กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง


“ โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ ”

ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวปิยะธิดาปันติ

ชื่อโครงการ โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ

ที่อยู่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ



บทคัดย่อ

โครงการ " โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 14 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 8,030.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะนับเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และสถานประกอบการต่างๆ การกำจัดขยะไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ แม้จะมีพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับขยะแต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีขยะที่เหลือตกค้างเป็นจำนวนมาก ซึ่งสร้างปัญหาทั้งการส่งกลิ่นรบกวน ความสะอาด ทัศนวิสัย (กรมควบคุมมลพิษ, 2557) และอาจก่อให้เกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากขยะเช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น (กรมควบคุมโรค, 2558)
สำหรับสถานการณ์ขยะและการจัดการขยะบ้านโคกเหรียงโดยการสำรวจและสังเกตปัญหาสุขภาพและปัญหาขยะ ของประชาชน หมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง พบว่า ชุมชนมีขยะที่ไม่ได้มีการคัดแยกตามประเภทและมีขยะบางส่วนที่ไม่ได้ทิ้งในจุดทิ้งขยะที่ทางเทศบาลจัดไว้ ซึ่งสาเหตุ มาจากพฤติกรรมการคัดเเยกขยะก่อนทิ้งที่ไม่เหมาะสมของคนในชุมชน และการทิ้งขยะไม่ถูกที่ และสอดคล้องกับข้อมูลจากนักวิชาการจากเทศบาลตำบลโคกม่วงที่กล่าวว่า ประชาชนไม่คัดเเยกขยะก่อนทิ้งหรือมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีเช่น การไม่แยกเศษอาหาร ซากสัตว์ตาย เป็นต้น อีกทั้งยังไม่ได้นำขยะในครัวเรือนไปใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ส่งผลให้ปัญหาขยะยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากการประชุมในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ของหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียงตำบลโคกม่วง มีประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 27 คน พบว่า ปัญหาที่ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจมีทั้งหมด 3 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาไข้เลือดออก ปัญหาขยะในชุมชนและปัญหายาเสพติด ซึ่งพบว่าประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 44.45 ของผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาขยะในชุมชนมากที่สุด ปัจจุบันเทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ได้วางกรอบนโยบายโดยเน้นลดปริมาณขยะ ซึ่งจะนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ซ้ำและใช้ใหม่ ส่งเสริมให้มีการคัดแยกขยะตามบ้านเรือน การเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวม ขนส่งและกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการในระดับท้องถิ่น
การให้ความสำคัญและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับเทศบาลในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีลักษณะแบบบูรณาการและมีความยั่งยืน และเป็นที่น่าสังเกตว่าจากการสอบถามตัวแทนครัวเรือน จำนวน 41 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 21.8 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ดีมากคิดเป็นร้อยละ 70 และพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ดีมากคิดเป็นร้อยละ 50 ดังนั้นเพื่อการมีสุขภาพดีของประชาชน หมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง คณะผู้จัดทําโครงการได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และมีความตั้งใจที่จะ สานต่อการดำเนินงานด้านการจัดการขยะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลโคกม่วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จึงได้จัดทำโครงการ “โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ” ขึ้น โดยประยุกต์ใช้หลักการ 5R ได้แก่Reduce, Reuse, Recycle, Repair และ Reject ในการจัดการขยะในชุมชน (สันต์, 2550โดยการรณรงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านโคกเหรียงมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชม มีความรู้ มีความตระหนักในการจัดการขยะในครัวเรือน เห็นคุณค่าของขยะ มีพฤติกรรมการจัดการขยะที่ดีและถูกต้องและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ เกิดความตระหนัก และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง
  2. อุบัติการณ์ของการโรคที่มีสาเหตุมาจากขยะในชุมชน โรคเลือดไข้เลือดออก ลดลง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลการดำเนินงานโครงการ จากการจัดโครงการ “โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ”  ตั้งแต่วันที่ 9 - 21 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการประเมินผลการจัดโครงการ ดังนี้ 13.1 ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการ             มีการจัดกระบวนการกลุ่มเพื่อร่วมกันระบุ จัดลำดับ หาสาเหตุและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชนเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 และได้มติกําหนดวันปลุกจิตสำนึกการจัดการขยะเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งวันที่ 9 – 20 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นช่วงเวลารณรงค์และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ และในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 มีการจัดกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมละครความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน กิจกรรมแยกขยะ และกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ  ทั้งนี้ได้มีการเชิญนายสมนึก บุตรคง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วงมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ  คุณอำพล ดีมาก หมอดินประจำหมู่บ้าน มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ คุณอนุชา ตันปิติกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง และคุณสุจิตรา ยอดแก้ว นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ มาเป็นคณะกรรมการในกิจกรรมแยกขยะ                       การจัดทำโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ 103 คน จาก 786 คนของประชาชนหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียงทั้งหมด           13.2 ประเมินประสิทธิผล                               ประสิทธิผลโครงการ =  ผลลัพธ์ที่ทำได้ × 100
                                                              เป้าหมายที่กำหนดไว้ เป้าหมายที่ 1 ร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมกิจกรรม รณรงค์การจัดการขยะ ผลการประเมิน : ภายหลังสิ้นสุดโครงการ มีจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ทั้งหมด 71
ครัวเรือน จากทั้งหมด 188 ครัวเรือน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  75.53   ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 2 ร้อยละ 50 ของประชาชนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมวันปลุกจิตสำนึก การจัดการขยะ ผลการประเมิน : ภายหลังสิ้นสุดโครงการ มีประชาชนที่เข้าร่วมวันปลูกจิตสำนึกการจัดการขยะทั้งหมด 51 คนจากทั้งหมด 786 คน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้ ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  12.98 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ไม่บรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากการประกอบอาชีพหลักของประชาชนในชุมชนคือตัดยาง ดังนั้นต้องได้รับการพักผ่อนในช่วงกลางวัน คนวัยทำงานออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน ผู้สูงอายุไม่สะดวกในการเดินทางประกอบกับการประชาสัมพันธ์ที่ อาจจะไม่ทั่วถึงพื้นที่ของชุมชน เป้าหมายที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมละครความรู้การจัดการขยะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมชมละครให้ความรู้สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ 50 คน จาก 50 คน ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้
                                ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 4 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภทได้ถูกต้อง ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภท ได้ถูกต้อง 48 คน จาก 48 คน  ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้                                 ประสิทธิผลโครงการ =
                                                        =  125 ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย เป้าหมายที่ 5 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักชีวภาพตามลำดับ
ขั้นตอนได้ถูกต้อง ผลการประเมิน: ผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถทำน้ำหมักชีวภาพตามลำดับขั้นตอนได้ถูกต้องซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้             ประสิทธิผลโครงการ =
                                                          =  67.5
            ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า ไม่บรรลุตามเป้าหมาย เนื่องจากกิจกรรมมีข้อจำกัดด้านเวลาทำให้มีเพียงตัวแทนผู้ร่วมกิจกรรมที่สามารถร่วมทำน้ำหมักชีวภาพ แต่ได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมท่านอื่นๆซึ่งมีประสบการณ์ในการทำน้ำหมักชีวภาพ           เป้าหมายที่ 6 ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก           ผลการประเมิน: ภายหลังสิ้นสุดโครงการผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก ซึ่งสามารถคำนวณประสิทธิผลได้ดังนี้             ประสิทธิผลโครงการ = (90.1×100)/80                                                           = 112.6           ดังนั้น เมื่อนำประสิทธิผลของโครงการมาเปรียบเทียบกับเป้าหมาย พบว่า บรรลุตามเป้าหมาย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ เกิดความตระหนัก และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 50 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่ที่ 1 บ้านโคกเหรียง เข้าร่วมโครงการ 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมชมละครให้ความรู้ สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดการขยะได้ถูกต้องผ่านเกณฑ์ 3. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแยกขยะ มีทักษะการแยกขยะตามประเภทได้ถูกต้อง 4. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้ำหมักชีวภาพ สามารถสาธิตย้อนกลับการทำน้ำหมัก 5. ชีวภาพได้ถูกต้อง 6. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก-มากที่สุด
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ เกิดความตระหนัก และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้อย่างเหมาะสม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โคกเหรียง เกลี้ยงขยะ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวปิยะธิดาปันติ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด