กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัว ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ

ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัว

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 11 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัว จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัว



บทคัดย่อ

รายงานการสรุปผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพสานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัวโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดจำนวนผู้เสพติดรายเก่าและผู้เสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในโรงเรียนและชุมชน

  2. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

  3. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

  4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว

กิจกรรมดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว

สรุปผลการประเมิน

ปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบทำให้เกิดความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง สำหรับพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ยังพบปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเยาวชนในชุมชนยังมีการดื่มน้ำกระท่อมอยู่เป้นจำนวนมาก ซึ่งยากต่อการแก้ไข ในส่วนของโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ จากการตรวจสอบและติดตามนักเรียน ไม่พบนักเรียนในโรงเรียนที่ดื่มน้ำกระท่อม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้ โรงเรียนก็ได้ดำเนินการรณรงค์และป้องกันเพื่อไม่ให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะในพื้นที่หมู่ที่ 6 นับว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งนอกจากโรงเรียนแล้ว ครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยสอดส่องดูแลบุตรหลาน รวมทั้งชุมชนก็ต้องมีมาตรการของชุมชน เพื่อที่จะให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว โดยการนำศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและดำเนินชีวิต ใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 20 ข้อ จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 67.66 ก่อนเข้ารับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย 38.43 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดของกิจกรรมนี้ ที่ตั้งไว้มีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ผลที่ได้ก็เป็นไปในจทางเดียวกัน

ส่วนกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

ฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันอุดรอยรั่วของขวดน้ำ สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจ การใช้จ่าย หากครอบครัวช่วยกันหาเงินก็เหมือนกับการเติมน้ำให้เต็ม และใช้จ่ายอย่างประหยัด

ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก ให้สมาชิกในครอบครัวร่วมกันปลูกพืชผัก โดชใช้ภาชนะเหลือใช้ในการปลูก

ฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน เป็นฐานสร้างจินตนาการของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อสร้างฐานของบ้านให้เข้มแข็ง

ผลการดำเนินกิจกรรมฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 พบว่า ผู้เข้าร่วมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 93.50 ซึ่งฐานเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยมีการทำกิจกรรมระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การประเมินผลฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาร้อยละ 78.25 ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก มีระดับความรู้และทักษะ ร้อยละ 90.16 และฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน มีระดับความรู้และสร้างจินตนาการ ร้อยละ 89.00 ผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละฐาน ความรู้จะสะท้องถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฉะนั้น การเสริมสร้าง สนับสนุนให้คนภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความสุข

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ จัดแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครู ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล และกีฬาพื้นบ้านต่างๆ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 96.80 มีความพึงพอใจและเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวและโรงเรียน

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว โดยครูผู้รับผิดชอบรายชั้นเรียนติดตามเยี่ยมนักเรียนเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือนนักเรียนจำนวน 119 คน จากการลงเยี่ยมประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ไม่พบนักเรียนที่ติดน้ำกระท่อม แต่สภาพของครอบครัวส่วนใหญ่พ่อแม่แยกกันอยู่ ร้อยละ 40 พ่อแม่ออกไปทำงานต่างจังหวัดต้องอาศัยอยู่กับญาติ ร้อยละ 12 ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของครอบครัวที่เกิดขึ้นภายในชุมชนหมู่ที่ 6 ที่ยากต่อการแก้ไข ทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนหลายๆด้าน จากการพูดคุยพบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า บางกลุ่มรวมตัวกันเตะฟุตบอล ไปร้านเกมส์ บางคนชอบขับมอเตอร์ไซต์เล่นภายในหมู่บ้าน และมีนักเรียนบางส่วนเท่านั้นที่ทบทวนบทเรียน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มของเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ติดน้ำกระท่อม ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เด็กบางคนอาจถูกชักจูงหรืออยากรู้ อยากลอง ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ปกครองบางครัวเรือนก็ไม่สามารถรับปากได้เลยว่าจะแก้ปัญหานี้ภายในครอบครัวได้อย่างไร เพราะปัญหาเหล่านี้ยิ่งเยอะขึ้นทุกวัน และได้แนะนำให้ทางโรงเรียนได้ช่วยเป้นหูเป็นตา และมีมาตรการของโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้และหมดไปจากชุมชน

สำหรับการติดตามนักเรียนหลังเรียนจบการศึกาาจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ผู้ปกครองบางรายก็ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน กลัวว่าลูกหลานจะเรียนไม่จบ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันสภาพสังคมไทยมีการเปลี่ยนทางสังคมเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก มีความเจริญทางด้านวัตถุ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเกิดค่านิยมใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้นซึ่งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตั้งแต่ระดับประเทศลงมาสู่ชุมชน ครอบครัว ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในสังคมปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหายาเสพติดถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติที่อยากต่อการแก้ไข แล้วส่งผลกระทบหลายๆ ด้าน ทั้งด้านชุมชน โรงเรียน ครอบครัว และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบที่ไม่ดีทั้งประเทศและชุมชน สถานการณ์ยาเสพติดหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีผู้เสพยาเสพติดประเภทที่ 5คือ น้ำกระท่อม จำนวน 25 คน จากจำนวนเด็กและเยาวชน จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการถูกชักชวน อาจจะเกิดจากเพื่อนสนิทที่กำลังติดยาและอยากจะให้เพื่อนลองบ้าง ปัญหานี้มักจะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวขาดความอบอุ่น ใจแตก เอาเพื่อนเป็นที่พึ่ง เป็นต้น ซึ่งโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูลมีสภาพปัญหาเช่นนี้ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจนักเรียนทั้งหมดจำนวน 119 คน พบปัญหาพ่อแม่แยกกันอยู่ ร้อยละ 38.08 ออกไปทำงานต่างจังหวัดให้ลูกอาศัยอยู่กับญาติ ปู่ตา ตายาย ร้อยละ 10.71 พ่อแม่เสียชีวิต ร้อยละ 2.38 และเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและพบปัญหายาเสพติด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสถาบันครอบครัว ที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาได้อยู่กับลูก และเด็กจะไม่ค่อยเชื่อฟังพ่อแม่รวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบๆ ชุมชน มีการชักชวนกันในกลุ่มเพื่อน อยากรู้อยากลอก บางกลุ่มเป็นนักเรียนชั้นประถมที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของชาติ มาตรการสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ บทบาทของสถาบันทางสังคมไทยในระดับรากหญ้า ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัวที่พ่อแม่ควรเอาใจใส่เป็นอย่างมากและปลูกฝังนิสัยที่ดีให้กับลูก สถาบันชุมชนถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสอดส่องดูแลประชาชนในชุมชนไม่ให้ไปมั่วสุ่มหรือเป็นสถานที่จำหน่ายสถาบันโรงเรียนครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสถาบันศาสนา โดยนำศาสนาเป็นส่วนข้องเกี่ยวในการยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากสภาพปัญหาและความสำคัญดังกล่าว โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัวนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเน้นกิจกรรมการอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้กับสมาชิกในครอบครัวในการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อ แม่ และลูก โดยจัดเป็นฐานการเรียนรู้ที่สื่อถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่ ฐานพ่อแม่ลูกปลูกรัก ฐานอุดรอยรั่ว ฐานครอบครัวในฝันเป็นต้น และส่งเสริมกิจกรรมทางกายสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวกับโรงเรียน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเป็นการสร้างความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีการจัดแข่งขันกีฬาระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครองในชุมชน เช่น กีฬาฟุตบอล วอลเล่ย์บอล และกีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1 เพื่อลดจำนวนผู้เสพติดรายเก่าและผู้เสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในโรงเรียนและชุมชน
  2. 2 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
  3. 3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว
  4. 4 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน
  2. กิจกรรมส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์
  3. กิจกรรมติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว
  4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 119
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถลดปริมาณผู้เสพติดรายเก่า และไม่มีผู้เสพติดรายใหม่ในชุมชนและโรงเรียน
  2. นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
  3. ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
  4. นักเรียน ผู้ปกครอง และครู ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน

วันที่ 13 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางการป้องกันและแก้ไข เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว โดยการนำศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและการดำเนินชีวิต

1.2 สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

        - ฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันอุดรอยรั่วของขวดน้ำ สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจ การใช้จ่าย หากครอบครัวช่วยกันหาเงินก็เหมือนกับการเติมน้ำให้เต็ม และใช้จ่ายอย่างประหยัด

        - ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก ให้สมาชิกในครอบครับร่วมกันปลูกพืชผัก โดยใช้ภาชนะเหลือใช้ในการปลูก

        - ฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน เป็นฐานสร้างจินตนาการของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อสร้างฐานของบ้านให้เข้มแข็ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว โดยการนำศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและดำเนินชีวิต ใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 20 ข้อ จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 67.66 ก่อนเข้ารับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย 38.43 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดของกิจกรรมนี้ ที่ตั้งไว้มีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ผลที่ได้ก็เป็นไปในจทางเดียวกัน

ส่วนกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

ฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันอุดรอยรั่วของขวดน้ำ สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจ การใช้จ่าย หากครอบครัวช่วยกันหาเงินก็เหมือนกับการเติมน้ำให้เต็ม และใช้จ่ายอย่างประหยัด

ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก ให้สมาชิกในครอบครัวร่วมกันปลูกพืชผัก โดชใช้ภาชนะเหลือใช้ในการปลูก

ฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน เป็นฐานสร้างจินตนาการของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อสร้างฐานของบ้านให้เข้มแข็ง

ผลการดำเนินกิจกรรมฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 พบว่า ผู้เข้าร่วมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 93.50 ซึ่งฐานเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยมีการทำกิจกรรมระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การประเมินผลฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาร้อยละ 78.25 ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก มีระดับความรู้และทักษะ ร้อยละ 90.16 และฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน มีระดับความรู้และสร้างจินตนาการ ร้อยละ 89.00 ผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละฐาน ความรู้จะสะท้องถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฉะนั้น การเสริมสร้าง สนับสนุนให้คนภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความสุข

 

269 0

2. กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

วันที่ 14 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล และกีฬาพื้นบ้าน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และท้องถิ่น
  2. จัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง โดยผู้ปกครองจัดนำอาหารจากครัวเรือนมารับประทานร่วมกัน
  3. จัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬารายครอบครัว เพื่อสร้างความสัมพันธ์
  4. จัดให้มีการแสดงออกถึงความรู้สึก ความห่วงใย ระหว่างเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ จัดแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครู ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล และกีฬาพื้นบ้านต่างๆ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 96.80 มีความพึงพอใจและเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวและโรงเรียน

 

269 0

3. กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว

วันที่ 1 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. มอบหมายให้ครูผู้รับผิดชอบรายชั้นเรียนติดตามเยี่ยมนักเรียนเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือนอย่างน้อยเทอมละ 1 ครั้ง

  2. มอบหมายให้ครูผู้รับผิดชอบติดตามผลนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนควนฟ้าแลบ เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือน ปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว โดยครูผู้รับผิดชอบรายชั้นเรียนติดตามเยี่ยมนักเรียนเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือนนักเรียนจำนวน 119 คน จากการลงเยี่ยมประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ไม่พบนักเรียนที่ติดน้ำกระท่อม แต่สภาพของครอบครัวส่วนใหญ่พ่อแม่แยกกันอยู่ ร้อยละ 40 พ่อแม่ออกไปทำงานต่างจังหวัดต้องอาศัยอยู่กับญาติ ร้อยละ 12 ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของครอบครัวที่เกิดขึ้นภายในชุมชนหมู่ที่ 6 ที่ยากต่อการแก้ไข ทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนหลายๆด้าน จากการพูดคุยพบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า บางกลุ่มรวมตัวกันเตะฟุตบอล ไปร้านเกมส์ บางคนชอบขับมอเตอร์ไซต์เล่นภายในหมู่บ้าน และมีนักเรียนบางส่วนเท่านั้นที่ทบทวนบทเรียน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มของเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ติดน้ำกระท่อม ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เด็กบางคนอาจถูกชักจูงหรืออยากรู้ อยากลอง ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ปกครองบางครัวเรือนก็ไม่สามารถรับปากได้เลยว่าจะแก้ปัญหานี้ภายในครอบครัวได้อย่างไร เพราะปัญหาเหล่านี้ยิ่งเยอะขึ้นทุกวัน และได้แนะนำให้ทางโรงเรียนได้ช่วยเป้นหูเป็นตา และมีมาตรการของโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้และหมดไปจากชุมชน

สำหรับการติดตามนักเรียนหลังเรียนจบการศึกาาจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ผู้ปกครองบางรายก็ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน กลัวว่าลูกหลานจะเรียนไม่จบ

 

9 0

4. กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำรูปเล่มรายงาน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1 เพื่อลดจำนวนผู้เสพติดรายเก่าและผู้เสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด : - จำนวนผู้ติดยาเสพติดรายเก่าในเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะน้ำกระท่อม ในชุมชนและโรงเรียน ลดลง ร้อยละ 80 - ไม่มีผู้เสพติดยาเสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในชุมชน และโรงเรียน โดยเฉพาะน้ำกระท่อม
80.00 100.00

 

2 2 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
ตัวชี้วัด : - นักเรียน และผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00 67.66

 

3 3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของครอบครัวเกิดการเรียนรู้และร่วมทำกิจกรรมตามฐานสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
80.00 93.50

 

4 4 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว
ตัวชี้วัด : - ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีความความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
90.00 96.80

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 119 119
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 119 119
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

รายงานการสรุปผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพสานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัวโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป มีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดจำนวนผู้เสพติดรายเก่าและผู้เสพติดหน้าใหม่ในเด็กและเยาวชน ในโรงเรียนและชุมชน

  2. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา

  3. เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว

  4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว

กิจกรรมดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว

สรุปผลการประเมิน

ปัญหายาเสพติดเป็นวาระสำคัญของชาติ ส่งผลกระทบทำให้เกิดความเดือดร้อน ความทุกข์ยากของประชาชนและการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง สำหรับพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ยังพบปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งเยาวชนในชุมชนยังมีการดื่มน้ำกระท่อมอยู่เป้นจำนวนมาก ซึ่งยากต่อการแก้ไข ในส่วนของโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ จากการตรวจสอบและติดตามนักเรียน ไม่พบนักเรียนในโรงเรียนที่ดื่มน้ำกระท่อม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้ โรงเรียนก็ได้ดำเนินการรณรงค์และป้องกันเพื่อไม่ให้นักเรียนเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะในพื้นที่หมู่ที่ 6 นับว่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งนอกจากโรงเรียนแล้ว ครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องคอยสอดส่องดูแลบุตรหลาน รวมทั้งชุมชนก็ต้องมีมาตรการของชุมชน เพื่อที่จะให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากหมู่บ้าน

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่ ผู้ปกครองและนักเรียน ให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว โดยการนำศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและดำเนินชีวิต ใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม จำนวน 20 ข้อ จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 67.66 ก่อนเข้ารับการอบรม มีคะแนนเฉลี่ย 38.43 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่ผ่านตัวชี้วัดของกิจกรรมนี้ ที่ตั้งไว้มีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ผลที่ได้ก็เป็นไปในจทางเดียวกัน

ส่วนกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการจัดเป็นฐานการเรียนรู้ ดังนี้

ฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ให้สมาชิกในครอบครัวช่วยกันอุดรอยรั่วของขวดน้ำ สะท้อนถึงปัญหาเศรษฐกิจ การใช้จ่าย หากครอบครัวช่วยกันหาเงินก็เหมือนกับการเติมน้ำให้เต็ม และใช้จ่ายอย่างประหยัด

ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก ให้สมาชิกในครอบครัวร่วมกันปลูกพืชผัก โดชใช้ภาชนะเหลือใช้ในการปลูก

ฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน เป็นฐานสร้างจินตนาการของสมาชิกในครอบครัว การรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เพื่อสร้างฐานของบ้านให้เข้มแข็ง

ผลการดำเนินกิจกรรมฐานการเรียนรู้ทั้ง 3 พบว่า ผู้เข้าร่วมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 93.50 ซึ่งฐานเรียนรู้ทั้ง 3 ฐาน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยมีการทำกิจกรรมระหว่างเด็กและผู้ปกครอง การประเมินผลฐานที่ 1 อุดรอยรั่ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะในการแก้ปัญหาร้อยละ 78.25 ฐานที่ 2 พ่อแม่ลูกปลูกรัก มีระดับความรู้และทักษะ ร้อยละ 90.16 และฐานที่ 3 ครอบครัวในฝัน มีระดับความรู้และสร้างจินตนาการ ร้อยละ 89.00 ผลการดำเนินกิจกรรมแต่ละฐาน ความรู้จะสะท้องถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฉะนั้น การเสริมสร้าง สนับสนุนให้คนภายในครอบครัวถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความสุข

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ จัดแข่งขันกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก ผู้ปกครองและครู ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล และกีฬาพื้นบ้านต่างๆ จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 96.80 มีความพึงพอใจและเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวและโรงเรียน

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมนักเรียนและครอบครัว โดยครูผู้รับผิดชอบรายชั้นเรียนติดตามเยี่ยมนักเรียนเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และสถานการณ์ยาเสพติดรายครัวเรือนนักเรียนจำนวน 119 คน จากการลงเยี่ยมประเมินความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ไม่พบนักเรียนที่ติดน้ำกระท่อม แต่สภาพของครอบครัวส่วนใหญ่พ่อแม่แยกกันอยู่ ร้อยละ 40 พ่อแม่ออกไปทำงานต่างจังหวัดต้องอาศัยอยู่กับญาติ ร้อยละ 12 ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของครอบครัวที่เกิดขึ้นภายในชุมชนหมู่ที่ 6 ที่ยากต่อการแก้ไข ทำให้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนหลายๆด้าน จากการพูดคุยพบปะกับผู้ปกครองหรือญาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า บางกลุ่มรวมตัวกันเตะฟุตบอล ไปร้านเกมส์ บางคนชอบขับมอเตอร์ไซต์เล่นภายในหมู่บ้าน และมีนักเรียนบางส่วนเท่านั้นที่ทบทวนบทเรียน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มของเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่ติดน้ำกระท่อม ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เด็กบางคนอาจถูกชักจูงหรืออยากรู้ อยากลอง ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ปกครองบางครัวเรือนก็ไม่สามารถรับปากได้เลยว่าจะแก้ปัญหานี้ภายในครอบครัวได้อย่างไร เพราะปัญหาเหล่านี้ยิ่งเยอะขึ้นทุกวัน และได้แนะนำให้ทางโรงเรียนได้ช่วยเป้นหูเป็นตา และมีมาตรการของโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้และหมดไปจากชุมชน

สำหรับการติดตามนักเรียนหลังเรียนจบการศึกาาจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลป พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา แต่ผู้ปกครองบางรายก็ยังเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในชุมชน กลัวว่าลูกหลานจะเรียนไม่จบ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

1.การมาร่วมกิจกรรมของผู้ปกครองอาจล่าช้า เพราะบางคนเดินทางมาไม่สะดวก และการประกอบอาชีพของผู้ปกครองบางท่านไม่สามารถลางานได้ แต่ก็ให้ได้ญาติมาแทน

 

  1. อยากให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการช่วยป้องกันและส้รางความเข้าใจให้นักเรียนห่างไกลยาเสพติด

โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์สายใยรักในครอบครัว จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2561 - L8010 - 2 - 11

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด