กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายอับดุลราหมาน เส็นทุ่ย

ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 35,855.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุสูงกว่าร้อยละ ๑๐ และในปี ๒๕๗๘ สัดส่วนของผู้สูงอายุจะสูงถึงร้อยละ ๒๕.๑ (สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ) ด้วยเหตุนี้กลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่ม ที่ควรจะได้รับการส่งเสริมสุขภาพอย่างยิ่ง เนื่องจากถ้าได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้อง ผู้สูงอายุเหล่านี้นอกจาก จะไม่เป็นภาระแล้ว ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุจะช่วยค้ำจุนสังคม และยังเป็นเสาหลักของสังคมได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันทุกองค์กรให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น รวมทั้งมีการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ และลดภาวะพึ่งพิงผู้อื่นให้น้อยที่สุด
ผู้สูงอายุที่อยู่ในความรับผิดชอบ (สัปบุรุษ) ของมัสยิดยามีอุลอิควานมีทั้งสิ้น ๗๘ คน จากจำนวนประชากร ๘๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๙.๖๘ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผลจากการดำเนินงานโครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุในรอบปีที่ผ่านมา พบว่าหลังการเข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุมีระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ/พฤติกรรมการกิน/พฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ และพบว่าผู้สูงอายุทุกครัวเรือนมีการปลูกผัก/สมุนไพร ไว้กินเองในครัวเรือน นอกจากนี้ยังพบว่าหลังเข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุมีระดับความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ รวมทั้งผู้สูงอายุสามารถคัดแยกขยะในครัวเรือนของตนเองได้เป็นประจำร้อยละ ๙๖.๖๗ ที่สำคัญพบว่าผู้สูงอายุทุกคนมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และอยากให้มีการจัดโครงการนี้ขึ้นอีก เพื่อเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้สูงอายุจึงมีแนวคิดในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง การทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ และการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับวัย ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดการรวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ และที่สำคัญสุดคือการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ชมรมผู้สูงอายุมัสยิดยามี -อุลอิควานจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
  2. ๒. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ 67
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ๒. ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง มีขวัญกำลังใจ และได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุและอาหารที่เหมาะสมกับวัย

    วันที่ 25 เมษายน 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๖๐ คน โดยมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงที่ใกล้เคียงกันคือจำนวน ๒๘ คน และ ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๗ และร้อยละ ๕๓.๓๓ ตามลำดับ ช่วงอายุ  ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๖๑-๗๐ ปี จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๐ รองลงมาคือช่วงอายุ ๗๑-๘๐ ปี จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๑๐ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๓๐ รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๗๐ อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗๐ รองลงมาคืออาชีพแม่บ้าน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐ รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ๐ - ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๔๐ รองลงมามีรายได้อยู่ในช่วง ๕,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๒๐  ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๕ ผู้สูงอายุควรงดการใช้แรงกาย และต้องพักผ่อนมากๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๓.๓๓ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๑๔ ปลาเค็ม, ปลาส้ม, ปลาพอง ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๖.๖๗ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือข้อคำถามที่ ๑๕ โปรตีนจากเนื้อปลาเหมาะที่จะนำมาประกอบอาหารให้กับผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ ๑.๖๖

     

    0 60

    2. ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน

    วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้สูงอายุทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน ซึ่งในแต่ละครัวเรือนผู้สูงอายุจะปลูกผัก/สมุนไพร มากกว่าหนึ่งชนิด โดยผัก/สมุนไพรที่นิยมปลูก ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกสด ขมิ้น และมะกรูด ซึ่งในการปลูกผัก/สมุนไพรนั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่ มูลวัว และมูลแพะ) และบางครัวเรือนมีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

     

    0 0

    3. เยี่ยมประเมิน/ติดตาม

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ในพื้นที่มีทั้งหมด ๖ คน ได้ทำการออกเยี่ยมติดตามจำนวน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมประเมินครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งสองครั้ง

     

    10 6

    4. ติดตามและประเมินผล

    วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง    พึงพอใจในเรื่องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ ร้อยละ ๙๖.๖๗ รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ ร้อยละ ๙๓.๔๒

     

    65 65

    5. การจัดทำรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 30 กันยายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรูปเล่มรายงาน

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    จากการจัดโครงการพบว่า มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ๖๐ คน โดยมีสัดส่วนของเพศชายและเพศหญิงที่ใกล้เคียงกันคือจำนวน ๒๘ คน และ ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๖๗ และร้อยละ ๕๓.๓๓ ตามลำดับ ช่วงอายุ  ที่มีผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๖๑-๗๐ ปี จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๕.๒๐ รองลงมาคือช่วงอายุ ๗๑-๘๐ ปี จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๑๐ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาหรือน้อยกว่า จำนวน ๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๓๐ รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๗๐ อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๗๐ รองลงมาคืออาชีพแม่บ้าน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๐๐ รายได้ต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง ๐ - ๕,๐๐๐ บาท จำนวน ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๔๐ รองลงมามีรายได้อยู่ในช่วง ๕,๐๐๑ – ๑๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๒๐ ๑.๑  การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม / การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ  กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ และอาหารที่เหมาะสมกับวัย         ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๕ ผู้สูงอายุควรงดการใช้แรงกาย และต้องพักผ่อนมากๆ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๑๓.๓๓ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๑๔ ปลาเค็ม, ปลาส้ม, ปลาพอง ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓๖.๖๗ เป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือข้อคำถามที่ ๑๕ โปรตีนจากเนื้อปลาเหมาะที่จะนำมาประกอบอาหารให้กับผู้สูงอายุ เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ ๑.๖๖ ๑.๒  การเยี่ยมติดตามแปลงผักของผู้สูงอายุ       จากการเยี่ยมติดตามแปลงผักของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุทุกครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน ซึ่งในแต่ละครัวเรือนผู้สูงอายุจะปลูกผัก/สมุนไพร มากกว่าหนึ่งชนิด โดยผัก/สมุนไพรที่นิยมปลูก ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกสด ขมิ้น และมะกรูด ซึ่งในการปลูกผัก/สมุนไพรนั้น ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ (มูลไก่ มูลวัว และมูลแพะ) และบางครัวเรือนมีการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง


    ๑.๓  การออกเยี่ยมประเมิน/เยี่ยมติดตาม ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง       ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ในพื้นที่มีทั้งหมด ๖ คน ได้ทำการออกเยี่ยมติดตามจำนวน ๒ ครั้ง ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมประเมินครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งสองครั้ง ๑.๔  การประเมินความพึงพอใจ       ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๐ คน พบว่า ๑. ด้านการบริการของคณะดำเนินการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่อง การแต่งกายของคณะดำเนินงานมากที่สุด ร้อยละ๙๕.๓๒ รองลงมาคือ การต้อนรับ ร้อยละ ๙๕.๐๐ ๒. ด้านวิทยากร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่องการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมากที่สุดร้อยละ ๙๔.๔๘ รองลงมาคือ การใช้ภาษาที่เหมาะสม เข้าใจง่าย ร้อยละ ๙๓.๐๔ ๓. ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่องความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ ๙๕.๑๓ รองลงมาคือ สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสม ร้อยละ ๙๕.๐๐ ๔. ด้านการนำความรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่ง    พึงพอใจในเรื่องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ ร้อยละ ๙๖.๖๗ รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ ร้อยละ ๙๓.๔๒ โดยสรุปพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือระดับมาก

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑. เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองได้ เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

     

    2 ๒. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการเยี่ยมติดตาม/เยี่ยมบ้าน และการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึง ร้อยละ ๑๐๐

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 67
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ 67
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อฟื้นฟูองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ดูแลผู้สูงอายุ (2) ๒. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และออกเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการร่วมใจดูแลผู้สูงอายุ หมู่ที่ 4 บ้านควนใหญ่ จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอับดุลราหมาน เส็นทุ่ย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด