กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน


“ โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561 ”

ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางจิราภรณ์ เจ๊ะอาแซ

ชื่อโครงการ โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561

ที่อยู่ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2492-1-29 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 31 พฤษภาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L2492-1-29 ระยะเวลาการดำเนินงาน 31 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 48,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกเคียน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ๑๕.๑๕ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๖๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๕๐.๕๑ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดาคลอดที่บ้าน ร้อยละ ๒.๐๑ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย ทั้งนั้นพบปัญหาว่าผู้ปกครองพาเด็กไปรับวัคซีนไม่ครบ ซึ่งส่งผลเสียต่อเด็กจึงเห็นว่าสมควรจัดให้มีโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์อายุ เพื่อให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันครบตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีภูมิคุ้มกันที่ดีสุขภาพแข็งแรง ผลการดำเนินงานงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ที่ผ่านมา ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๑ ปี ร้อยละ ๗๘.๘๖ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๕) ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๒ ปี ร้อยละ๖๐.๘๗ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๓ ปี ร้อยละ๘๐.๖๘ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)ความครอบคลุมของเด็กที่ได้รับวัคซีนครบอายุ ๕ ปี ร้อยละ๒๘.๗๘ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๙๐)โดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง  และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๖ ปี) จะพบว่าพื้นที่เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบือราเป๊ะ ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา  มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ๕๑ คน จากเด็กทั้งหมด ๕๖๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๑ น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ ๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๗๑ ซึ่งตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ ๗ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากการสุ่มสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กอายุ ๑๘ เดือน มีฟันผุร้อยละ ๑๓.๘๐ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๒๐) กลุ่มเด็กอายุ ๓-๕ ปี มีฟันผุร้อยละ ๕๗.๗๙ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๕๐) แสดงให้เห็นว่า โรคฟันผุเกิดในทุกกลุ่มวัย ซึ่งถ้าไม่ได้รับการป้องกันและการรักษาหรือหยุดหยุดยั้งโรคก็จะลุกลามนำไปสู่การสูญเสียฟันต่อไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคในช่องปากเป็นปัญหาค่อนข้างสูง คือการเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมมากนัก การไม่ใส่ใจในการดูแล ป้องกันโรคในช่องปากของตนเองเมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงจึงมาหาหมอเพื่อทำการรักษา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมโครงการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
  2. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งกลุ่ม
  3. ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกของเจ้าหน้าที่อสม. และแกนนำในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 170
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. วิเคราะห์ข้อมูลด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชนเขตรับผิดชอบ ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินงาน ๓. เขียนโครงการ ๔. ดำเนินการอบรมตามโครงการฯ     - อบรมให้ความรู้การปฏิบัติตัว การวางแผนครอบครัว สุขศึกษาในหญิงตั้งครรภ์
    - อบรมให้ความรู้โภชนาการ พัฒนาการ สุขศึกษาให้ผู้ปกครองเด็ก อายุ ๐ – ๕ ปี     - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน - สาธิตอาหารให้แก่ผู้ปกครองเด็ก ๕. มีการบริการเชิงรุกโดยเจ้าหน้าที่และ อสม. ตามแผนดังตารางนี้ วันที่ 2 ก.ค. 2561 อสม ม.๑ หมู่ที่ ๑ วันที่ 3 ก.ค. 2561 อสม ม.๒ หมู่ที่ ๒ วันที่ 4 ก.ค. 2561 อสม ม.๓ หมู่ที่ ๓ วันที่ 5 ก.ค. 2561 อสม ม.๗ หมู่ที่ ๗ วันที่ 6 ก.ค. 2561 อสม ม.๘ หมู่ที่ ๘ วันที่ 9 ก.ค. 2561 อสม ม.๙ หมู่ที่ ๙ วันที่ 10 ก.ค. 2561 อสม ม.๑๓ หมู่ที่ ๑๓ ๖. วิเคราะห์และสรุปโครงการ ๗. ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่อไป


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมโครงการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก

วันที่ 13 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

-ค่าวิทยากรอบรม 600.บ.x 1คน x 5ชม. = 3,000 บ. -ค่าอาหารกลางวัน 50บ. x 170 คน = 8,500 บ. -ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บ.x 170 คน = 8,500 บ. -ค่าวัสดุ = 17,000 บ.(กระเป๋าผ้า 70 บาท x 170 = 11,900 บ. สมุด เล่มละ 20 บาท x 170 = 3,400 บ. ปากกา 10 บาท x 170 = 1,700 บ.) -ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.2x3 เมตร จำนวน1ผืน X 900 = 900  บ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมมายมีความรู้ความเข้าใจ

 

170 0

2. ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งกลุ่ม

วันที่ 13 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ค่าวิทยากรกลุ่มให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 4 กลุ่มๆ ละ 2 คน จำนวน 8 คนๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง = 2,400 บาท
  • ค่าวัสดุสาธิตอาหาร   1.เนื้ออกไก่ 7x80 = 560 บาท   2.เครื่องในไก่ 5x80 = 400บาท   3.ปลาทู 8x70 = 560 บาท   4.ไข่ไก่ 7 แผงๆ ละ 90 บาท = 630 บาท   5.ถั่วเขียวผ่าซีก 3 กก. ๆ ละ 80 บาท = 240 บาท   6.แป้งสาลี 4 กก.ๆ ละ 28 บาท = 112 บาท   7.ซีอิ้วขาวเด็กสมบูรณ์ 3 ขวดๆ ละ 36 บาท = 108 บาท   8.น้ำปลาทิพรส 2 ขวดๆ ละ 30 บาท = 60 บาท   9.น้ำตาลทรายแดงมิตรผล 5 กก.ๆ ละ 35 บาท = 175 บาท   10.เกลือปรุงทิพย์ 2 ถุงๆ ละ 3 บาท = 6 บาท   11.หอมใหญ่ 3 กก.ๆ 60 บาท = 180 บาท   12.กระเทียม 2 กก.ๆ ละ 60 บาท = 120 บาท   13.หอมแดง 2 กก.ๆ ละ 50  บาท = 100 บาท   14.น้ำมันองุ่น ขนาด 1900 กรัม 3 ขวดๆ ละ 99 บาท = 297 บาท   15.ฟักทอง 4 กก.ๆ ละ 28 บาท บาท   16.ข้าวโพด 5 กก.ๆ ละ 60 บาท = 300 บาท   17.มะเขือเทศ 2 กก.ๆ ละ 20 บาท = 40 บาท รวมเป็นเงิน 4,000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ

 

170 0

3. ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกของเจ้าหน้าที่อสม. และแกนนำในชุมชน

วันที่ 21 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  • ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัด และมีภาวะเสี่ยง
  • ติดตามเด็กที่ขาดภาวะเสี่ยง
  • ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็ก

โดยมีค่าอาหารและเครื่องดื่มออกปฏิบัติงานเชิงรุก 75 บาท x 60 คน = 4,500 บ.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • หญิงตั้งครรภ์ ลดภาวะเสี่ยงจากการภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ น้อยกว่า ร้อยละ 10
  • ผู้ปกครองเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวัคซีน โภชนาการและพัฒนาการในเด็ก และทันตกรรมในเด็ก ร้อยละ 90

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์
ตัวชี้วัด : จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
2272.00 2275.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 170
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 170
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมโครงการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (2) ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งกลุ่ม (3) ดำเนินการคัดกรองเชิงรุกของเจ้าหน้าที่อสม. และแกนนำในชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก ปี 2561 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2492-1-29

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางจิราภรณ์ เจ๊ะอาแซ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด