แช่เท้าด้วยสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ
ชื่อโครงการ | แช่เท้าด้วยสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ |
รหัสโครงการ | 68-L1513-02-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนเมา |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสุวิญชา หนองหัด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปัญหาด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนอกจากจะมีอัตราการเกิดโรคสูงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งภาครัฐยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลรักษาโรคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของการรักษาทางการแพทย์ การให้ยา และการติดตามผล ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักต้องได้รับการดูแลแบบต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งประกอบด้วยการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ การพบแพทย์ตามนัดหมาย การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การควบคุมอารมณ์ รวมถึงการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่อาจมีความผิดปกติที่เท้า เช่น อาการชาตามปลายเท้า แผลเรื้อรัง หรือแม้กระทั่งการสูญเสียอวัยวะ หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและการแพทย์แผนไทยมาใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ เช่น การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลเท้าและเสริมสร้างการไหลเวียนโลหิต การแช่เท้าด้วยสมุนไพรถือเป็นหนึ่งในวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ มีคุณสมบัติในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย บรรเทาอาการชาตามปลายเท้า กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และยังเสริมสร้างความรู้สึกผ่อนคลายทั้งกายและใจ จากข้อมูลของชมรมผู้สูงอายุตำบลควนเมา พบว่าในปี พ.ศ. 2568 มีสมาชิกจำนวน 204 คน โดยในจำนวนนี้ มีผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 24.50 ซึ่งส่วนใหญ่ประสบกับอาการปวดเท้า ชาตามปลายเท้า หรือมีปัญหาด้านผิวหนังบริเวณเท้าอยู่เป็นประจำ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การเคลื่อนไหว และความสามารถในการดูแลตนเอง ดังนั้น ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนเมา จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเท้าในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของการแช่เท้าเพื่อสุขภาพ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่ายในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “แช่เท้าด้วยสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพเท้าด้วยตนเอง ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุ |
0.00 | |
2 | เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุ มีทักษะในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุ |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
??/??/???? | ฝึกปฏิบัติ | 0 | 6,000.00 | - | ||
??/??/???? | แลกเปลี่ยนเรียนรู้อาการ | 0 | 0.00 | - | ||
??/??/???? | แช่เท้าด้วยสมุนไพรอย่างต่อเนื่อง | 0 | 0.00 | - | ||
19 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ | 0 | 9,450.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,450.00 | 0 | 0.00 |
ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า และสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับเท้าในผู้สูงอายุ
เกิดการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดส่วนปลาย ลดอาการปวด อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุสามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแช่เท้าด้วยสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2568 00:00 น.