กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสพเหตุทางน้ำ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,432.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.8382,99.9243place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 30,432.00
รวมงบประมาณ 30,432.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)ที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำ
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติเหตุทางน้ำเกิดขึ้นได้เสมอและเป็นความเสี่ยงหากไม่มีทักษะในการว่ายน้ำหรือทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและรวมถึงทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ การสูญเสียที่ไม่ควรจะเสียลดลงได้หากมีการป้องกัน รายงานจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา (2556-2565) ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 35,915 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 20.5 (7,374 คน) โดยเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดที่ 2,867 คน และข้อมูลโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2551-2565)เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม – พฤษภาคม) จำนวน 953 เฉลี่ยวันละ 2 ราย อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2565 มีจำนวนลดลง อยู่ที่ 658 คน ช่วงอายุที่เสียชีวิตมากที่สุด 5-9 ปี 250 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมาคือช่วงอายุ 0-4 ปี 219 คน คิดเป็นร้อยละ 38.1 และ ช่วงอายุ 10-14 ปี จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 28.6 ตามลำดับ และช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. เป็นช่วงที่เสียชีวิตมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.7 ของการจมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี และในพื้นที่ตำบลแป-ระ ปี 2566 มีเด็ก เสียชีวิตจากการจมน้ำ 3 ราย จากข้อมูลดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นจะต้องฝึกทักษะให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้การเอาตัวรอดในน้ำ หรือ”ว่ายน้ำเป็นลอยตัวในน้ำได้โดยไม่ใช้อุปกรณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตผู้อื่นจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือตามมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ โดยมีการเฝ้าระวังและฝึกอบรมการเอาตัวรอดของเด็กกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรมโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ มาแล้ว 4 ครั้ง มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ราม 214 คน ร้อยละ 95 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติป้องกันตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กในอนาคต จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ ในปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกอบรมการเอาตัวรอดในน้ำให้แก่เด็กและเยาวชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเอาตัวรอดในน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ประเมินโดยการทดสอบจากภาคปฏิบัติ

0.00
2 เพื่อฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ให้แก่เด็กและเยาวชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ เด็กและเยาวชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ประเมินโดยการทดสอบจากภาคปฏิบัติ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของเด็กและเยาวชนในตำบลแป-ระ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ เด็กและเยาวชนในตำบลแป-ระ มีทักษะการออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ    ร้อยละ 100 ประเมินจากภาคปฏิบัติ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 30,432.00                  
รวม 30,432.00
1 ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 30,432.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน 70 30,432.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเอาตัวรอดในน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2 เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 14:47 น.