กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย12 กันยายน 2561
12
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลอุใดเจริญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิธีดำเนินการ

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ

  2. ประสานวิทยากร

  3. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์

  4. จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้ เรื่องการบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค
      4.1 บรรยายให้ความรู้ การบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค
      4.2 สาธิตวิธีการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย
      4.3 สาธิตการล้างผัก ผลไม้ หรืออาหารที่ถูกวิธี มีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยจากสารปนเปื้อน

  5. ทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม

  6. ประเมินผล/รายงานผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงกาบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๑ ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน .......... คน คิดเป็นร้อยละ ........ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นสตรีภายในตำบลอุใดเจริญ ทั้ง ๙ หมู่บ้าน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ ๑. ประเมินความรู้ก่อนการอบรม ๒. การบรรยายให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย การเลือกซื้อ การล้าง การเก็บรักษาอาหารเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง
๓. ลงมือปฏิบัติการล้างเนื้อ ล้างผักประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภทหัว ประกอบด้วย แครอท
ประเภทใบ  ประกอบด้วย คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว ประเภทมีราก ประกอบด้วย ต้นหอม  ผักชี ประเภทผักห่อ ประกอบด้วย กะหล่ำปลี ผักกาดห่อ เนื้อสัตว์  ประกอบด้วย กุ้ง ปลา เนื้อวัว ไก่ ผลไม้ ประกอบด้วย องุ่น
แบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็น ๖ กลุ่ม รับอุปกรณ์สาธิตประเภทผัก ๓ กลุ่ม  ประเภทเนื้อสัตว์ ๓ กลุ่ม จากนั้นสาธิตการล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก โดยวิทยากรเป็นผู้คอยแนะนำ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลงมือปฏิบัติ ๔. ประเมินความรู้หลังการอบรม ๕. เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย ๖. ประเมินความพึงพอใจ
ผลการประเมินความรู้ สตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินก่อนการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  และสตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินหลังการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย คิดเป็นร้อยละ ๙๗  ผ่านตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค การประเมินความพึงพอใจ เนื้อหา มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด กระบวนการถ่ายทอดความรู้ มีความชัดเจน เนื้อหาครบถ้วน และการสร้างบรรยากาศการอบรมอยู่ในระดับ ดีมากถึงมากที่สุด สถานที่ เวลา อาหารและเครื่องดื่ม โดยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดีมาก