รู้เร็วรู้ไว ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ปีงบประมาณ ๒๕๖๗
ชื่อโครงการ | รู้เร็วรู้ไว ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ |
รหัสโครงการ | 67-L5313-01-007 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง |
วันที่อนุมัติ | 16 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 สิงหาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 12,308.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฮับเซาะห์ แอหลัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย องค์การอัมพาตโลก (World Stroke Oraninztion :WSO ) รายงานสาเหตุการตายด้วยจากโรคหลอดเลือดสมอง เป็นอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปี ทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 5 ของประชากรอายุมากกว่า 15 -59 ปีคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ และปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤตของแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจเกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรืออฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่่ง ได้แก่กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด(Cardiovascular Disease) ซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเป็นรายโรคและพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิงคือโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งพบอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 28 ในเพศหญิง และร้อยละ 10.6 ในเพศชาย ส่วนผู้รอดชีวิตจากกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดความพิการหลงเหลือตามมามากที่สุดแต่ถ้าหากผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือได้รวดเร็วทันเวลา จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 30 และลดความพิการที่อาจเกิดตามมาภายหลังได้ หากได้รับการนำส่งโรงพยาบาลอย่างถูกวิธี จากสถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าจำนวนการป่วย และการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ซึ่งเป็นภัยคุกคามทางด้านสุขภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองรับผิดชอบทั้งหมด 6 หมู่บ้านด้วยกัน ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านเกาะยวน หมู่ที่ 4 บ้านลาหงา หมู่ที่ 6 บ้านหัวทาง หมู่ที่ 12 บ้านในเมือง หมู่ที่ 15 บ้านในใส และหมู่ที่ 17 บ้านวังช่อนชัย มีประชาการส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานคิดเป็นร้อยละ 54.37 วัยเด็กคิดเป็นร้อยละ 26.80 และวัยผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 16.30 จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง พบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) ทั้งหมด 27 ราย แบ่งเป็น หมู่ที่ 3จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.11 หมู่ที่ 4 จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.11 หมู่ที่ 6 จำนวน6 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.22 หมู่ที่ 12 จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.81 หมู่ที่ 15 จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 และหมู่ที่ 17 จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.40 จากสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหมู่ที่ 15 บ้านในใส มีผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 33.33 ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมืองจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดโครงการรู้เร็วรู้ไว ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นโดยการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนร่วมกับบุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการดำเนินงานป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่เพื่อลดความพิการและเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประชาสัมพันธ์การรู้เท่าทันการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ร้อยละ 90 ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับความรู้จากการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง |
0.00 | |
2 | เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการเยี่ยมบ้าน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 12,308.00 | 5 | 12,308.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | ประชุมคณะทำงานโครงการ | 0 | 600.00 | ✔ | 600.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) | 0 | 508.00 | ✔ | 508.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) | 0 | 10,600.00 | ✔ | 10,600.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | สรุปผลเเละประเมินผลโครงการ | 0 | 600.00 | ✔ | 600.00 |
1.ประชาชนในเขตรับผิดชอบได้รับความรู้จากการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองอย่างทั่วถึง 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มมากขึ้น 3.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการเยี่ยมบ้าน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2567 14:05 น.