กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะแต


“ โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต ”

ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสากีเราะฮ์บือราเฮง

ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต

ที่อยู่ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 61-4149-02-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 31 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะแต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 61-4149-02-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 224,650.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะแต เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมาลาเรีย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 คน โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน สถานการณ์ทั่วไปโรคไข้มาลาเรียช่วง ปี 2558 2559 และ 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 17,444 13,570 และ 8,919 ราย อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียต่อพันประชากร 0.27 0.21 และ 0.14 ตามลำดับ โดยจังหวัดยะลา พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอยะหา เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตตำบลปะแตมีการระบาดมากที่สุด ในปี ๒๕๕7 พบผู้ป่วย จำนวน 107 ราย พบมากที่หมู่ที่ 8 เหมืองลาบู และพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง ปี 2560 พบผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรียจำนวน 255 ราย (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง,กรมควบคุมโรค) พบสูงสุดที่หมู่ที่ 9 บ้านตะโละเวสาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนนอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย จึงทำให้โรคไข้มาลาเรียมีการระบาดตลอดปี และมีการระบาดในทุกกลุ่ม
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. แกนนำมาลาเรียมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมาลาเรียระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A1และA2 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย
  2. กิจกรรม เจาะเลือดคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A2
  3. กิจกรรม พ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย

วันที่ 19 ธันวาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

๓. วิธีดำเนินการ ๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
๒. ชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและแต่งตั้งคณะทำงาน
๓. ประชาสัมพันธ์โครงการ 4.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย
5. ร่วมกับ แกนนำมาลาเรีย อสม.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ออกพื้นที่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชน  เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคมาลาเรีย 5. ประเมินผลและสรุปผลโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย
โดยมีแกนนำมาลาเรียเข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน จาก 9 หมู่บ้าน ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลตำบลปะแต อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำมาลาเรียชุมชน ชมรมจิตอาสาในตำบล โดยมีทีมวิทยากร จากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา โดยหลังจากอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในระดับดี ร้อยละ 86.5

 

50 0

2. กิจกรรม เจาะเลือดคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A2

วันที่ 4 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมทำความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และตัวแทนประชาชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเจาะคัดกรองมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยง A1/A2 2. ดำเนินการสุ่มเจาะคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A2 โดยแกนนำมาลาเรีย ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและศูนย์ควบคุมโรคที่ 12.1 ยะลา 3. ส่งสไลด์สุ่มเจาะคัดกรองมาลาเรีย ไปตรวจหาเชื้อ ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา หากพบเชื้อจะประสาน MP ในพื้นที่เข้าให้ยามาลาเรีย และส่งตรวจซ้ำ ตามมาตรการควบคุมโรค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการดำเนินการ พบว่า สามารถสุ่มเจาะมาลาเรีย ในพื้นที่แหล่งโรค และพื้นที่เสียง (หมูที่ 1 ,หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 6 ,หมูที่ 8 ในห่วง เดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายา จำนวน 4,670 สไลด์  ส่งตรวจ ณ ศูนย์ควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ 12.1 ยะลา ปรากฏว่า พบเชื้อ จำนวน 4 ราย จึงดำเนินการควบคุมโรคตามมาตรการ

 

5,000 0

3. กิจกรรม พ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

สำรวจพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) เพื่อเตรียมการพ่นสารเคมีตกค้าง กำหนดแผนการลงพื้นที่ พื้นที่แหล่งโรค (A1, A2)
ดำเนินการพ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • พ่นสารเคมีตกค้าง จำนวน 3,239  หลังเรือน
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงมกกว่า ร้อยละ 50 จากปีที่ผ่านมา

 

1,000 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 แกนนำมาลาเรียมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมาลาเรียระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ตัวชี้วัด : ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
1.00

 

2 ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A1และA2 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง
ตัวชี้วัด : 3239 หลังคาเรือน
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3000
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) แกนนำมาลาเรียมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมาลาเรียระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) ครัวเรือนในพื้นที่ระบาด A1และA2 ได้รับการพ่นสารเคมีตกค้างทุกหลัง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชนสำหรับแกนนำมาลาเรีย (2) กิจกรรม เจาะเลือดคัดกรองมาลาเรียเพื่อค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่แหล่งโรค A1,A2 (3) กิจกรรม พ่นสารเคมีตกค้างพื้นที่แหล่งโรค (A1, A2) และการค้นหาผู้ป่วย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการควบคุมโรคมาลาเรียในชุมชน ตำบลปะแต จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 61-4149-02-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวสากีเราะฮ์บือราเฮง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด