กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ”



หัวหน้าโครงการ
นายปวิตร วณิชชานนท์

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ 2567-L8010-1-01 เลขที่ข้อตกลง 01/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก " ดำเนินการในพื้นที่ รหัสโครงการ 2567-L8010-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-13ธันวาคม 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 654 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 945.81 ต่อแสนประชากรประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.458 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพง ตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่า ในปี 2563 มีอัตราป่วย เท่ากับ 48.11 ( 9 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563) ในปี 2564 มีอัตราป่วย เท่ากับ 21.38 (4 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564) ในปี 2565 มีอัตราป่วย เท่ากับ 206.84 (39 ราย ) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565) และในปี 2566 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1,205.91 (172 ราย) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 ธันวาคม 2566) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาชีพเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
  2. เพื่อสร้างแผนงานและการมีส่วนร่วมให้กับคณะทำงานในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออด
  3. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  4. เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล
  2. สร้างกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด
  3. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI
  4. การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน รายงานโรค
  5. ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด
  6. หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก
  7. ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
  8. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14,242
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล ทั้ง 12 หมู่บ้าน และคณะทำงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
ตัวชี้วัด : อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลงร้อยละ 80
80.00

 

2 เพื่อสร้างแผนงานและการมีส่วนร่วมให้กับคณะทำงานในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออด
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ลดการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก
80.00

 

3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0
80.00

 

4 เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2. ร้อยละ 80 ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก 3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20 4. ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 14242
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14,242
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง (2) เพื่อสร้างแผนงานและการมีส่วนร่วมให้กับคณะทำงานในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออด (3) เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย (4) เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล (2) สร้างกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด (3) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI (4) การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน รายงานโรค (5) ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด (6) หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก (7) ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (8) รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก จังหวัด

รหัสโครงการ 2567-L8010-1-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายปวิตร วณิชชานนท์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด