชุมชนที่ตนรับผิดชอบ
  3. สามารถป้องกันและควบคุมอาการปวดเข่าของประชาชนในชุมชนหลังโรงพักได้
  4. ประชาชนชุมชนหลังโรงพัก หันมาใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกแรกในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
  5. อัตราผู้ป่วยโรคไต จากการกินยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ของชุมชนลดลง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สมุนไพรท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
0.00 80.00

 

2 ส่งเสริมให้ ประชาชนและ อสม.ในการใช้สมุนไพรท้องถิ่นประดิษฐ์ลูกประคบได้
ตัวชี้วัด : มีตัวอย่างการใช้สมุนไพรท้องถิ่นอย่างน้อย 5ิ รายการในการประดิษฐ์ลูกประคบ
5.00

 

3 เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพข้อเข่าในเขตชุมชนหลังโรงพัก
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรม
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้สมุนไพรท้องถิ่น (2) ส่งเสริมให้ ประชาชนและ อสม.ในการใช้สมุนไพรท้องถิ่นประดิษฐ์ลูกประคบได้ (3) เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพข้อเข่าในเขตชุมชนหลังโรงพัก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ (2) การอบรมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเข่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) กิจกรรมพอกเข่าและการทำลูกประคบสมุนไพร (4) กิจกรรมติดตามประเมินผลการใช้ลูกประคบและการพอกเข่า

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อดูแลสุขภาพข้อเข่าในกลุ่ม วัยทำงาน ผู้สูงอายุและญาติ ชุมชนหลังโรงพัก จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L8008-02-33

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวชุติมา พูนผล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด