กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๑ ณ วัดอุไดพัฒนาวาส (วัดผัง ๓) มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 102 ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นสตรีภายในตำบลอุใดเจริญ ทั้ง ๙ หมู่บ้าน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้

๑. ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
๒. การบรรยายให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย การเลือกซื้อ การล้าง การเก็บรักษาอาหารเพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง

๓. ลงมือปฏิบัติการล้างเนื้อ ล้างผักประเภทต่างๆ ดังนี้
ประเภทหัว ประกอบด้วย แครอท

ประเภทใบ ประกอบด้วย คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักกาดขาว
ประเภทมีราก ประกอบด้วย ต้นหอม ผักชี
ประเภทผักห่อ ประกอบด้วย กะหล่ำปลี ผักกาดห่อ
เนื้อสัตว์ ประกอบด้วย กุ้ง ปลา เนื้อวัว ไก่
ผลไม้ ประกอบด้วย องุ่น

แบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็น ๖ กลุ่ม รับอุปกรณ์สาธิตประเภทผัก ๓ กลุ่ม ประเภทเนื้อสัตว์ ๓ กลุ่ม จากนั้นสาธิตการล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก โดยวิทยากรเป็นผู้คอยแนะนำ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ลงมือปฏิบัติ
๔. ประเมินความรู้หลังการอบรม
๕. เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
๖. ประเมินความพึงพอใจ

ผลการประเมินความรู้ สตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินก่อนการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินหลังการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย คิดเป็นร้อยละ ๙๗ ผ่านตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค การประเมินความพึงพอใจ เนื้อหา มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีความเข้าใจและได้รับประโยชน์จากการร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด กระบวนการถ่ายทอดความรู้ มีความชัดเจน เนื้อหาครบถ้วน และการสร้างบรรยากาศการอบรมอยู่ในระดับ ดีมากถึงมากที่สุด สถานที่ เวลา อาหารและเครื่องดื่ม โดยส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดีมาก

ปัญหา/อุปสรรค

-ไม่มี –

ข้อเสนอแนะ

๑. พัฒนา หรือต่อยอดกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

๒. บูรณาการกิจกรรมให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มต่างๆ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย
ตัวชี้วัด : ประชาชนความรู้ ความเข้าใจ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย ร้อยละ 90
100.00 102.00
  1. ประชาชนมีความตระหนักในการเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย
  2. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 102
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 102
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพต่างๆในประชาชน เช่น โรคมะเร็ง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น อาหารปิ้งย่าง อาหารปนเปื้อนยาฆ่าแมลง สารเร่งเนื้อแดง แช่ฟอร์มาลีน เป็นต้น โรคทางเดินอาหาร อาทิโรคอุจจาระร่วง โรคอหิวาตกโรค สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด ไม่ปรุงสุกใหม่
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคที่ปลอดภัย ถูกหลักอนามัยสำหรับประชาชน ชมรมกลุ่มสตรีตำบลอุใดเจริญได้เล็งเห็นว่าสตรีมีบทบาทต่อการบริโภคในครัวเรือน การส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้ออาหาร เพื่อการนำมาบริโภคในครัวเรือน เพราะหากกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการเลือกซื้อ เลือกบริโภค ก็สามารถส่งผลให้คนในครอบครัวได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยไปด้วย


โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

  • ผลการประเมินความรู้ สตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินก่อนการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๘๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสตรีกลุ่มเป้าหมายผ่านการประเมินหลังการอบรมให้ความรู้ ที่ระดับคะแนน ๘ – ๑๐ คะแนน จำนวน ๙๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปผลคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๐๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกบริโภคอาหารให้ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย คิดเป็นร้อยละ ๙๗ ผ่านตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการบริโภคปลอดภัย ห่างไกลโรค


  • ข้อเสนอแนะ ได้แก่

๑. พัฒนา หรือต่อยอดกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

๒. บูรณาการกิจกรรมให้เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนกลุ่มต่างๆ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh