กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองลำพูน


“ โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ”

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

หัวหน้าโครงการ
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน

ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จังหวัด ลำพูน

รหัสโครงการ 61-L7236-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัดลำพูน" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองลำพูน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน รหัสโครงการ 61-L7236-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 39,791.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองลำพูน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

“ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ ” คือพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาถือเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาที่สามารถดําเนินงานด้านสุขภาพอย่างเป็นขั้นตอนให้เห็นได้เป็นรูปธรรม โดยเป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบใหม่ที่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรเอกชนอื่นๆ เป็น “ ผู้สนับสนุน ” ให้หมู่บ้าน / ชุมชน เป็นองค์กรจัดการตนเอง การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพมุ่งเน้นที่กระบวนการจัดการด้านสุขภาพ 5 ประเด็น ประกอบด้วยการจัดการปัจจัยนำเข้า การขับเคลื่อนกระบวนการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน การเฝ้าระวังสุขภาพชุมชน เป็นต้นแบบการจัดการสุขภาพของชุมชน และการมีผลลัพธ์และผลกระทบของการพัฒนาเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จน สามารถจัดการและพึ่งพากันเองได้โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงและอํานวยความสะดวก ประเด็นนี้จะช่วยให้ชุมชนเติบโตทางปัญญาและมีศักยภาพเพียงพอที่จะจัดการตนเองได้ไม่เฉพาะเรื่องสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆด้าน ด้วยกระบวนการพัฒนา ที่จะให้เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากของภาคี เครือข่ายด้านสุขภาพ ที่จะต้องร่วมกันเป็นผู้สนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนา แกนนําหลักในพื้นที่อันได้แก่อสม. และแกนนำอื่น ๆ ให้มีความรู้และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพได้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดังนั้น เพื่อให้ภาคีเครือข่ายดําเนินการเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกัน และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันได้อย่างชัดเจน กอง สนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน จึงได้จัดทำแนวทางการดําเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ “ เส้นทางสู่ความสำเร็จ การพัฒนาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ” ขึ้นเพื่อสนับสนุนดำเนินงานให้แก่ภาคีเครือข่ายฯในการขับเคลื่อนให้เกิด หมู่บ้านจัดการสุขภาพและการพัฒนาต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนได้ จนเป็นตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการต่อไป
ในปี 2559 และปี 2560 มีการดำเนินการประเมินการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนทั้ง 17 ชุมชนตามแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ พบว่าปี 2559 พบว่ามีชุมชนผ่านเกณฑ์ประเมินการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดีขึ้นๆไป จำนวน 15 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 80 ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน และในปี 2560 จากการประเมินผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพตามแบบบันทึกการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพในระบบสารสนเทศ งานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพพบว่า ร้อยละ 100 ของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ผ่านเกณฑ์การดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดี ดังนั้นกองการแพทย์ เทศบาลเมืองลำพูนจึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อเป็นสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการระบบที่ดีเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชนเหมาะสมกับชุมชนของตนเองและเกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืนสืบเนื่องต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
  2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  3. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ประจำปี 2561
  2. สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2561
  3. สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ชุมชนมีการจัดระบบการดูแลสุขภาพอย่างมีแบบแผน
  2. ชุมชนมีการบริหารจัดการสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  3. มีความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2561

วันที่ 30 ตุลาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม    ค่ายความรู้สู้ภัยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง 1. จัดเตรียมแผนการจัดกิจกรรมค่ายเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง  โดยจะจัดกิจกรรมการเข้าค่าย 1ครั้ง /ปีงบประมาณ
2. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน – ความดันโลหิตสูง  โดยแบ่งผู้ป่วยที่จะเข้าร่วมกิจกรรม คือ กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง จำนวน 40คน  โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 3. ติดตามประเมินผล โดย - แบบทดสอบความรู้หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม - แบบติดตามและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

กิจกรรม    ค่ายความรู้สู้ภัยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวานและโรคหัวใจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ไม่ได้มีผลกระทบเฉพาะบุคคลผู้ที่เป็นโรคเท่านั้น แต่ยังส่งผลไปถึงครอบครัว ชุมชนรวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองลำพูน  มีผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจรักษาในคลินิกด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,023 รายและโรคเบาหวานจำนวน  279 ราย  (ข้อมูล ณ กันยายน 2560) และมีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เช่น อัมพฤกษ์  อัมพาตและพิการจำนวน 460 ราย ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้จากการซักประวัติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มารับการรักษามีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีพอทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ศูนย์บริการฯได้ตระหนักถึงปัญหาของกลุ่มโรคดังกล่าวฯ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูนขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลติดตามภาวะสุขภาพของประชาชน รวมถึงให้ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน 17 ชุมชน ในเขตพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพซึ่งกันและกัน ตามนโยบายโครงการเมืองไทยแข็งแรง ( Healthy  Thailand ) ทีส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถดำรงชีพภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ  มีครอบครัวที่อบอุ่น  อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพชีวิตและทรัพย์สิน เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีสุขภาพแข็งแรงยืนยาว

 

40 0

2. สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561

วันที่ 13 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบ
  2. ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ชี้แจงหลักเกณฑ์และแบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพแก่ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนเพื่อประเมินตนเองก่อนการนำเสนอผลการดำเนินงาน
  4. จัดเวทีนำเสนอแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนทั้ง 17 ชุมชน
  5. สรุปผลการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินโครงการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วยคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองลำพูน สมาชิกสภาเทศบาลเมืองลำพูน ประธานคณะกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่และอสม.เทศบาลเมืองลำพูน รวมทั้งสิ้น 92 คน โดยมีกิจกรรมการนำเสนอผลการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จำนวน 17 ชุมชน

ผลการประเมินจากการนำเสนอการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพของทั้ง 17 ชุมชนที่ประเมินโดยคณะกรรมการ มีดังนี้

ผลการประเมิน ชุมชน

  • รางวัลหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดีเยี่ยม - ชุมชนมหาวัน
  • รางวัลหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดีมาก - ชุมชนสันดอนรอม
  • รางวัลหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับดี - ชุมชนจามเทวี - ชุมชนสวนดอก- ชุมชนศรีบุญเรือง- ชุมชนชัยมงคล- ชุมชนท่าขาม – บ้านฮ่อม- ชุมชนสันป่ายางหลวง
  • รางวัลหมู่บ้านจัดการสุขภาพระดับพัฒนา - ชุมชนไก่แก้ว- ชุมชนพระคงฤาษี- ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ- ชุมชนบ้านท่า-ท่านาง- ชุมชนประตูลี้- ชุมชนช่างฆ้อง- ชุมชนหนองเส้ง- ชุมชนสันป่ายางหน่อม- ชุมชนบ้านหลวย

รายละเอียดของการนำเสนอการจัดการสุขภาพของแต่ละชุมชนมีดังนี้

  1. ชุมชนมหาวัน มีการนำเสนอข้อมูลครบทุกองค์ประกอบรายละเอียดดังนี้ วัดมหาวันเป็นวัดตัวอย่าง มี 602 ครัวเรือน ประชากร 1,560 คน มีจำนวนผู้สูงอายุ 426 คน มีผู้พิการ 49 คน มีผู้ป่วยติดบ้าน 20 คน และผู้ป่วยติดเตียง 3 คน ข้อมูลด้านสุขภาพมีดังนี้ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 140 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 32 คน ผู้ป่วยโรคกระดูก 39 คน และผู้ป่วยโรคหัวใจ 18 คน กลุ่มการจัดการสุขภาพในชุมชนมีดังนี้ วัด, คณะกรรมการชุมชน, กลุ่มแม่บ้าน, กองทุนสวัสดิการ, กลุ่มออมทรัพย์, กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข มีการรวมกลุ่มประชุมและทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง มีการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชน กิจกรรมที่ได้ดำเนินการอาทิเช่น การฟังเทศน์มหาชาติ การทำบุญวันสำคัญทางศาสนา ฯลฯ กิจกรรมวันเด็กในชุมชน กิจกรรมการทำดอกไม้จันทน์ โดยความร่วมมือจากเทศบาลฯและพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการสำรวจลูกน้ำยุงลาย แจกทรายอะเบท กิจกรรมพัฒนาวัดและชุมชน กิจกรรมประกวดการทำอาหารพื้นเมือง เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงผู้สูงอายุ มีโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทุนสวัสดิการ จัดกิจกรรมการดูแลสุขภาพเน้นผู้สูงอายุ การให้อาหารโดยแนะนำพืชผักสมุนไพร โครงการประชาคม โครงการไทยนิยมยั่งยืน ชุมชนมหาวัน โครงการพระราชดำริด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561 มีกิจกรรมรองรับ 3 กิจกรรม เรื่องเล่าของดีในชุมชนตำนานวัดมหาวัน ตำนานกู่พระยาอาทิตยราช กิจกรรมถอดบทเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ และสร้างแรงบันดาลใจรวมทั้งยกย่องให้เห็นคุณค่าผู้สูงอายุ

  2. ชุมชนสันดอนรอม ครัวเรือนมี 620 ครัวเรือน ประชากรมีจำนวน 1,802 คน มีเด็กอายุ 0 – 6 ปี จำนวน 10 คน มีผู้พิการ 38 คน มีอสม. จำนวน 12 คน กลุ่มการจัดการสุขภาพในชุมชนมีดังนี้ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต, กลุ่มกรรมการหมู่บ้าน, กลุ่มแม่บ้าน, กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่มหนุ่มสาว, กลุ่ม อสม. และกลุ่มฌาปณกิจของชุมชน ชุมชนมีเวทีประชุมคณะกรรมการชุมชนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชุมชน มีทรัพยากรทั้งคนและเงินในการดำเนินการ ประชากรส่วนใหญ่เป็นข้าราชการมากกว่าร้อยละ 60 มีกลุ่มออมทรัพย์ มีการแก้ปัญหาของชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน สร้างกลุ่มแกนนำชุมชน แนะนำให้มารดาที่คลอดบุตรใหม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพคน 3 วัย แม่และเด็ก วัยทำงาน ผู้พิการมีอาสาสมัครในการเยี่ยม ให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น คัดกรองความดันเบาหวาน คัดกรองสุขภาพจิต มีการตรวจมะเร็งเต้านมให้ความรู้เรื่องสุขภาพต่างๆ การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีระบบการกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูลในชุมชน การส่งเสริมการจัดบ้านเรือนให้สะอาดเรียบร้อย การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อบริโภคอุปโภค ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน มีกิจกรรมเยี่ยมบ้าน เฝ้าระวังโรคติดต่อ สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มีการทำบุญทุกวันพระ ทำวัตรเย็น

  3. ชุมชนท่าขาม-บ้านฮ่อม ครัวเรือนมี 164 ครัวเรือน ประชากรมีจำนวน 457 คน แบ่งเป็นชาย 188 คน และหญิง 269 คน มีอสม. จำนวน 6 คน กลุ่มการจัดการสุขภาพในชุมชนมีดังนี้ กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่ของแผ่นดิน และกลุ่มเงินล้าน มีการนำเสนอข้อมูลทั่วไปของชุมชน อย่างชัดเจน มีการจัดทำแผนสุขภาพในชุมชน ดังนี้ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การออกกำลังกาย การทำอาหารที่มีประโยชน์ เกิดนวัตกรรมของคนทุกกลุ่มวัย โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. มีทีมสุขภาพแบ่งเป็นโซน 4 โซนในการร่วมดำเนินงานด้านสุขภาพ มีการจัดการชุมชนโดยได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากภาคส่วนต่างๆ อาทิเช่น อบจ.ให้เป็นสิ่งของผ้าห่ม กาชาดให้ถุงยังชีพ พมจ.ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกองทุนภายในชุมชนที่ให้การสนับสนุน และยังมีกิจกรรมอื่นๆอาทิเช่น การรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน รณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่มีการแจกหน้ากากอนามัย การเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง เยี่ยมให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดและเด็ก จากการนำเสนอชุมชนขาดการสรุปผลข้อมูลของผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่างๆ

  4. ชุมชนจามเทวี มีจำนวน 243 ครัวเรือน ประชากรในชุมชน มีประมาณ 700 – 800 คน มีอสม. จำนวน 9 คน กลุ่มการจัดการสุขภาพในชุมชนมีดังนี้ กลุ่มกองทุนขยะรีไซเคิล กลุ่มกองทุนสัจจะ กลุ่มกองทุนออมทรัพย์ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มต่างๆในชุมชน เช่น กลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น กิจกรรมในการดำเนินงานด้านสุขภาพประกอบด้วย การวางแผนงาน การเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง การเยี่ยมผู้พิการ ใช้การนวดสมุนไพรในการดูแล การตรวจสุขภาพเบื้องต้นในวันพระ รณรงค์ไข้เลือดออก จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและทำตะไคร้หอมไล่ยุง ทำให้เป็นชุมชนปลอดไข้เลือดออกมา 4 ปีติดต่อกัน มีการรณรงค์ลดหวานมันเค็มในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เยี่ยมมารดาหลังคลอดโดยใช้สมุนไพร นอกจากมียังมีการให้การต้อนรับหน่วยงานต่างๆ ที่มาเยี่ยมชมกิจกรรมภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

  5. ชุมชนสันป่ายางหลวง มีครัวเรือนทั้งสิ้น 158 ครัวเรือน ประชากร 476 คน เป็นชาย 209 คน หญิง 267 คน เด็กอายุ 0 – 6 ปี จำนวน 7 คน ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำนวน 142 คน มีจำนวนผู้ป่วยติดเตียง 3 คน มีอสม. 3 คน และมี Caregiver ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง ชุมชนมีการทำงานเป็นทีม มีวัดเป็นศูนย์กลาง กิจกรรมสุขภาพที่ได้ดำเนินการ อาทิเช่น การดูแลกลุ่ม 3 วัย เน้นในกลุ่มวัยเรียน และวัยทำงาน การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ กิจกรรมวันแม่โดยมีการเชิดชูยกย่องมอบโล่แม่ดีเด่น ในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี มีเยาวชนสืบสานงานบ้านงานเมือง ออกกำลังกายรำไม้พลอง เล่นเปตอง มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพร มีภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก แนะนำการดูแลเด็ก เฝ้าระวังเรื่องยาเสพติด มีกรรมการสอดส่องดูแล ดูแลผู้ป่วยติดเตียง คัดกรองความดันเบาหวาน ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการคัดแยกขยะในชุมชน การทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล เป็นต้น

  6. ชุมชนศรีบุญเรือง เป็นชุมชนใจกลางเมือง ที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด มีประชากร 239 คน ชาย 188 คน หญิง 135 คน มีครัวเรือน 167 ครัวเรือน เด็กอายุ 0 – 5 ปี จำนวน 8 คน เด็กอายุ 5 – 14 ปี จำนวน 13 คน กลุ่มวัยรุ่น จำนวน 11 คน กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 156 คน ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำนวน 62 คน มีจำนวนผู้ป่วยติดเตียง 3 คน มีอสม. 4 คน ชุมชนมีเวทีประชุมเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ กิจกรรมที่ดำเนินการในชุมชนอาทิเช่น คัดกรองความดันเบาหวาน ซึมเศร้า เยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รณรงค์ไข้เลือดออก แจกทรายอะเบท มีกิจกรรมที่ช่วยลดอุบัติเหตุในชุมชน กิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน มีการติดป้ายจุดทิ้งขยะอันตรายในชุมชน เช่นหลอดไฟ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ มีการให้คำแนะนำเรื่องอาหารการกิน ดูแลตนเอง เป็นต้น
    เนื่องจากมีปัญหาผู้ป่วยสูงอายุถูกทอดทิ้งในชุมชน และ อสม.จันจิรา ณ ลำพูน รับดูแล โดยมีคนในชุมชนช่วยประสานแต่ก็มีปัยหาค่าใช้จ่าย จึงเกิดกองทุนแม่ของแผ่นดินขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชุมชน ขึ้น ในปี 2561

  7. ชุมชนชัยมงคล บริบทของชุมชนเป็นแหล่งพาณิชย์ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะและการศึกษาดี ประชาชนที่อาศัยส่วนใหญ่มาแบบเช้ามาเย็นกลับไปอาศัยอีกที่หนึ่ง การรวมกลุ่มการทำกิจกรรมค่อนข้างยาก กลุ่มแม่และเด็ก มีจำนวน 11 คน กลุ่มวัยเรียน มีจำนวน 29 คน กลุ่มวัยรุ่น มีจำนวน 38 คน กลุ่มวัยทำงาน มีจำนวน 239 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ มีจำนวน 144 คน กิจกรรมที่ทางชุมชนดำเนินการได้แก่การรณรงค์ไข้เลือดออกและผลการรณรงค์ในปี 2560 ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน คัดกรองความดันเบาหวานและผลกิจกรรมการคัดกรองได้ 82 เปอร์เซนต์ การเยี่ยมผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รณรงค์โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น กิจกรรมการแก้ปัญหาในกรณีที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน คือ เน้นการค้นหา คัดกรอง การให้ความรู้ ตามหลัก 3 อ. 2 ส.

  8. ชุมชนสวนดอก มีจำนวน 384 ครัวเรือน ประชากร 946 คน เป็นชาย 447 คน หญิง 499 คน ผู้สูงอายุ 190 คน และมีประชากรแฝง อีก 17 ห้องแถว เด็กอายุ 0 – 6 ปี จำนวน 18 คน กลุ่มวัยเรียน จำนวน 32 คน กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 200 คน ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำนวน 386 คนพิการ 28 คน กลุ่มการจัดการด้านสุขภาพ มีคณะกรรมการชุมชนทั้งหมด 25 คน อสม. 6 คน มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน มีเวทีการจัดกิจกรรมสุขภาพในชุมชน โดยมี อสม.และเครือข่ายเป็นผู้กำหนดและมีเจ้าหน้าที่กองการแพทย์เทศบาลเมืองลำพูนเป็นผู้สนับสนุน มีการจัดหางบประมาณจากหลายภาคส่วนเพื่อจัดกิจกรรม ร่วมกันสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ชุมชน ให้ความรู้ ศึกษาดูงาน เน้น 3 อ. 2 ส. กลุ่มติดเตียง กลุ่มผู้สูงอายุ มีการเยี่ยมให้คำแนะนำเด็กทารก มีการถวายเทียนพรรษา กิจกรรมรดน้ำดำหัว ดำหัวเจ้าอาวาส มีการร่วมกลุ่มทำแหนม กองทุนวันละ 1 บาท อสม.ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง มี 2 คน มีการประชุมสรุปผลเดือนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมคัดกรองผู้ป่วยความดัน เบาหวาน รณรงค์ไข้เลือดออก มาตรการทางสังคมที่โดดเด่นของชุมชน คือ มาตรการการกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าหากบ้านหลังไหนมีลูกน้ำยุงลายหลังจากที่ อสม.ได้แจกทราย ทีมีฟอส พร้อมทั้งอธิบายแล้ว จะทำการปรับ ตัวละ 1 บาท และนำเงินไปทำใบประกาศนียบัตรให้กับบ้านที่ตรวจไม่พบลูกน้ำยุงลาย

  9. ชุมชนไก่แก้ว มีครัวเรือน 212 ครัวเรือน เป็นชาย 478 คน หญิง 673 คน ผู้สูงอายุ 150 คน มี อสม. 5 คน กิจกรรมสุขภาพอาทิเช่น การคัดกรองความดันเบาหวาน การเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ติดตามเยี่ยมให้คำแนะนำมารดาขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด เป็นต้น มีการใช้สมุนไพรในการลดโรคเบาหวาน - ความดัน ผลทำให้ระดับความดันและเบาหวานลดลง

  10. ชุมชนช่างฆ้อง มีอสม. 4 คน มีการทำงานเป็นทีม มีการจัดเวทีสุขภาพนำทีมโดย อสม. และเจ้าหน้าที่ กองการแพทย์ มีการใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลทางสุขภาพผ่านเสียงตามสายของชุมชน กิจกรรมที่ดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอาทิเช่น การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เยี่ยมผู้สูงอายุ ผู้พิการติดเตียง คัดกรองซึมเศร้าและสุขภาพจิตในชุมชน การเยี่ยมมารดาตั้งครรภ์และหลังคลอด การตรวจวัดชั่งน้ำหนักเด็ก นำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปแนะนำให้กับคนในชุมชน เป็นต้น มีมาตรการทางสังคมของชุมชน เช่น การห้ามทิ้งขยะในชุมชน และห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

  11. ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากร 299 คน ชาย 139 คน หญิง 140 คน ผู้พิการ 12 คน ในชุมชนมีกองทุนหมู่บ้าน สวัสดิการชุมชน มีการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน โดย อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอาทิ การชักชวนเด็ก ผู้สูงอายุมาออกกำลังกาย มีการเยี่ยมบ้านดูแลภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ตรวจมะเร็งเต้านม แนะนำให้ตรวจเบื้องต้น กิจกรรมดูแลผู้สูงอายุ การตรวจวัดความดัน แนะนำอาหารการกิน เฝ้าระวังควบคุมวัณโรคในชุมชน แนะนำการลดภาวะโลกร้อน รณรงค์ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ อบรมให้ความรู้อสม. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น ความภาคภูมิใจของชุมชน คือ ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน และชุมชนมีความร่วมแรงร่วมใจกันเป็นอย่างดี

  12. ชุมชนพระคงฤาษี เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีครัวเรือน จำนวน 125 ครัวเรือน ประชากร 225 คน เป็นชาย 97 คน หญิง 128 คน ผู้สูงอายุ 65 คน ผู้พิการ จำนวน 12 คน และมีประชากรแฝง เนื่องจากมีที่พักของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดลำพูนและบ้านพักสัสดี ปัญหาด้านสุขภาพคือ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไม่มีคนมาดูแล เกิดน้ำขังบ่อยครั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การแก้ปัญหาโดยมีกิจกรรมรณรงค์แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำทุกวันศุกร์ ซึ่งปีที่ผ่านมาไม่พบปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ มีกิจกรรมคัดกรองสุขภาพให้ทั้งคัดกรองความดันเบาหวาน คัดกรองซึมเศร้า ส่งเสริมการออกกำลังกาย ทั้งปั่นจักรยาน เปตอง ผลการดำเนินงานผู้สูงอายุไม่มีภาวะซึมเศร้า อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงในเด็กทารก คัดกรองวัณโรค งบประมาณส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ อาศัยจากวัสดุอุปกรณ์จากทางเทศบาลสนับสนุน และใช้การระดมทุนส่วนตัวในการร่วมทำบุญและกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่น การสรงน้ำธาตุ การดำหัวผู้สูงอายุ เป็นต้น

  13. ชุมชนบ้านท่า-ท่านาง มีจำนวน 135 ครัวเรือน ประชากร 437 คน ชาย 197 คน หญิง 240 คน เด็กอายุ 0 - 6 ปี มีจำนวน 14 คน เด็กอายุ 6 – 15 ปี มีจำนวน 50 คน ผู้สูงอายุ มีจำนวน 196 คน มีอสม. จำนวน 6 คน กิจกรรมที่ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในชุมชนอาทิเช่น มีกิจกรรมออกกำลังกาย การรณรงค์อาหารปลอดภัย แนะนำการทำ EM ในครัวเรือน เฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพ กิจกรรมผู้สูงอายุ ทำกรวยดอกไม้ มีการรณรงค์คัดกรองความดันเบาหวาน ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น แนะนำการทำและใช้สารอินทรีย์ในการปลูกผักและแก้ไขท่อน้ำอุดตัน ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ปากมดลูก ตรวจคัดกรองสุขภาพจิต คัดกรองโรควัณโรค รณรงค์ไข้เลือดออกทุกสัปดาห์ มีการคัดแยกขยะ จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันที่วัดเพื่อทำกิจกรรมในเทศกาลต่างๆ

  14. ชุมชนหนองเส้ง มีครัวเรือน 298 ครัวเรือน ประชากร 964 คน อาศัยอยู่จริง 841 คน มีผู้พิการ จำนวน 30 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 190 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 89 คน โรคเบาหวาน จำนวน 18 คน ชุมชนหนองเส้งมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมทั้งอสม. พระ บุคคลทั่วไปในชุมชน มีการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ดูแลรักษาพยาบาล มีการออกกำลังกาย รำไม้พลอง ปั่นจักรยาน มีกิจกรรมสืบสานประเพณีท้องถิ่นเช่น รดน้ำดำหัว แห่ไม้ค้ำ ฟังเทศน์ ใช้หลัก 3อ. 2ส. ในการบริหารจัดการสุขภาพประชาชนในชุมชน มีกิจกรรมวันเด็ก รณรงค์ไข้เลือดออก กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เยี่ยมร้านอาหาร แนะนำและตรวจสอบสารพิษตกค้าง เป็นต้น

  15. ชุมชนบ้านหลวย เป็นชุมชนเข้มแข็ง ประชากรมีจำนวน 478 คน แบ่งเป็น ชาย จำนวน 218 คน และหยิง จำนวน 260 คน อสม. ทั้งหมด 9 คน ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมภายในชุมชน มีเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณภาพชีวิต การดำเนินงานของชุมชนจะร่วมกันทำงานทั้งประธานคณะกรรมการชุมชน อสม. กลุ่มต่างๆในชุมชน มีชมรมผู้สูงอายุที่มีการจัดการประชุมจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมการดูแลสุขภาพอื่นๆ อาทิเช่น คัดกรองดูแลเด็กแรกเกิด มารดาก่อนและหลังคลอด กลุ่มวัยรุ่นมีโครงการอสม.น้อย เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด เน้นการออกกำลังกาย กลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงาน เน้นเรื่องการคัดกรองความดันเบาหวาน ดัชนีมวลกาย มีการเยี่ยมให้คำแนะนำผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นต้น มีปราชญ์ชาวบ้านในการทำไม้กวาด กรวยดอกไม้ ทอผ้ายกดอก

  16. ชุมชนสันป่ายางหน่อม มีครัวเรือน 68 ครัวเรือน ประชากร 260 คน ชาย 167 คน หญิง 215 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ผู้พิการ จำนวน 7 คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 30 คน มีอสม. 2 คน กิจกรรมที่ดำเนินงานด้านสุขภาพ อาทิเช่น การออกเยี่ยมบ้าน วัดความดันผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง มีการให้คำแนะนำการจัดบ้านเรือนให้สะอาด แนะนำการคัดแยกขยะ การกำจัดขยะมูลฝอย มีการสืบสานประเพณี การบวช ถวายเทียนพรรษา มีการให้คำแนะนำอาหารการกินที่มีประโยชน์และปลอดภัย รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

  17. ชุมชนประตูลี้ เป็นชุมชนขนาดกลาง มีครัวเรือน 139 ครัวเรือน มีประชากร 424คน ชาย 189 คน หญิง 235 คน มีประชากรแฝง กลุ่มจัดการสุขภาพ มีดังนี้ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเงินล้าน กลุ่มแม่ของแผ่นดิน ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม. และชมรมกวีล้านนา กิจกรรมที่ดำเนินงานในชุมชน อาทิเช่น กลุ่ม อสม.ออกคัดกรอง ค้นหา ผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ทุกวันที่ 2 ของเดือน เยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง มีอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมรำไม้พลอง รำไทเก๊ก กลุ่มเยาวชน จะเล่นตะกร้อ กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค แนะนำกินผักเชียงดาลดเบาหวาน คัดกรองผู้ป่วยความดันเบาหวาน รณรงค์คัดแยกขยะในชุมชน ร่วมประเพณีในวันสำคัญต่างๆ เฝ้าระวังยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่นตามวัดและในชุมชน สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มีการเยี่ยมผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ และผู้สูงอายุในชุมชนมักรวมกลุ่มกันทำควักหมาก ทำเครื่องสังฆทาน เป็นต้น

 

70 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
60.00 65.00

 

2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
30.00 25.00

 

3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
40.00 35.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 170
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ (2) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (3) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ประจำปี 2561 (2) สร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง เทศบาลเมืองลำพูน  ประจำปีงบประมาณ 2561 (3) สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2561

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ

รหัสโครงการ 61-L7236-1-02 ระยะเวลาโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

เกิดมาตรการทางสังคมในชุมชน

ชุมชนสวนดอก

เป็นแนวทางให้ชุมชนอื่นๆได้ปฏิบัติตาม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

เป็นการส่งเสริมคุณค่าภายในชุมชนโดยเฉพาะทางด้านจิตวิญญาณ

ชุมชนมหาวัน

ส่งเสริมให้ทราบคุณค่าของตนอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

กระบวนการทางสังคม

ชุมชนสวนดอก

กระตุ้นให้เกิดการต่อเกนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

เกิดบุคคลต้นเเบบด้านการออกกำลังกาย

ชุมชนมหาวัน

เป็นต้นเเบบให้กับชุมชนอื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

เกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชน

ชุมชนมหาวัน

เป็นต้นเเบบให้กับชุมชนอื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

มีการกำจัดขยะแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ชุมชนสวนดอก/ชุมชนจามเทวี

เป็นต้นเเบบให้กับชุมชนอื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

มาตรการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชุมชนสวนดอก

เป็นต้นเเบบให้กับชุมชนอื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

มาตรการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชุมชนสวนดอก

เป็นต้นเเบบให้กับชุมชนอื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

โครงการหมู่บ้านจัดการสุขภาพ จังหวัด ลำพูน

รหัสโครงการ 61-L7236-1-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด