กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน



บทคัดย่อ

โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ 2.) เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ และ 3.) เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ ผลการดำเนินโครงการพบว่า

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ และคณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในยุคสมัยที่คนเราเร่งรีบ รักความสะดวกสบาย หลายคนคงเคยชินกับการรับประทานอาหารกล่อง อาหารสำเร็จรูป เพราะสะดวก รวดเร็ว ประหยัด หาซื้อได้ง่าย โดยลืมคำนึงถึงสุขภาพ และด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ทำให้พ่อค้าแม่ขายต้องปรับตัวหาวิถีทางที่จะลดต้นทุน เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่ เน้น “อิ่ม-ถูก-เร็ว” ส่งผลให้อาหารประเภทข้าวกล่องแกงถุง กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ผู้คนให้ความสนใจในชีวิตประจำวัน โดยละเลยอันตรายต่อสุขภาพที่แฝงมากับวัสดุที่ใช้บรรจุอาหาร กล่องโฟม เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้บรรจุอาหารเมื่อนำมาใช้บรรจุอาหารร้อนและอาหารทอด น้ำมันจากอาหารจะเกิดปฏิกิริยากับโฟม ทำให้เกิดสารอันตรายปะปนออกมากับอาหาร สารเหล่านี้ ได้แก่ สารสไตรีน (styrene) และสารเบนซิน (benzene) สารสไตรีนที่เกิดขึ้นจะมีผลเสียต่อร่างกาย คือ ทำลายระบบฮอร์โมนในร่างกาย มีผลต่อระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับและไต เมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาหรือสูดดมเข้าไป ทำให้เยื่อเมือกเกิดการระคายเคือง มีอาการไอและหายใจลำบาก ปวดศีรษะ ง่วงซึม สำหรับสารเบนซิน จัดเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้สูดดมหรือรับประทานเข้าไป ในระยะแรกทำให้วิงเวียน คลื่นไส้หรือมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ อาเจียน ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นแรงและอาจเสียชีวิตได้ การได้รับสารเบนซินเป็นเวลานานจะมีผลทำให้โลหิตจาง (Anemia) เนื่องจากสารเบนซินจะเข้าไปทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยังมีอาหารประเภทที่ใช้น้ำมันในการทอดและเป็นอาหารยอดนิยม ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำมันสูงถึงประมาณ 1,000 ล้านลิตรต่อไป มีน้ำมันเหลือจากการทอดประมาณ 250-300 ล้านลิตรต่อปี และน้ำมันที่เหลือนี้เป็นต้นทางของ “น้ำมันทอดซ้ำ”แม้ในปัจจุบันคนไทยได้รับรู้ถึงพิษภัยของน้ำมันทอดซ้ำอย่างกว้างขวางแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างสิ้นเชิงเนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางรายนำน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำอย่างไม่เหมาะสม อันตรายของน้ำมันทอดซ้ำ น้ำมันที่ได้รับความร้อนสูงซ้ำแล้วซ้ำอีกจะมีการเสื่อมสภาพเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารโพลาร์ ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (ในควันที่เกิดจากน้ำมันทอดซ้ำ) ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้สารดังกล่าวจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่มีการทอดซ้ำ ฉะนั้นผู้ปรุงอาหารควรหลีกเลี่ยงอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ เช่น คาดผ้าปิดจมูกป้องกันไอระเหยของน้ำมัน ในครัวเรือนไม่ควรใช้น้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง ส่วนผู้ประกอบการควรเปลี่ยนน้ำมันให้บ่อยขึ้น ไม่ใช้ความร้อนสูงเกินไปในการทอด และหยุดให้ความร้อนทันทีหลังทอดอาหารเสร็จ เป็นต้นซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริโภคต้องตระหนักและดูแลสุขภาพของตนเอง โดยหยุดบริโภคอาหารจากร้านค้าที่ผู้ประกอบการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร แล้วหันมาบริโภคอาหารที่บรรจุในภาชนะทดแทนโฟมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ชานอ้อย เยื่อไผ่ มันสำปะหลัง ซึ่งทนต่อความร้อน ใช้กับอาหารที่มีไขมัน และอุ่นอาหารในไมโครเวฟได้ ย่อยสลายเร็วภายใน45 วันก็ย่อยสลายหมดแล้ว แตกต่างจากโฟมที่ต้องใช้เวลามากกว่า450ปี จึงจะย่อยสลายได้หมด หรือใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ซึ่งอาจไม่สะดวกในการพกพาแต่สามารถล้างทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้สำหรับพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ตำบลกำแพงมีจำนวนประชากรจำนวนมากและเป็นพื้นที่กว้างขวาง รวมทั้งมีร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนจำนวน 14 ร้าน มีทั้งร้านอาหารตามสั่ง และแผงลอย ที่อยู่ในชุมชน ส่วนใหญ่ยังใช้กล่องโฟมในการบรรจุอาหาร และขายอาหารประเภททอด จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน จึงได้มีการรณรงค์ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน โดยมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียนดำเนินการตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร พร้อมทั้งให้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและมอบป้าย“ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ” แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  2. 2 เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  3. 3 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ(จำนวน 2 ครั้ง)
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียน
  3. กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  4. กิจกรรมติดตามผล
  5. กิจกรรมมอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ” แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน
  6. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคในชุมชนมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  2. ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนเป็นร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  3. เกิดหมู่บ้านต้นแบบลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 3 ตรวจน้ำมันทอดซ้ำในร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
- ตรวจ/แนะนำ ร้านค้าที่จำหน่ายอาหารแต่ละประเภทและโรงอาหารในโรงเรียน
- ทดสอบน้ำมันทอดซ้ำก่อน-หลังการใช้  จำนวน  3  ครั้งและกรณีร้านค้าที่ยังไม่ผ่านการตรวจก็ดำเนินการลงตรวจซ้ำอีก
- น้ำมันที่เหลือจากการใช้แล้วเก็บรวบรวมจำหน่ายต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

 

30 0

2. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ(จำนวน 2 ครั้ง)

วันที่ 3 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ (จำนวน 2 ครั้ง)

  • คัดเลือกคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

  • สำรวจข้อมูลการใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชนและโรงเรียนเพิ่มเติม

  • ประชุม วิเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญ และวางแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

  • รายงาน สรุป ผลการตรวจร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน เพื่อหาแนวทางและวางแผนการดำเนินต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

 

20 0

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียน

วันที่ 27 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ร้านค้าในชุมชน แกนนำผู้บริโภคในชุมชน และแกนนำนักเรียน

2.1 อบรมให้ความรู้
- ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับกล่องโฟมบรรจุอาหาร อันตราย โทษ พิษภัย และผลกระทบต่อสุขภาพของกล่องโฟม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันทอดซ้ำ อันตราย โทษ พิษภัย และผลกระทบต่อสุขภาพ
- สอน/สาธิต การทดสอบน้ำมันทอดซ้ำในอาหาร
- คืนข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำให้ชุมชนและโรงเรียน

2.2 รณรงค์และประชาสัมพันธ์
- เดินรณรงค์ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน โดยกลุ่มแกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ
- แจกแผ่นผับให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำแก่ประชาชนในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

 

115 0

4. กิจกรรมมอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ” แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน

วันที่ 11 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • มอบป้าย “ร้านค้าปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ”  ในเวทีทั่วไป เพื่อเป็นตัวอย่างและขวัญกำลังใจให้แก่ร้านค้า
  • ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรในที่สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

 

30 0

5. กิจกรรมติดตามผล

วันที่ 20 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • เยี่ยมติดตามร้านค้าและโรงอาหารที่ได้ตรวจแนะนำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อตรวจสอบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการ
  • สุ่มประเมินผลการใช้บริการของผู้บริโภค เปรียบเทียบก่อน-หลัง ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ

 

30 0

6. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 20 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
80.00 85.22

 

2 2 เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
90.00 100.00

 

3 3 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
ตัวชี้วัด : - เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน
100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน และผู้บริโภคมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ 2.) เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียนเป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ และ 3.) เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ ผลการดำเนินโครงการพบว่า

การขับเคลื่อนการรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน ได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจร้านค้าและตรวจน้ำมันทอดซ้ำตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไข ป้องกัน เพื่อไม่ให้ร้านค้าในชุมชนกลับมาใช้โฟม หรือน้ำมันที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ โดยกิจกรรมตามโครงการได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำนักเรียน แกนนำผู้บริโภค ร้านค้า จำนวน 115 คน โดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม จำนวน 12 ข้อ พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมผู้เข้าร่วมมีคะแนนต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 59.13 คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และหลังการดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมผ่านเกณฑ์ได้คะแนนมากกว่า 6 คะแนน จำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 85.22 ซึ่งผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ หลักจากดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนได้จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ในชุมชน ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อน เดินรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และให้คำแนะนำแก่ร้านค้า และประชาชนในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักและให้ความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพ

กิจกรรมตรวจน้ำมันทอดซ้ำร้านค้า โรงอาหารในโรงเรียนในเขตหมู่ที่ 1 จำนวน 30 ร้าน โดยร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารจำนวน 16 ร้าน และร้านที่ขายอาหารตามสั่ง ข้าวแกง ลูกชิ้นทอด เป็นต้น จำนวน 14 ร้าน โดยสุ่มตรวจร้านค้าจำนวน 3 ครั้ง พบว่า ร้านค้าที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันรินทิพย์ น้ำมันล้อเขียว น้ำมันยี่ห้อผึ้ง เป็นต้น ซึ่งจากการตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันที่ผ่านการใช้แล้ว จำนวน 16 ร้านค้า โดยมีการแปลผลังนี้

  • ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20%  เป็นน้ำมันที่ใช้ได้

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 24%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์ไม่เกิน 25%      เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป

  • ค่าสารโพลาห์มากกว่า 25%      เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้

ครั้งที่ 1 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 12 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 75.00 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 4 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 25.00

ครั้งที่ 2 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 15 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 93.75 และสารโพลาร์ 24% จำนวน 1 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 6.25

ครั้งที่ 3 ค่าสารโพลาห์อยู่ในช่วง 9-20% จำนวน 16 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100

สำหรับร้านค้าที่ใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหาร ในการลงตรวจครั้งที่ 1 มีจำนวน 1 ร้าน คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ ทางผู้ประกอบการได้แจ้งว่า ถ้าใช้ภาชนะอย่างอื่นอาจมีราคาแพงและไม่เหมาะสมกับราคาที่ขาย ทำให้ต้องใช้ทุนเยอะ จากการลงตรวจร้านค้าครั้งที่ 2 ก็พบว่าผู้ประกอบการยังใช้โฟมบรรจุอาหารอยู่บ้าง โดยแจ้งว่ายังเหลือภาชนะโฟมที่ใช้บรรจุอาหารอยู่อีก ขอใช้ให้หมดก่อนจึงจะเปลี่ยนเป็นภาชนะอย่างอื่นที่ไม่ใช่โฟม และการลงตรวจครั้งที่ 3 พบว่าผู้ประกอบการเลิกใช้ภาชนะโฟมและใช้ภาชนะอย่างอื่นแทน

การติดตามผลจากการลงพื้นที่ตรวจแล้ว คณะกรรมการขับเคลื่อนได้ลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าเลิกใช้กล่องโฟมและไม่นำน้ำมันทอดซ้ำที่ใช้แล้วเกิน 2 ครั้ง มาใช้ซ้ำ และคณะกรรมการขับเคลื่อนได้มอบป้าย "ร้านค้าปลอดโพมและน้ำมันทอดซ้ำ" ให้แก่ร้านค้าที่ผ่านการตรวจประเมิน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ
  1. การเข้าร่วมอบรมของกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมกิจกรรมล่าช้า เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลาย และการประกอบอาชีพของแต่ละคน แต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

  2. ระยะเวลาในการลงตรวจร้านค้ามีความกระชันชิดจนเกินไป เนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมมาล่าช้าจึงจำเป็นต้องดำเนินการลงตรวจติดต่อกัน เพื่อไม่ให้การรายงานผลเลยเวลาที่กำหนด

 

  1. คณะกรรมการขับเคลื่อนในชุมชนควรดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการรณรงค์หมู่บ้านปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

  2. การลงติดตามร้านค้าในชุมชนและโรงอาหารในโรงเรียน คณะกรรมการขับเคลื่อนร่วมกับเจ้าหน้าที่ลงติดตามพร้อมให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

  3. การศึกษาครั้งต่อไปน่าจะศึกษาเกี่ยวกับยี่ห้อของน้ำมันที่ร้านค้าที่ใช้ในการปรุงอาหาร และน้ำมันบางยี่ห้อใช้แค่ครั้งเดียวก็ทำให้สีของน้ำมันเปลี่ยนไปและไม่สามารถใช้ซ้ำได้อีก


โครงการชุมชนปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ หมู่ที่ 1 บ้านควนไสน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด