โครงการควบคุมป้องกันเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านสวนโหนด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมป้องกันเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านสวนโหนด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3368-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านสวนโหนด |
วันที่อนุมัติ | 19 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 21,706.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสาธร อนุมณี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายสาธร อนุมณี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะแพน อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 30 ก.ย. 2568 | 21,706.00 | ||||
รวมงบประมาณ | 21,706.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 63.34 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 68.09 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การดำเนินชีวิตของประชาชนในชีวิติปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลง มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน ปริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่า ทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม จากการดำเนินงานคัดกรองประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสวนโหนด ในปีงบประมาณ 256๗ จำนวน ๘๘๗ ราย พบว่ามีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย)พบปกติจำนวน ๖๐๔ รายอยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง (SBP = 120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) จำนวน ๑๗๕ ราย ,มีภาวะความดันโลหิตจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสูง/สงสัยเป็นโรค (SBP >= 140 mmHg. หรือ DBP >= 90 mmHg.) จำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อย68.09 , 19.73 , 11.05 ตามลำดับ, มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง)พบปกติจำนวน 660 ราย (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/เสียง (100 - 125 mg/dl.)จำนวน 362 ราย ,มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสูง/สงสัยเป็นโรค (>= 126 mg/dl.) จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ63.34 34.741.82ตามลำดับ ดังนั้น รพ.สต.บ้านสวนโหนด ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเพื่อควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 256๘เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโดยการตรวจหารน้ำตาลในเลือดโดยการเจาะปลายนิ้วและโรคความดันโลหิตสูงโดยการตรวจวัดความโลหิตโดยเครื่องวัดความดันแบบพกพา ตรงจคัดกรองสุขภาพโดยทั่วๆไปเช่นโรคทางทันตกรรม ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดรอบอก วิเคราะห์ดัชนีมวลกายฯลฯ และให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน ๑,๑๕๐ ราย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง |
68.09 | 10.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
63.34 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 21,706.00 | 0 | 0.00 | |
19 พ.ย. 67 - 31 มี.ค. 68 | 1 คัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง | 0 | 13,606.00 | - | ||
2 มิ.ย. 68 - 20 ก.ย. 68 | อบรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานความดันโลหิตสูง | 0 | 8,100.00 | - |
1.ประชาชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง 2.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและไม่เกิดโรคโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและมีสุขภาพดีอัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง 3.เกิดการประชาสัมพันธ์การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมไปยังประชาชนกลุ่มอื่นๆ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2567 00:00 น.