กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560 ”

จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง และทีมพี่เลี้ยงจังหวัดสตูล

ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560

ที่อยู่ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-FW-91000 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 29 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-FW-91000 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2560 - 29 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 60,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นในความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลามีจำนวน 617 แห่งข้อมูลจากระบบบริหารจัดการกองทุนผ่านเว็บไซต์กองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้ www.localfund.happynetwork.org พบว่า มีเงินคงเหลือสะสมจากหลายปีที่ผ่านมา จำนวน 385 ล้านบาทและจะมีเงินจัดสรรจาก สปสช.ตามข้อกำหนด 45 บาท/หัวประชากร จำนวน 218 ล้านบาท และเงินสมทบตามขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 30-60อีก 116 ล้านบาท รวมแล้วจะมีเงินสำหรับดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพผ่านกองทุนสุขภาพตำบล ไม่ตำกว่า 724 ล้านบาท ส่วนหนึ่ง พบว่า เนื่องจากการตรวจสอบที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นของหน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินกองทุน ฯ แต่สาเหตุสำคัญ คือ การขาดการวางแผนเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ขาดแผนงานและโครงการ ตลอดจนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ แบบเชิงรุก เป็นต้น
ผู้บริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดนโยบายสำคัญ คือ การบริหารเงินกองทุนที่สะสมในกองทุนให้คงเหลือไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือทั้งหมด ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา จึงถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ ที่ผ่านมาทาง สปสช. เขต 12 สงขลา ดำเนินการดังนี้

  1. การจัดทำแผนสุขภาพระดับเขตแก่กองทุนสุขภาพตำบลที่เงินคงเหลือเกิน 2 ล้านบาท เพื่อให้สามารถนำเงินกองทุนสุขภาพตำบลไปใช้ในการแก้ไขปัหาสุขภาพที่เป็นปัญหาร่วมกัน อันประกอบด้วย ประเด็นโรคเรื้อรัง และโรคติดต่อ ประเด็นแม่ตั้งครรภ์และเด็กแรกคลอด ประเด็นภาวะโภชนาการเด็ก ประเด็นอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในชุมชน ประเด็นสารเสพติด บุหรี่ ยา 4X100 ประเด็นการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  2. การจัดอบรมและพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง(Coaching Team) เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนงานและโครงการของกองทุนสุขภาพตำบล
  3. การจัดทำระบบโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล www.localfund.happynetwork.orgเพื่อใช้สนับสนุนการบริหารกองทุนและช่วยติดตามการดำเนินงานกองทุนสุขภาพ
  4. การลงติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลของทีมพี่เลี้ยง (Coaching Team)

ดังนั้น เพื่อการสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนฯ ที่มีประสิทธิภาพโดยทีมพี่เลี้ยง ทาง สปสช.เขต 12 สงขลาจึงจัดทำโครงการเสริมพลังกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ระดับเขต 12 สงขลา ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลงสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลใน จ.สตูล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 14

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ได้รับการเสริมพลังจากทีมพี่เลี้ยง อย่างน้อยกองทุนละ 1 ครั้ง
    2. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถจัดทำโครงการฯเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ และสามารถลงข้อมูลในโปรแกรมระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org
    3. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถใช้ในการดำเนินโครงการจนไม่เกินร้อยละ 10

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมวางแผนการลงติดตามและพัฒนาการใช้โปรแกรม

    วันที่ 4 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมวางแผนการลงติดตามกองทุน และพัฒนาการใช้โปรแกรม โดยวิทยากรจากสปสช.เขต12 มาเป็นวิทยากร ได้แบ่งพื้นที่กองทุนในความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงแต่ละคน โดยพี่เลี้ยง 1 คนจะรับผิดชอบดูแลกองทุน 3-4 กองทุน วางแผนการลงพื้นที่ของพี่เลี้ยง และลงบันทึกในกิจกรรม
    มีการแบ่งงานหน้าที่ความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงออกเป็นแต่ละฝ่าย ในภาพรวมของจังหวัด ด้านบริหาร ด้านอำนวยการ ด้านเลขา ด้านการใช้โปรแกรม และวางแผนการประชุมเพื่อทบทวนภาพรวมอีก 2 ครั้ง และสรุปผลการดำเนินงานครั้งสุดท้าย

     

    14 15

    2. ลงติดตามกองทุน อบต.บ้านควน อบต.เกตรี ทต.คลองขุด ทม.สตูล โดยกูดนัย

    วันที่ 9 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    dd

     

    3 7

    3. ลงติดตามกองทุนอบต.ขอนคลาน อบต.ทุ่งบุหลัง อบต.ทุ่งหว้า โดย สุมาลี

    วันที่ 10 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงนางสาวสุมาลี  โอมณี ติดตามกองทุน อบต.ขอนคลาน อบต.ทุ่งบุหลัง อบต.ทุ่งหว้า ได้ลงระบบเรียบร้อยดี ทั้ง 3 กองทุน
    กองทุน อบต.ขอนคลาน โครงการที่ในแผนที่ยังไม่ได้ทำ 1 โครงการ ชื่อโครงการขลิบ(สุนัติหมู่) ที่ไม่ได้ทำ เนื่องจากไม่มีเด็กมาขอรับบริการ ส่วนด้านการเงินเรียบร้อยตรงตามบัญชีดีมาก กำลังดำเนินการแผนปี 61 กองทุน อบต.ขอนคลาน ด้านการเงินเรียบร้อยตรงจามบัญชี การลงคีย์ในระบบเรียบร้อย และขอคำปรึกษาด้านโครงการ แผนปี 61 กำลังดำเนินการ กองทุน อบต.ทุ่งหว้า  ด้านการเงินและบัญชีเรียบร้อย โครงการในระบบได้ทำหมดทุกโครงการ การลงคีย์ในระบบไม่มีปัญหา กำลังดำเนินการแผนปี 61

     

    3 3

    4. ลงติดตามกองทุนอบต.ปูยู โดย ชัญญานุช

    วันที่ 16 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อบต.ปูยู มีปัญหาในการลงข้อมูลโครงการและการพิมพ์เอกสารเบิกจ่ายเงินจากโปรแกรมยังไม่สมบูรณ์
    ได้แนะนำและอธิบายขั้นตอนให้แก่เจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจ และทดลองกรอกข้อมูลและพิมพ์เอกสารต่างๆจนเข้าใจ พร้อมทั้งตอบข้อซักถามให้แก่กองทุน

     

    3 3

    5. ลงติดตามกองทุน อบต.นิคมพัฒนา โดย ชัญญานุช

    วันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อบต.นิคมพัฒนามีการลงข้อมูลต่างๆในโปรแกรมอย่างครบถ้วน แต่ยังมีการเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับการลงข้อมูลโครงการประเภทที่ 4 ได้ให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามจนเข้าใจ และกองทุนอบต.นิคมพัฒนาได้ ประสานให้พี่เลี้ยงเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องหลักเกณฑ์ และระเบียบกองทุน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการบริหารกองทุน ตามโครงการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯในวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๐

     

    3 3

    6. ลงติดตามกองทุนอบต.ตันหยงโป อบต.แป-ระ อบต.ท่าเรือ โดย ธิดา

    วันที่ 22 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดตามเยี่ยมกองทุน อบต.ตันหยงโป อบต.แป-ระ และอบต.ท่าเรือ ให้คำแนะนำการบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม ติดตามให้คำปรึกษาการเขียนโครงการ การจัดทำแผน การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน ทั้งสามกองทุน มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายเงินอย่างถููกต้อง มีการจัดทำแผนที่ครอบคลุม และมีการลงบันทึกข้อมูลลงโปรแกรมอย่างครบถ้วน

     

    3 3

    7. ลงติดตามกองทุนอบต.ควนขัน อบต.ตำมะลัง อบต.ควนโดน ทต.ควนโดน โดย วรวิทย์

    วันที่ 23 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงเยี่ยมติดตาม กองทุนอบต.ควนขัน อบต.ตำมะลัง อบต.ควนโดน และทต.ควนโดน -ทั้ง 4 กองทุนมีการลงบันทึกข้อมูลในระบบอย่างครบถ้วน -มีการออกเอกสารการเงินจากโปรแกรม -ให้คำแนะนำในการพิจารณาโครงการ รวมถึงการจัดทำแผน -ตอบข้อซักถามของกองทุน พร้อมให้ข้อเสนอแนะ -ทุกกองทุนมีความเข้าใจดี

     

    3 3

    8. ลงติดตามกองทุนทต.ทุ่งหว้า อบต.นาทอน อบต.ป่าแก่บ่อหิน โดย มณฑา

    วันที่ 27 มีนาคม 2560 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมทำความเข้าใจ ติดตาม ปรึกษาหารือการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในวันที่ 27 มี.ค. 2560เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม อบต.นาทอนโดยมี นายลิขิตอังศุภานิช อบต.กำแพง,นางสาวพนิดาเหมราอบต.กำแพง,นางสายสุนีย์หลังนุ้ยทต.ทุ่งหว้า,นางสาวมณฑานวลดำ อบต.นาทอน,นายกูดนัยราเหม อบต.นาทอน,นางวิภารัตน์เอี้ยวซิโป อบต.ป่าแก่บ่อหิน,และนางสาวนิตยานราจร อบต.นาทอน เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้โดยมีข้อปรึกษาหารือดังนี้ 1.เนื้อหาประกอบแผนสุขภาพ 2.ทบทวนระเบียบกองทุนฯ 3.การดำเนินงานกองทุนฯประกอบด้วย
    3.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน
    3.2 ประมาณการรายรับ
    3.3 ประมาณการรายจ่าย 3.4 รายจ่ายแยกประเภท 3.5 ตัวอย่างโครงการแยกประเภท
    4. และอื่นๆ

    ปรึกษาข้อสงสัย อุปสรรคในการดำเนินงานกองทุนฯ

     

    6 7

    9. ลงติดตามกองทุนอบต.กำแพง ทต.กำแพง อบต.เขาขาว อบต.น้ำผุด โดย สุทิน

    วันที่ 29 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงเยี่ยมติดตามกองทุน อบต.กำแพง ทต.กำแพง อบต.เขาขาว และอบต.น้ำผุด -ให้คำแนะนำการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย รายงานการเงิน -ตรวจสอบและให้คำแนะนำโครงการเพื่อให้ดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน -ให้คำแนะนำการบันทึกข้อมูลลงโปรแกรมให้ครบถ้วน

     

    3 3

    10. ลงติดตามกองทุนอบต.ควนสตอ อบต.ย่านซื่อ อบต.วังประจัน โดย น้องรัก

    วันที่ 30 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงเยี่ยมติดตามกองทุนอบต.ควนสตอ อบต.ย่านซื่อ และอบต.วังประจัน ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดทำบัญชี การเงิน ให้คำแนะนำด้านการจัดทำแผน การเขียนโครงการและการพิจารณาโครงการ รวมถึงการลงบันทึกข้อมูลในระบบและการออกเอกสารการเงินจากระบบ

     

    3 3

    11. ลงติดตามกองทุนทต.ฉลุง อบต.ฉลุง อบต.ควนโพธิ์ ทต.เจ๊ะบิลัง โดย ลิขิต

    วันที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงเยี่ยมติดตามกองทุนทต.ฉลุง อบต.ฉลุง อบต.ควนโพธิ์ และทต.เจ๊ะบิลัง พบว่า กองทุนบางแห่งยังบันทึกข้อมูลลงในระบบยังไม่ครบถ้วน และล่าช้า จึงให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูล อธิบายการใช้โปรแกรม รวมถึงให้ข้อแนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชี

     

    3 3

    12. ประชุมทบทวนภาพรวมจังหวัด

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมทบทวนภาพรวมจังหวัดครั้งที่ 1 -อภิปรายการลงเยี่ยมติดตามกองทุนของพี่เลี้ยงที่ได้ลงดำเนินการแล้ว -ตอบปัญหา ข้อซักถาม และร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน -ทบทวนการบันทึกข้อมูลลงในกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ครบถ้วน

     

    14 11

    13. ลงติดตามกองทุน อบต.ปากน้ำ อบต.ละงู โดย อนัญญา

    วันที่ 13 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • วันที่ 13 มิถุนายน 2560 ลงหนุนเสริม ทำความเข้าใจ การทำงานของกองทุนสุขภาพตำบลปากน้ำโดยมีทีมหนุนเสริมจำนวน 4 คน และ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนตำบลปากน้ำจำนวน 3 คน เป็นการทำความเข้าใจการคีย์ข้อมูลในเวบไซค์ เช่นการทำ TOR ใบเบิก การทำรายงานเมื่อมีการจัดกิจกรรมแล้ว ทำความเข้าใจเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของโครงการ การออกระเบียบ การเบิกเงิน

    ผลลัพธ์

    • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในเรื่องการคีย์ข้อมูลในเวบไซค์มากขึ้นโดยมีการคีย์ข้อมูลโครงลงในเวบไซค์และจัดทำ TOR และจัดทำใบเบิกเมื่อมีข้อสงสัยก็ได้ตอบข้อซักถามเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับทีมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนตำบลปากน้ำ

     

    4 7

    14. ลงติดตามกองทุน. อบต.เกาะสาหร่าย ครั้งที่ 2 โดย นฤมล และซาฟีเยาะห์

    วันที่ 17 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.รับฟังสถานการณ์กองทุนตำบล

     

    15 15

    15. ลงติดตามกองทุนอบต.แหลมสน โดย อนัญญา

    วันที่ 19 มิถุนายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    • วันที่ 19 มิถุนายน 2560 ลงหนุนเสริม ทำความเข้าใจ การทำงานของกองทุนสุขภาพตำบลแหลมสนโดยมีทีมหนุนเสริมจำนวน 3 คน และ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกองทุนตำบลแหลสนำจำนวน 3 คน เป็นการทำความเข้าใจการคีย์ข้อมูลในเวบไซค์ เช่นการทำ TOR ใบเบิก การทำรายงานเมื่อมีการจัดกิจกรรมแล้ว ทำความเข้าใจเกณฑ์ค่าใช้จ่ายของโครงการ การออกระเบียบ การเบิกเงิน มีการทบทวนระเบียบกองทุน บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน เป็นต้น

    ผลลัพธ์

    • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในระเบียบกองทุนและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการมากขึ้นมีการแลกเปลี่ยนและสอบถามข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานกองทุน

     

    3 3

    16. ลงติดตามกองทุนอบต.เกาะสาหร่าย โดย ชัญญานุช

    วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เวลา 09.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงเยี่ยมให้คำแนะนำ แนวทางการดำเนินงานกองทุน แต่ไม่พบผู้บริหาร ได้พบคณะกรรมการบริหารกองทุนบางส่วน และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานกองทุน ได้ให้คำแนะนำในการบันทึกข้อมูล และนัดหมายวัน เพื่อให้คำแนะนำในการจัดทำแผน จัดทำโครงการ การจัดการด้านการเงิน

     

    3 15

    17. ลงติดตามกองทุนอบต.อุไดเจริญ อบต.ควนกาหลง อบต.ทุ่งนุ้ย โดย ซอร์ฟีเย๊าะ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2560 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    TT

     

    3 7

    18. ประชุมทบทวนภาพรวมจังหวัด

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมทบทวนการลงเยี่ยมติดตามกองทุน -แจ้งให้พี่เลี้ยงที่ลงเยี่ยมติดตามกองทุนแล้วลงบันทึงข้อมูลในโปรแกรมให้ครบถ้วน -สำหรับพี่เลี้ยงที่ยังไม่ได้ลงเยี่ยนให้รีบดำเนินการโดยเร็วที่สุด -สรุปค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากสปสช.เขต12 และค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการลงเยี่ยมติดตามกองทุน -นัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานพร้อมถอดบทเรียนของการดำเนินงานทั้งปี

     

    14 9

    19. ลงติดตามกองทุนอบต.เจ๊ะบิลัง อบต.สาคร อบต.ท่าแพ อบต.ปาล์มพัฒนา โดยนฤมล

    วันที่ 3 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การติดตามเยี่ยม 4 กองทุน ได้แก่ อบต.ท่าแพ อบต.สาคร อบต. เจ๊ะบิลัง และอบต.ปาล์มพัฒนา พบว่า

    1. ทุกกองทุนมีการลงข้อมูลกองทุนเรียบร้อย มี 1 แห่งยังไม่ลงข้อมูลประชากรปี 61
    2. ทุกกองทุนลงข้อมูลโครงการ และการใช้งบประมาณ แต่รายละเอียดโครงการยังต้องเพิ่มรายละเอียดที่สำคัญเช่น หลักการเหตุผล วิธีการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่สำคัญ
    3. เจ้าหน้าที่ลงข้อมูลทุกกองทุนสามารถลงข้อมูลได้ ใช้เวปเป็นเครื่องมือการทำงานได้ดี
    4. เจ้าหน้าที่มีความต้องการอบรมการคีย์ข้อมูลโครงการเพิ่มเติม

     

    3 2

    20. สรุปผลการทำงาน ทำรายงานสิ้นปีงบประมาณ

    วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการทำงานทั้งหมดของปี2560 อภิปรายปัญหาอุปสรรคการทำงาน พบว่าปัญหาอุปสรรคของการลงเยี่ยมติดตามกองทุนแต่ละกองทุน มีดังนี้ - ข้อจำกัดด้านพื้นที่ ความสะดวกในการเดินทาง - การให้ความร่วมมือของผู้บริหารกองทุน ตลอดจนความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกองทุน - ปัญหาในการบันทึกข้อมูลลงระบบที่มีความล่าช้าและไม่ครบถ้วน - ความเข้าใจของพี่เลี้ยงยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่าที่ควร สรุปรายละเอียดด้านงบประมาณ

     

    14 11

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    สรุปผลการทำงานทั้งหมดของปี2560 อภิปรายปัญหาอุปสรรคการทำงาน พบว่าปัญหาอุปสรรคของการลงเยี่ยมติดตามกองทุนแต่ละกองทุน มีดังนี้ - ข้อจำกัดด้านพื้นที่ ความสะดวกในการเดินทาง - การให้ความร่วมมือของผู้บริหารกองทุน ตลอดจนความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลกองทุน - ปัญหาในการบันทึกข้อมูลลงระบบที่มีความล่าช้าและไม่ครบถ้วน - ความเข้าใจของพี่เลี้ยงยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่าที่ควร สรุปผลการทำโครงการคือ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และดำเนินการได้ครบถ้วนตามเป้าหมาย

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อลงสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลใน จ.สตูล
    ตัวชี้วัด : 1. พี่เลี้ยงลงติดตามกองทุนสุขภาพตำบลอย่างน้อย กองทุนละ 1ครั้ง 2. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถจัดทำโครงการฯเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของพื้นที่ และสามารถลงข้อมูลในโปรแกรมระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ www.localfund.happynetwork.org 3. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่สามารถใช้ในการดำเนินโครงการจนไม่เกินร้อยละ 10

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 14
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 14

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลงสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลใน จ.สตูล

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดสตูล ปี 2560 จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-FW-91000

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง และทีมพี่เลี้ยงจังหวัดสตูล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด