กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม




ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 60-L7258-1-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2559 ถึง 31 สิงหาคม 2560

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 60-L7258-1-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 24 พฤศจิกายน 2559 - 31 สิงหาคม 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 166,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่มีหลายประการรวมทั้งปัญหาการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินกำหนดมาตรฐานด้วยเนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของประชาชนในเมืองหาดใหญ่จะพึ่งพาการใช้บริการอาหารจากร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารจึงทำให้มีผู้ประกอบอาชีพจำหน่ายอาหารหลายลักษณะทั้งที่เป็นร้านอาหารทั่วไปแผงลอยจำหน่ายอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารในโรงแรมศูนย์การค้าและรูปแบบอื่น ๆซึ่งการปรุงอาหารเพื่อการจำหน่ายอาหารของสถานที่จำหน่ายอาหารไทยโดยทั่วไปจะมีการใช้น้ำมันในการปรุงอาหารและมักจะมีการใช้น้ำมันทอดซ้ำเพื่อความประหยัดและคุ้มค่าแต่น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้งจะมีคุณสมบัติที่เสื่อมลงทั้งสีกลิ่นรสชาติตลอดจนในระหว่างการทอดจะมีสาร โพลาร์ที่เกิดจากการแตกตัวของน้ำมันเกิดขึ้นซึ่งสารโพลาร์ที่เกิดขึ้นนี้สามารถสะสมในร่างกายและส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์และสาเหตุก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบและสารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเป็นต้นโดยจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการทอดอาหารซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒๘๓)พ.ศ. ๒๕๔๗เรื่องกำหนดปริมาณสารโพลาร์ในน้ำมันที่ใช้ทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายให้มีปริมาณสารโพลาร์ได้ไม่เกินร้อยละ ๒๕ของน้ำหนักผู้ประกอบการอาหารที่ใช้น้ำมันทอดอาหารที่มีค่าปริมาณสารโพลาร์เกินมาตรฐานที่กำหนดและจำหน่ายแก่ผู้บริโภคถือเป็นการจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐานฝ่าฝืนมาตรา ๒๕ (๓)พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐บาท จากการสำรวจข้อมูลสถานที่จำหน่ายอาหารประเภททอดทั้งหมดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ (ร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหารในที่สาธารณะโรงอาหารในโรงเรียนและร้าน/แผงลอยฯ ในห้างสรรพสินค้า)มีจำนวน๕๗๒แห่งซึ่งในปี๒๕๕๙ได้ดำเนินการอบรมให้ความรู้และส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารทอดโดยการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันปรุงอาหารของผู้จำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในเขตเทศบาลจำนวน๓๕๐แห่ง(แห่งละ๓รอบ)ผ่านมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน๑๔๕แห่งคิดเป็นร้อยละ๔๑.๕และผลการตรวจคุณภาพน้ำมันจำนวน๙๘๕ตัวอย่างผ่านมาตรฐาน๘๔๖ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ๘๕.๘๙ซึ่งยังคงมีสถานที่จำหน่ายอาหารประเภททอดยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ อีก๒๗๒แห่งและยังมีสถานประกอบการเดิมที่ยังปรับปรุงไม่ผ่านตามที่มาตรฐานกำหนดอีกจำนวนมากอันจะส่งผลให้ผู้บริโภคและตัวผู้ประกอบการเองยังคงเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายของสารโพลาร์จากการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินกำหนดอยู่ดังนั้นกลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อมล้อมและเครือข่ายอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคเทศบาลนครหาดใหญ่จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำปีที่ ๒ขึ้นเพื่อรณรงค์สถานประกอบการให้ใช้น้ำมันที่ได้มาตรฐานให้ความรู้แก่ประชาชนในการเลือกซื้ออาหารทอดที่ปลอดภัยและรณรงค์ให้มีการนำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเพื่อป้องกันการนำน้ำมันไม่ได้มาตรฐานกลับเข้ามาสู่ห่วงโซ่อาหาร

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียนร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในชุมชน
  2. 2.เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารทอดแก่ประชาชน
  3. 3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยการบริโภคอาหารประเภทอาหารทอด
  4. 4.เพื่อส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเช่นการส่งไปผลิตไบโอดีเซลการทำสบู่ซักล้างและการทำอิฐบล๊อกเพื่อป้องกันการนำน้ำมันมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาในห่วงโซ่อาหารอีก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. นักเรียนและประชาชนมีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารทอดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ๒. มีร้านจำหน่ายอาหารทอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ใช้น้ำมันทอดผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ ๗๐ ของร้านจำหน่ายอาหารทอดทั้งหมด ๓. สามารถลดน้ำมันลูกหมู (น้ำมันใช้แล้วนำไปเติมสารช่วยกรองแล้วนำกลับมาจำหน่ายผู้บริโภค/ผู้ประกอบการ)และน้ำมันพืชใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำในห่วงโซ่อาหาร


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ใช้ในการตรวจคุณภาพน้ำมันปรุงอาหารในสถานประกอบการ (ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร) พัฒนามาตรฐานสถานประกอบการและลดอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินมาตรฐานตามโครงการ

     

    272 234

    2. วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานทุกกิจกรรม

    วันที่ 31 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำเกินมาตรฐานอย่างยั่งยืน

     

    0 0

    3. ชี้แจงรายละเอียดโครงการและวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 08.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชี้แจงรายละเอียดโครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ ปีที่2 และรายงานผลการดำเนินงานในปี 2559
    • วางแผนการดำเนินงานให้ความรู้และตรวจเฝ้าระวังในสถานประการและร้านจำหน่ายอาหารทอดในชุมชน
      • ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าสารโพลาร์ในน้ำมัน และชุดตรวจต่าสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ

     

    60 60

    4. จัดทำแผ่นพับ ป้ายไวนิล ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

    วันที่ 7 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ประกอบการร้านอาหารได้มีความรับผิดชอบ ตระหนักถึงโทษ จะได้งดใช้น้ำมันทอดซ้ำเสื่อมสภาพ

     

    0 0

    5. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ สรุปผลการดำเนินงาน และมอบป้าย

    วันที่ 18 สิงหาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร้านจำหน่ายอาหารทอดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ใช้น้ำมันทอดผ่านมาตรฐานเพิ่มขึ้น ลดการใช้น้ำมันพืชที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ

     

    200 234

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑)  จัดประชุมเครือข่ายที่จะร่วมดำเนินงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อสม. สำนักงานสาธารณสุข จ สงขลา และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สนับสนุนชุดทดสอบ และองค์ความรู้นการดำเนินงาน ๒)  การส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารทอด  ดังนี้ ๒.๑) การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงสุขลักษณะสถานประกอบการจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในเขตเทศบาล  กรณีรายใหม่  จำนวน  ๒๓๗  แห่ง แห่งละ ๓  รอบ  และรายเดิม  จำนวน  ๓๐๐  แห่ง แห่งละ ๑ รอบ  (รวมตรวจสถานประกอบการ  จำนวน  ๕๓๗  แห่ง)  ซึ่งจากการดำเนินงานในปี  ๒๕๕๙-๒๕๖๐  มีสถานประกอบการผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน  ๓๘๒  แห่ง  คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๑๔  และยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  จำนวน  ๑๕๕  แห่ง  คิดเป็นร้อยละ  ๒๘.๘๖ ๒.๒) สุ่มตรวจคุณภาพน้ำมันทอดอาหาร (สารโพลาร์) ในสถานประกอบการจำหน่ายอาหารทอด  จำนวน  ๔๒๘  แห่ง  จำนวนตัวอย่างน้ำมัน  จำนวน  ๗๓๑  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๖๑๙  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๖.๖๘  ไม่ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๑๒  ตัวอย่าง  คิดเป็น  ร้อยละ  ๑๕.๓๒  โดยแยกรายละเอียด  ดังนี้
    - ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า  จำนวน  ๖๕  แห่ง  จำนวน  ๑๘๓  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๔๗  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๐.๓๓  และไม่ผ่านมาตรฐาน จำนวน  ๓๖  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๙.๖๗
    - แผงลอยฯ / ร้านอาหารทั่วไป  จำนวน  ๓๐๕  แห่ง  จำนวน  ๔๔๔  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๓๖๘  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๘๒.๘๘  และไม่ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๗๖  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๗.๑๒ - แผงลอยฯ/โรงอาหารในโรงเรียน  จำนวน  ๕๘  แห่ง  จำนวน  ๑๐๔  ตัวอย่าง  ผ่านมาตรฐาน  จำนวน  ๑๐๔  ตัวอย่าง  คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐
    ๓)  ได้ดำเนินการเปิดศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคประจำเขต  ทั้ง ๔  เขต  เพี่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยแก่ประชาชน  โดยจัดทำสื่อให้ความรู้/ประชาสัมพันธ์  และจัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้น้ำมันทอดซ้ำในแหล่งชุมชนครบทุกเขต  รวมจำนวน  ๘  ครั้ง
              ๔)  จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้/ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน  และมอบป้าย “น้ำมันทอด ปลอดภัย” แก่ร้านจำหน่ายอาหารทอดที่ผ่านการตรวจตามหลักเกณฑ์ จำนวน ๒๐๐  คน ๕) ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์  ได้แก่ ๕.๑) การรณรงค์ให้สถานประกอบการจำหน่ายอาหารทอดรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้วนำไปจำหน่ายที่คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เพื่อผลิตไบโอดีเซล  เพื่อป้องการการทิ้งน้ำมันเหลือใช้ลงในท่อระบายน้ำสาธารณะ  และการนำไปกรองแล้วนำมาใช้ปรุงอาหารใหม่
    ๕.๒) การรณรงค์ให้สถานประกอบการ/ประชาชนนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาทำสบู่ซักล้างเพื่อใช้ในครัวเรือน/สถานประกอบการ  โดยมีจุดสาธิตที่ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคประจำเขต  ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจและเข้ามาเรียนรู้เพื่อกลับไปทำใช้ในครัวเรือน ๕.๓) การส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาผสมกับโฟมทำเป็นอิฐบล๊อคปูพื้น  ซึ่งจะมีจุดสาธิตการใช้งานอิฐบล๊อคในชุมชนต้นแบบอย่างน้อย ๑  แห่ง  ซึ่งมีประชาชนให้ความสนใจจำนวนมาก  แต่เนื่องจากขั้นตอนการทำค่อนข้างยุ่งยาก  ประกอบกับต้องใช้โฟมจำนวนมาก  จึงทำให้ยังไม่ได้มีการนำไปใช้งานจริงมากนัก

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียนร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในชุมชน
    ตัวชี้วัด :

     

    2 2.เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารทอดแก่ประชาชน
    ตัวชี้วัด :

     

    3 3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยการบริโภคอาหารประเภทอาหารทอด
    ตัวชี้วัด :

     

    4 4.เพื่อส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเช่นการส่งไปผลิตไบโอดีเซลการทำสบู่ซักล้างและการทำอิฐบล๊อกเพื่อป้องกันการนำน้ำมันมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาในห่วงโซ่อาหารอีก
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1000
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยในโรงเรียนร้านจำหน่ายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารประเภทอาหารทอดในชุมชน (2) 2.เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารทอดแก่ประชาชน (3) 3.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหารในชุมชนเรื่องอาหารและความปลอดภัยการบริโภคอาหารประเภทอาหารทอด (4) 4.เพื่อส่งเสริมการนำน้ำมันพืชใช้แล้วไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆเช่นการส่งไปผลิตไบโอดีเซลการทำสบู่ซักล้างและการทำอิฐบล๊อกเพื่อป้องกันการนำน้ำมันมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาในห่วงโซ่อาหารอีก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 60-L7258-1-03

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( กลุ่มงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด