กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี


“ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561 ”

อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางทรงสิริมะลีวัน

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561

ที่อยู่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561 จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลเมืองปัตตานี มีเขตพื้นที่ต้องรับผิดชอบ 3 ตำบล คือ (1). ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (2). ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (3).ตำบลสะบารังอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งในเทศกาลเดือนรอมฎอนเป็นเดือนสำคัญสำหรับคนมุสลิม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือนมุสลิมจะต้องอดอาหารทุกชนิด รวมทั้งน้ำดื่มในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น – พระอาทิตย์ตกดิน ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมต่างถือปฏิบัติการประกอบศาสนกิจในเดือนนี้อย่างเคร่งครัด และเริ่มบริโภคอาหารหลังพระอาทิตย์ตกดินเป็นต้นไป จึงต้องมีการจับจ่ายซื้ออาหารเพื่อกักตุนไว้รับประทานจำนวนมาก
จากการดำเนินงานปีที่แล้ว ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบริเวณถนนปากน้ำถนนเจริญประดิษฐิ์ตำบลสะบารัง
และบริเวณชุมชนวอกะห์เจะหะ ถนนยะรัง ตำบลจะบังติกอ พบผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารช่วงเดือนรอมฏอนประมาณ 200 ราย ในแต่ละปีผู้ประกอบการรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ประกอบการบางคนยังขาดความตระหนักด้านสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐานของกรมอนามัยกำหนด และยังใช้โฟมบรรจุอาหาร นอกจากนี้พบว่าผู้บริโภคได้มีการร้องเรียนเรื่องความสะอาด คุณภาพอาหารและโฟมบรรจุอาหารที่ไม่ปลอดภัยด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนถวิลหา ไม่เว้นกระทั่งเรื่องการกินที่จังหวะชีวิตของใครหลายคนทุกวันนี้ ไม่เปิดโอกาสให้มีทางเลือกมากนัก การจะหาของกินดีๆ “ปลอดภัยไร้สาร” เป็นเรื่องยาก เพราะเดี๋ยวนี้เน้น “อิ่ม-เร็ว-ถูก” ส่งผลให้อาหารจำพวก “แกงถุง ข้าวกล่อง” กลายเป็นพระเอกในชีวิตประจำวันที่ผู้คน “ยุคสังคมก้มหน้า” จำใจยอมรับ และชินอยู่กับมัน ทั้งๆที่บางคนก็รู้ว่าการแกล้งปิดตาข้างหนึ่งก่อนกลืนข้าวลงคอนำมาซึ่ง “ภัยเงียบ” โฟมเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีสไตรีน(Polystyrene: PS) ถ้าถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัด และอาหารทอดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ได้แก่ สารเบนซีน(Benzene) ที่หากดื่ม หรือกินอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนสูงจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ที่เป็นอันตรายที่สุด คือ“สารสไตรีน”(Styrene) ที่มีพิษทำลายไขกระดูก ตับ และไต ทำให้ความจำเสื่อม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อ “มะเร็ง” โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ (ข้อมูลจาก“กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์”)


ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนพิษภัยทางอาหารทั้งด้านจุลินทรีย์และสารปนเปื้อนต่างๆที่เติมลงไปในอาหาร เช่น สี กลิ่น รส เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค และยังเกิดการปนเปื้อนจากแผงลอยจำหน่ายสินค้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสถานที่จำหน่าย และสะสมอาหารที่มีขั้นตอน การปรุง การประกอบอาหาร การวาง หรือเก็บเพื่อจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ เป็นการประกอบอาหารที่ให้บริการแก่ประชาชน หากเกิดความสกปรก หรือปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ หรือสารเคมีที่เป็นพิษ อันเนื่องมาจากความสกปรกของตัวอาหารดิบ หรือสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปรุงและผู้ช่วยปรุงไม่ถูกต้อง ความสกปรกของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ รวมทั้งอาจเกิดจากความสกปรกของสถานที่ ซึ่งเมื่อประชาชนรับประทานอาหารนั้นเข้าไป ย่อมก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในทันที กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี มีความตระหนักถึงความปลอดภัย ในการบริโภคอาหารของประชาชนในช่วงเดือนรอมฎอน และป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ จากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน ดังนั้นจึงเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้น จึงจัดทำโครงการการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนและสะอาดปลอดภัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริโภคอาการที่ สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  2. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความรู้ สามารถนำไปปฏิบัติได้
  3. สารปนเปื้อนในอาหารผู้บริโภคลดลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผงจำหน่ายอาหาร ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของอนามัย 2.ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปปฏบัติใช้ในการประกอบอาชีพที่ถูกสุขลักษณะด้านสุขาภิบาล


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

วันที่ 1 มกราคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1 สำรวจข้อมูลด้านต่างๆภายในเขตรับผิดชอบเช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ  สุขลักษณะฯลฯ 5.2 ประชาสัมพันธ์โครงการและจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ
5.3 จัดอบรมให้ผู้ประกอบการ 5.4 ตรวจสถานที่ปรุงและจำหน่ายอาหาร 5.5 ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน 1.1 สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมินตามตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ - สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (สถานที่ประกอบอาหาร/ที่บ้าน) จากการประเมินสถานประกอบอาหารทางด้านกายภาพ ร้านที่ผ่านการประเมินจำนวน 4 ร้าน ร้อยละ 30.8 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 9 ร้าน ร้อยละ 69.2 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ สถานที่เตรียมและปรุงอาหารมีโต๊ะไม่เป็นระเบียบ มีการเตรียมและวางบนพื้น ไม่แยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วน

สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (แผงจำหน่ายอาหาร) จากการประเมินแผงจำหน่ายอาหารทางด้านกายภาพ แผงที่ผ่านการประเมินจำนวน 65 ร้าน ร้อยละ 64.35 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 36 ร้าน ร้อยละ 35.64 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ แผงลอยไม่ทนทาน อุปกรณ์ใส่อาหารในภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐานและใส่โฟมบรรจุอาหาร

1.2.สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ดังนี้ - สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร/ที่ร้าน) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2)

- สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2)

จากการเก็บตัวอย่าง โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ตัวอย่างที่พบสารปนเปื้อน จำนวน 110 ตัวอย่าง ร้อยละ 39.3 ส่วนตัวอย่างที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 170 ตัวอย่าง ร้อยละ 60.7 จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม โดยหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 13.35 ร้อยละ 89  ก่อนเข้ารับการอบรม    มีคะแนนเฉลี่ย 7.5 ร้อยละ 49 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้มากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของคะแนนก่อนและหลักการอบรม ปรากฏว่า คะแนนหลังการอบรม มีค่า คะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ • บรรลุตามวัตถุประสงค์ ปัญหา/อุปสรรค
จากการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอน มีปัญหา/อุปสรรคดังนี้ 1. เรื่องการประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมการอบรม เนื่องจากผู้ประกอบการที่จำหน่ายเดือนรอมฏอนอยู่กระจัดกระจาย ทำให้อยากต่อการเชิญเข้ามาอบรม ซึ่งแต่ละปีผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนผู้ประกอบการ อยู่เสมอ ซึ่งต้องเลื่อนการอบรม


แนวทางแก้ไข 1. ต้องมีการประสานกับผู้ดูแลจัดระเบียบผู้ประกอบการในแต่ละตำบล ให้ผู้ประกอบการมาอบรมก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมาจำหน่าย หากไม่มาอบรมเราจะไม่ให้จำหน่าย เนื่องจากทุกปีที่ได้มีการซุ่มตรวจพบว่าผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร


 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการดำเนินงาน 1.1 สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมินตามตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ - สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (สถานที่ประกอบอาหาร/ที่บ้าน) จากการประเมินสถานประกอบอาหารทางด้านกายภาพ ร้านที่ผ่านการประเมินจำนวน 4 ร้าน ร้อยละ 30.8 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 9 ร้าน ร้อยละ 69.2 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ สถานที่เตรียมและปรุงอาหารมีโต๊ะไม่เป็นระเบียบ มีการเตรียมและวางบนพื้น ไม่แยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วน สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (แผงจำหน่ายอาหาร) จากการประเมินแผงจำหน่ายอาหารทางด้านกายภาพ แผงที่ผ่านการประเมินจำนวน 65 ร้าน ร้อยละ 64.35 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 36 ร้าน ร้อยละ 35.64 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ แผงลอยไม่ทนทาน อุปกรณ์ใส่อาหารในภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐานและใส่โฟมบรรจุอาหาร 1.2.สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ดังนี้ - สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร/ที่ร้าน) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) - สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) จากการเก็บตัวอย่าง โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ตัวอย่างที่พบสารปนเปื้อน จำนวน 110 ตัวอย่าง ร้อยละ 39.3 ส่วนตัวอย่างที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 170 ตัวอย่าง ร้อยละ 60.7 จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม โดยหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 13.35 ร้อยละ 89  ก่อนเข้ารับการอบรม    มีคะแนนเฉลี่ย 7.5 ร้อยละ 49 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้มากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของคะแนนก่อนและหลักการอบรม ปรากฏว่า คะแนนหลังการอบรม มีค่า คะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ • บรรลุตามวัตถุประสงค์ ปัญหา/อุปสรรค จากการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอน มีปัญหา/อุปสรรคดังนี้ 1. เรื่องการประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมการอบรม เนื่องจากผู้ประกอบการที่จำหน่ายเดือนรอมฏอนอยู่กระจัดกระจาย ทำให้อยากต่อการเชิญเข้ามาอบรม ซึ่งแต่ละปีผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนผู้ประกอบการ อยู่เสมอ ซึ่งต้องเลื่อนการอบรม


แนวทางแก้ไข 1. ต้องมีการประสานกับผู้ดูแลจัดระเบียบผู้ประกอบการในแต่ละตำบล ให้ผู้ประกอบการมาอบรมก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมาจำหน่าย หากไม่มาอบรมเราจะไม่ให้จำหน่าย เนื่องจากทุกปีที่ได้มีการซุ่มตรวจพบว่าผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริโภคอาการที่ สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
ตัวชี้วัด : แผงจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ ร้อยละ 60
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความรู้ สามารถนำไปปฏิบัติได้
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการ สามารถนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 70
0.00

 

3 สารปนเปื้อนในอาหารผู้บริโภคลดลง
ตัวชี้วัด : สารปนเปื้อนลดลงร้อยละ 70
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริโภคอาการที่ สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ (2) เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความรู้ สามารถนำไปปฏิบัติได้ (3) สารปนเปื้อนในอาหารผู้บริโภคลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561 จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางทรงสิริมะลีวัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด