กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน2 มิถุนายน 2567
2
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแป-ระ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ประชุมวางแผนงาน 2 เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3 จัดกิจกรรมตามโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การช่วยเหลือคนตกน้ำวิธีตะโกน โยน ยื่น การลอยตัวในน้ำ การเคลื่อนไหวในน้ำด้วยท่าต่างๆ รวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) 4 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ จัดกิจกรรมตามโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ และสระว่ายน้ำโรงรียนอนุบาลท่าแพพัฒนา ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย อายุระหว่าง 7 - 13 ปี เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน
ผลการดำเนินงาน โครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ จัดกิจกรรมตามแผนงาน วันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาองค์การบิหารส่วนตำบลแป-ระ และสระน้ำโรงเรียนอนุบาลท่าแพพัฒนา ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก มีเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย อายุระหว่าง 7 – 13 ปี เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน ซึ่งการประเมินความรู้และทักษะของผู้เข้าอบรมโดยทีมวิยากร จำแนกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1) การประเมินความรู้ในทักษะการเอาตัวรอดในน้ำของผู้เข้าอบรม โดยทีมวิทยากร ซึ่งเป็นการสังเกตจากภาคปฏิบัติ การลอยตัวในน้ำ และการเคลื่อนตัวไปในน้ำในท่าต่างๆ ผู้เข้าอบรมปฏิบัติได้ 48 คน ซึ่งประเมินได้ว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ในทักษะการเอาตัวรอดในน้ำได้ร้อยละ 96

2) การประเมินความรู้ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ การช่วยคนตกน้ำโดยวิธี ตะโกน โยน ยื่น ทั้งมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ และการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ของผู้เข้ารับการอบรม โดยทีมวิทยากร เป็นการทดสอบจากภาคปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมปฏิบัติได้ 50 คน คิดเป็นรอยละ 100
จากการประเมินของทีมวิทยากรโดยการสังเกต จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเรียนรู้และฝึกทักษะได้อย่างรวดเร็วและนำความรู้ที่ได้รับไปฝึกฝนต่อยอดเพื่อใช้เอาตัวรอดจากการจมน้ำได้ในอนาคต