กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว
รหัสโครงการ 61-L5313-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,910.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา หมีนคลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในปีเด็กสากลพุทธศักราช ๒๕๒๒ พระราชดำรัสว่า "เด็กเป็นผู้ที่รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระความรับผิดชอบในธำรงรักษา ความสุขสงบของประชากรโลก" จากพระราชดำรัสมองเห็นได้ว่า เด็กและเยาวชนเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อจากผู้ใหญ่ ในฐานะครู ผู้ปกครองเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา เด็กและเยาวชนควรได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของตนเอง การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การเสริมสร้างสุขภาพ การออกกำลังกาย การดูแลให้ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและส่วนรวม ตลอดจนเป็นบุคคลที่สามารถเป็นตัวอย่าง มีภาวะการเป็นผู้นำในเรื่องการปฏิบัติตามสุขบัญญัติที่ดีได้ เด็กต้องได้รับการส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและถูกต้อง ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การสื่อสารและการคมนาคมตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา ซึ่งทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของเราเปลี่ยนไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สมดุล การขาดความสนใจและละเลยต่อการดูแลสุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน บริโภคอาหารที่ไม่เหาะสม ขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพ โดยให้ประชาชนสามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง เป็นเพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย การมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพและคุณภาพงานเต็มที่ และการมีสุขภาพดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ประกอบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา ทุกคนที่อาศัยอยู่่บนผืนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มคลองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข(๒๕๔๕) ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นการพัฒนาที่มีความครอบคลุมทุกมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกคนทั้งในโรงเรียนและชุมชน ให้สามารถนำความรู้ และทักษะด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการดูแลใส่ใจสุขภาพของตนเองและผู้อื่น รวมทั้งสามารถตัดสินใจในการควบคุมสภาวการณ์ที่มีผลต่อสุขภาพโดยเฉพาะนักเรียนจะได้รับการปลูกฝังทัศนคติ ฝึกทักษะและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย ทำให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ส่งเสริมการมีสุขนิสัยที่ดีของเด็กวัยเรียน ฉะนั้นการสร้างตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตามสุขบัญญัติ สุขภาพทันตของตนเอง ทักษะในการแปรงฟัน ต้องอาศัยการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมทั้งจากคณะครู ผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(วิยดา ล้อมทอง) การที่เด็กวัยเรียนในสถานศึกษาต่างๆ ที่ตระหนักถึงเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคอาาร มารวมกลุ่มกัน ตั้งเป็นชมรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค อย.น้อย เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งเสริมนักเรียนที่เป็นอาสาสมัคร ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน การรณรงค์การให้ความรู้และความเข้าใจมองเห็นความสำคัญการดูแลทันตสุขภาพที่ดี การรู้จักเลือกบริโภค การรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ มีส่วนให้เกิดพัฒนาการทางด้านสมอง มีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อารมณ์แจ่มใส กระตือรือร้น ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ง่าย ผิดกับผู้ที่รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ พัฒนาทางด้านสติปัญญาลดน้อยลง อารมณ์หดหู่ ไม่แจ่มใส จนบางครั้งไม่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข ให้แก่เด็กวัยเรียน ผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพด้วยสิ่งเหล่านี้มุ่งเน้นการพัฒนานักเรียนแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อห้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพ ประกอบกับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สนับสนุนให้ประชาชนแสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเอง การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้ฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ ตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการดำรงชีวิต สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร้าวมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)(๒๕๕๗) กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริหาร หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงาน หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มคนพิการกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โรงเรียนบ้านห้วยมะพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กและเยาวชนเล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ.๒๕๕๗ กองทุนหลักประกันสุขภาพที่ต้องการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย กระบวนการเรียนรู้ ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ การป้องกันและลดปัญหาด้านยาเสพติด ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ฝึกอบรม ในกลุ่มเด็กวัยเรีนและเยาวชน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาส่งเสริมสุขภาพสุขบัญญัติที่ดีและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งทางด้านการดูแลสุขภาพตนเอง ความสะอาดของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในกรส่งเสริม สนับสนุนเด็กในฐานะผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนปฏิบัติตนเองและถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว เสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เพื่อดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนด้านการจัดการสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กวัยเรียนระดับนักเรียนประถมศึกษามีสขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง

 

90.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนระดับนักเรียนประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อ ภาวะทุพโภชนาการ

 

80.00
3 เพื่อสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องสุขาของโรงเรียน

 

80.00
4 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรคได้

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 4 45,910.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมเด็กมะพร้าวยิ้มสวย 0 0.00 15,250.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมโภชาการดีที่ห้วยมะพร้าว 0 0.00 11,200.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 0 0.00 14,700.00
13 มิ.ย. 61 กิจกรรมสุขาน่าใช้ 0 0.00 4,760.00

การดำเนินงานโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู มีขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นวางแผน(Plan) 1.1 ประชุมชี้แจงนโยบายโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงูให้บุคลากรทราบ 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู 1.3 ให้คณะกรรมการดำเนินการวางแผน กำหนดบทบาทผู้เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกำหนดแนวการจัดกิจกรรมโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ให้สอดคล้องกับนโยบาย การจัดเตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบกิจกรรม 1.4 คณะกรรมการดำเนินการจัดทำโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว เสนอขออนุมัติต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู 2.ขั้นดำเนินการตามแผน(Do) กำหนดกิจกรรมที่มุ่งให้การเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค พัฒนาและปลูกผังพฤติกรรมสุขภาพเด็กวัยเรียนและเยาวชน ผู้ปกครอง ชุมชน โดยรูปแบบและวิธีการที่วางแผนไว้ให้สอดคล้องกับลักษณะกิจกรรม ระยะเวลาที่กำหนดตามแผนงาน โดยร่วมมือกับทุกหน่ยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินโครงการมีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเด็กมะพร้าวยิ้มสวย กามส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคฟันผุ ในพฤติกรรมเด็กวัยเรียนระดับประถมสึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ให้มีความรู้ และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพในช่องปาก มีความรู้ ความเข้าใจ และวิธีการดูแลรักษาการดูแลช่องปากและสามารถนำเอาความรู้ไปปรับใช้ทันตสุขภาพที่ดีอย่างถูกวิธี มีการประกวดฟันสวย กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมโภชนาการดีที่ห้วยมะพร้าว การส่งเสริมสุขภาพเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ ส่งเสริมพฤติกรรมเด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ให้มีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การบริโภคอาหารที่สุข สะอาดและปลอดภัย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ให้หลากหลาย จัดกิจกรรมเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการ กิจกรรมทักษะการปรุงอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพ และมีการประกวดการเขียนเรื่องความสำคัญของผัก และการแต่งนิทาน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสุขาน่าใช้ จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม พัฒนาเด็กวัยเรียนประถมศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะและสุขนิสัย ได้แก่ จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ห้องส้วม ป้องกันโรค จัดทำโครงงานจุลินทรีย์พิทักส้วม จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การใช้ส้วมอย่างถูกสุขอนามัยและสุขนิสัย กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสมุนไพรเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษา ให้ความรู้การใช้สมุนไพรรักาสุขภาพตนเอง ได้รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ทางการแพทย์ของสมุนไพรต่างๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำพืชสมุนไพรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรค เช่น น้ำสมุนไพร โลชั่นกันยุง การทำยาหม่องตะไคร้หอมและสเปรย์ฉีดกันยุง 3.ขั้นประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ(check) ดำเนินการตรวจสอบประเมินผลโครงการ โดยจัดทำแบบสอบถาม แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสังเกตนำไปประเมินผลในแต่ละกิจกรรม และภาพรวมของโครงการ 4.แนวทางการนำผลการประเมินไปปรับปรุง(Act) ดำเนินการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตรวจสอบประเมินโครงการ กิจกรรม หาข้อสรุปผลข้อมูลเพื่อประเมินผล การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับปรับปรุงพัฒนา ให้เป็นโครงการต่อเนื่อง และรายงานผลโครงการสุขภาพดีที่ห้วยมะพร้าว กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษามีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง 2.มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของวัยเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ 3.เด็กวัยเรียนระดับประถมศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและป้องกันโรค 4.นักเรียนมีจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องสุขาของโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2561 15:13 น.