กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต ”
หมู่ที่ 3 ,4 และ 7 ตำบลคลองขุด



หัวหน้าโครงการ
นางสาววินีตา ประทีปวัฒนพันธ์




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต

ที่อยู่ หมู่ที่ 3 ,4 และ 7 ตำบลคลองขุด จังหวัด

รหัสโครงการ L5300-67-1-4 เลขที่ข้อตกลง 15/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 3 ,4 และ 7 ตำบลคลองขุด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ,4 และ 7 ตำบลคลองขุด รหัสโครงการ L5300-67-1-4 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 25,020.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” (Aged Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กล่าวคือ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ และเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕ ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา คาดว่าประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ ๒๐ ใน พ.ศ.๒๕๖๔ กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (๒๕๕๖) พบว่าทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากรอันเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายและจิตใจจนเกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตัวเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม จนเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากคนรอบข้าง และผู้สูงอายุเองจำเป็นต้องให้ความสนใจดูแลสุขภาพตนเองให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม ทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต เทศบาลตำบลคลองขุดมีประชากรทั้งหมด ๒๐,๕๓๒ คน พบว่ามีผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ ๓, ๔ และ ๗ ตำบลคลองขุด จำนวน ๑,๖๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๒๑ ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ เทศบาลตำบลคลองขุด ณ เดือนตุลาคม ๒๕๖๖) จากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธล เอดีแอล โดยหน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) พบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๑๒-๒๐ คะแนน (ติดสังคม) จำนวน ๑,๖๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๐๓ ผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๕-๑๑ คะแนน (ติดบ้าน) จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๑ ผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอล ๐-๔ คะแนน (ติดเตียง) จำนวน ๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๐๖ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลคลองขุด ได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรค รวมทั้งฟื้นฟูสภาพเมื่อมีภาวะเจ็บป่วย ทั้งนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่าย จะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัว บุตรหลาน และสังคมได้อย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 144
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต ๑. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามแบบประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
๒. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเองเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ๓. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์
๔. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ได้รับการคัดแยกกลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวังภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที ๕. ผู้สูงอายุ (ติดสังคม) มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม)

วันที่ 1 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

๖. จัดกิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม) ประกอบด้วย ๖.๑ กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพกายและจิตแก่ผู้สูงอายุในเรื่องการส่งเสริมและดูแลสุขภาพร่างกาย การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ๖.๒ กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม) โดยเจ้าหน้าที่และ อสม.คัดกรองสุขภาพกายและจิตผู้สูงอายุตามแบบ (Basic Geriatric Screening ,BGS) การดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ข้อเข่าเสื่อมและกระดูกพรุน และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ๖.๓ กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมพึงประสงค์ ๖.๔ กิจกรรมคัดกรองผู้สูงอายุ ๙ ด้าน ประกอบด้วย ด้านความคิดความจำ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านขาดสารอาหาร ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ด้านการกลั้นปัสสาวะ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และด้านสุขภาพช่องปาก
๖.๔ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองอย่างมีคุณภาพและการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัวรวมทั้งพูดคุยรูปแบบจัดตั้งและดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุและเครือข่ายในชุมชน งบประมาณ
๑. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน เพื่อประชุมชี้แจงโครงการ จำนวน ๒๕ คน ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๒. อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๗๒ ชุด ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๒ มื้อ จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน  ๘,๖๔๐ บาท ๓. อาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๗๒ คน ๆ ละ ๗๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ จำนวน ๒ วัน เป็นเงิน ๑๐,๐๘๐ บาท ๔. อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน เพื่อประชุมสรุปผลงาน  จำนวน ๒๕ คน ๆ ละ ๓๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ รวมเป็นเงิน ๗๕๐ บาท ๕. ค่าตอบแทนวิทยากรในการบรรยาย จำนวน ๔ คน ๆ ละ ๒ ชั่วโมง ๆ ละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๘๐๐ บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพ คัดกรอง และฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งมีความรู้ในการสุขภาพตนเอง และถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนอื่นๆได้ต่อไป

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น
8.24 34.26

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 144
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 144
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (ติดสังคม)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมผู้สูงวัยตำบลคลองขุด ใส่ใจสุขภาพกายและจิต จังหวัด

รหัสโครงการ L5300-67-1-4

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาววินีตา ประทีปวัฒนพันธ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด