กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
โรงเรียนบ้านท่าแลหลา

ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L8010-2-13 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม



บทคัดย่อ

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกายและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน จำนวนทั้งหมด 150 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและนักเรียนก้ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผักรับประทานเองด้วย อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน จำนวน 150 คน มาร่วมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกายด้วยกันในทุกเย็นวันอังคาร และสุดท้ายเพื่อให้นักเรียนและคณะครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู จำนวน 111 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย และประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้ ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ในการอนุเคราะห์วิทยากรเพื่อมาให้ความรู้แก่นักเรียนในกิจกรรมต่างๆ ดังที่กล่าวมา ซึ่งงบประมาณในการดำเนินโครงการ ได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 48,615 บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ งบประมาณ 15,285 บาท กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ งบประมาณ 10,280 บาท กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย งบประมาณ 7,500 บาท และกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ งบประมาณ 14,550 บาท

ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ ประเมินจากผลการทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม และหลังการอบรม ของนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักปลอดสารพิษและคัดแยกขยะ พบว่า นักเรียนมีความรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม ดังนี้ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ นักเรียนมีความรู้ก่อนอบรม ร้อยละ 53.20 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 81.16 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ นักเรียนมีความรู้ก่อนการอบรม ร้อยละ 62.18 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 85.73 และกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย จากการสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครู ร้อยละ 98 มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ในการดำเนินการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา 2561 พบว่า ในกิจกรรมการเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ความร่วมมือจากผู้ปกครองและคนในชุมชนยังมีสัดส่วนที่น้อย เนื่องด้วยภาระงานของคนในชุมชน จึงไม่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่ควร

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่รวมของประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชนซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน ที่สำคัญเป็นประชากรกลุ่มเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ โรงเรียนจึงต้องเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยตลอดระยะเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีสุขภาพดีแบบองค์รวม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดการจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ประกอบกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กำหนดให้เป็นการศึกษาด้านสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ครอบครัว และชุมชนให้ยั่งยืน
การมีสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านท่าแลหลามีนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ 24 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ที่ระดับร้อยละ 5 สาเหตุหลักเนื่องจากพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย การกินอาหารเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเด็กวัยเรียน นักเรียนอนุบาลและนักเรียนประถมศึกษาบางคนไม่ชอบกินผัก แต่ชอบขนม น้ำอัดลม และน้ำหวาน การกินอาหารที่ ไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและสัดส่วนส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร ก็อาจทำให้พัฒนาการของเด็กช้าไม่สมวัย หากเด็กกินอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อนก็จะสะสมในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และประชาชนในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านท่าแลหลา ส่วนใหญ่จะบริโภคผักตามร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชน ร้อยละ 80 ซึ่งร้านค้าในชุมชนก็จะรับซื้อผักมาจากตลาด จากการเจาะเลือดของเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย จำนวน 10 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 221 คน พบว่า มีผลเลือดในระดับปลอดภัยและปกติ ร้อยละ 35.30 ระดับมีความเสี่ยงร้อยละ 54.75 และพบในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 9.95 ในส่วนของการออกกำลังกายพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายน้อย ใช้เวลาว่างในช่วงหลังเลิกเรียนไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เด็กให้ความสำคัญกับการเล่นเกมส์ เล่นโทรศัพท์มือถือมากกว่ากับการใช้เวลาว่างในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ปัญหาการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอของเด็กวัยเรียน ก่อให้เกิดภาวะเด็กเริ่มอ้วน เด็กอ้วน เด็กไม่แข็งแรง นอกจากนั้นประชาชนในชุมชนบ้านท่าแลหลาส่วนใหญ่จะออกกำลังกายน้อย จากการสังเกตภาพรวมจะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของผู้ชาย ร้อยละ 70 และกลุ่มผู้หญิง ร้อยละ 10 ที่มีการออกกำลังกาย จะเห็นว่าในกลุ่มผู้หญิงมีสัดส่วนน้อยมาก จึงทำให้ประสบปัญหาการมีน้ำหนักเกิน อาจทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ นอกจากนั้นโรงเรียนและชุมชนประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาด้านขยะมูลฝอย ขยะบางส่วนถูกทิ้งกระจัดกระจายอยู่ตามริมถนน ในชุมชน และสถานที่สาธารณะต่างๆ ซึ่งได้สร้างปัญหาให้กับโรงเรียนและชุมชน เช่น กระป๋อง กะลามะพร้าวเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ขยะอินทรีย์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคและส่งกลิ่นเหม็น ขยะอันตรายทำให้มีสารพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
โรงเรียนบ้านท่าแลหลาเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเด็ก จึงมีการให้ความรู้แก่เด็กในห้องเรียน การจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและการออกกำลังกาย รวมทั้งจัดเตรียมอาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการให้กับนักเรียน แต่การจัดอาหารกลางวันของโรงเรียนจะต้องจัดซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารจากร้านค้าที่จำหน่ายอาหารในชุมชนหรือตลาด ซึ่งไม่ทราบแหล่งผลิตและวิธีการผลิตว่ามีการใช้สารเคมีหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่โรงเรียนจะจัดหาวัตถุดิบที่ปลอดภัยในการจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษในโรงเรียนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย การส่งเสริมการออกกำลังกายนั้นการสอนนักเรียนในชั่วโมงพละศึกษานั้นคงไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ที่อยู่รอบตัวเด็กเองก็มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการออกกำลังกายของเด็ก ทั้งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง จะต้องทำเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นและปฏิบัติตาม เพราะการทำให้เด็กรักการออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการสร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีต่อการออกกำลังกายของเด็กด้วย เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมวัย มีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง จึงควรกระตุ้นและสร้างกระแสให้กับเด็กและคนในชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และเพื่อให้เกิดวินัยในการออกกำลังกายซึ่งช่วยส่งเริมสุขภาพและป้องกันโรคภัยต่างๆ นอกจากนั้นการจัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยการสร้างจิตสำนึกแก่นักเรียนในการลดขยะ คัดแยกขยะมูลฝอย นำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อให้ปลอดภัยจากโรค การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุต่างๆ โรงเรียนสะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพนักเรียน รวมทั้งสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนต่อไปได้ โรงเรียนบ้านท่าแลหลาจึงจัดทำโครงการอาหารปลอดภัยและใส่ใจการออกกำลังกายขึ้นมา เพื่อต้องการให้นักเรียนได้รับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษและสร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนรวมถึงคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาได้หันมาใส่ใจการออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของตัวเอง และเป็นการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปลูกฝังการกินผักที่ปลูกเอง การทำปุ๋ยไว้ใช้เองโดยใช้ขยะอินทรีย์จากโรงอาหารหรือใบไม้จากในโรงเรียน ทำให้มั่นใจได้ว่าปุ๋ยที่ใส่บำรุงพืชผักที่ปลูกจะปลอดภัยแน่นอน นักเรียนเองก็จะได้ทักษะในกระบวนการผลิตและสามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไปในอนาคต โรงเรียนเองก็จะได้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพืชผักราคาแพงในท้องตลาดและหันมาอุดหนุนพืชผักที่นักเรียนปลูกเองในราคาที่ถูกลง และสามารถนำเงินส่วนกำไรเป็นทุนหมุนเวียนในการผลิตรอบต่อไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ด้วย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. 2.เพื่อลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
  3. 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
  4. 4.เพื่อให้นักเรียน และครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ
  2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย
  3. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
  4. กิจกรรมอื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 96
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
  2. ลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีการปลูกผักปลอดสารพิษใว้บริโภคในครัวเรือน โรงเรียน และชุมชน
  3. นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน รณรงค์ ร่วมมือ ร่วมใจกันการออกกำลังกายร่วมกันในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

วันที่ 26 มิถุนายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

1.1 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอหรือผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้วิธีการปลูกผัก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายอาหาร
1.2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นการยกโรงเพาะปลูกลักษณะกึ่งถาวร เตรียมดินในกระบะ โดยจะผสมมูลไก่ มูลวัว แกลบดำและแกลบแห้งเข้ากับดินร่วน โดยการปลูกผักลักษณะนี้ จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน จะเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นธาตุอาหารหลักสำหรับพืช
1.3 แกนนำนักเรียนลงพื้นที่สำรวจร้านค้าในชุมชน เพื่อสำรวจการบริโภคพืชผักของประชาชนในชุมชน
1.4 นักเรียนขยายองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ครอบครัว โดยสนับสนุนให้นักเรียนและครอบครัวปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยครูประจำชั้นจะเป็นผู้ประเมินในช่วงเวลาของการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

1.5 นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 96 และผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชน โดยจะเป็นการแบ่งปันสถานที่ร่วมกันในการเพาะปลูก ผู้ปกครองก็สามารถใช้สถานที่ในการปลูกผักไว้กินเองได้ เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็จำหน่ายให้กับโรงเรียนหรือบุคคลภายนอก และนำกำไรมาเป็นทุนในการผลิตพืชผักในรอบต่อไป จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจเล็กๆภายในโรงเรียนและชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษหรือการปลูกผักปลอดภัย โดยทางโรงเรียนได้เชิญนายพงษ์ศักดิ์ ฉิมอินทร์ โดยได้รับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอละงู ซึ่งท่านเป็น Smart Farmer ของอำเภอละงู ท่านมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกผักปลอดภัยอย่างถูกวิธีทั้งการเตรียมดิน วิธีการปลูกดูแล การเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 53.20 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.16 ในส่วนกิจกรรมย่อยที่ 2 เป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผัก นักเรียนมีทักษะในการผสมดิน การเพาะเมล็ดพันธุ์ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ ซึ่งพืชที่ปลูกจะเป็นพืชสวนครัว อาทิ ผักบุ้งจีน คะน้า ผักกาด มะเขือ พริก เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปขายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนได้รับรายได้จากการดูแลพืชพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งนักเรียนเองก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในทื้ออาหารกลางวัน และนักเรียนก็จะได้นำองค์ความรู้ ทักษะที่ได้จากโรงเรียนไปต่อยอดสู่ครอบครัวในการปลูกผักเพื่อไว้รับประทานเอง โดยโรงเรียนได้แจกต้นกล้าที่เพาะไว้ให้กับนักเรียนกลับไปปลูกที่บ้าน

 

150 0

2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย

วันที่ 16 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

เดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ทุกวันอังคารเวลา 15.00 เป็นต้นไป โดยเส้นทางรอบหมู่บ้านท่าแลหลา เช่น เส้นทางโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ไปกลับ ถ้ำอุไรทอง, เส้นทางโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ไปกลับ โรงเรียนปิใหญ่, เส้นทางโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ไปกลับ ปลักมาลัย เป็นต้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูมีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย ทั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายจากโรงเรียนสู่ชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย ผ่านกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในทุกเย็นวันอังคาร เวลา 15.00-16.00 น. ทั้งนี้บางสัปดาห์จะเป็นการวิ่ง บางสัปดาห์จะเป็นการปั่นจักรยานสลับกันไป ซึ่งเส้นทางในการเดิน วิ่ง ปั่น จะออกจากโรงเรียนสู่ชุมชนบ้านท่าแลหลาหรือมุ่งหน้าสู่ชุมชนที่ใกล้เคียง อาทิ ชุมชนบ้านอุไร ชุมชนบ้านป่าฝาง ชุมชนบ้านปีใหญ่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยส่วนมากจะเป็นนักเรียน คณะครู และมีผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือเข้ากิจกรรม ทั้งนี้เมื่อประมวลภาพรวมของกิจกรรมจะเห็นได้ว่า นักเรียนตื่นตัวกับกิจกรรม ให้ความร่วมมือดีและเฝ้ารอที่จะเข้าร่วมกิจกรรม สร้างบรรยากาศของการออกกำลังกายร่วมกัน และจากแบบสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ 98 และอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

 

150 0

3. กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์

วันที่ 1 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ให้ความรู้การลดขยะ การคัดแยกขยะ การนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์

  2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิลหรือวัสดุเหลือใช้ต่าง จัดทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ

  3. จัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะรีไซเคิลหรือวัสดุเหลือใช้ต่าง จัดทำปุ๋ยหมักหรือน้ำหมักชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยทางโรงเรียนได้เชิญครูกิตติศักดิ์ อาหลี ครูโรงเรียนบ้านวังพระเคียน ครูปริญญา หยีมะเร็บ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมป์ 25850 ครูอนิรุทธ์ โทบุรี ครูโรงเรียนบ้านปากบารา ซึ่งครูทั้งสามท่าน เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และคณะครูโรงเรียนท่าแลหลา ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาขยะการจัดการขยะอย่างถูกวิธี การคัดแยกขยะ ซึ่งกิจกรรมการคัดแยกขยะ วิทยากรจะให้ลูกบอลสีแก่นักเรียนทุกคนคละสีกัน ซึ่งนักเรียนจะต้องบอกชื่อขยะให้ตรงกับสีที่ตนเองได้รับ จากนั้นนักเรียนจะต้องนำขยะไปคัดแยกให้ตรงประเภท ซึ่งจากการสังเกตุนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและนักเรียนสามารถบอกชื่อขยะได้ตรงกับสีที่ถือ และสามารถคัดแยกได้ตรงกับประเภทของขยะนั้น ทั้งนี้เป็นการสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะได้เป็นอย่างดี ในส่วนภาคบ่ายเป็นกิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของจากขยะรีไซเคิล โดยให้นักเรียนนำเศษผ้าเหลือใช้มาจากบ้าน เพื่อมาประดิษฐ์เป็นพรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้า วิทยากรได้แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ คละชั้นกัน โดยให้นักเรียนแบ่งเศษผ้าออกเป็นชิ้นเท่าๆกัน มีความกว้างความยาวเท่าๆกัน และให้นักเรียนนำมาผูกกับตะแกรงที่เตรียมไว้เต็มทุกช่อง เมื่อนักเรียนผูกผ้าเต็มทุกช่อง ก็จะได้พรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้าที่มีสีสันสวยงาม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการลดขยะมูลฝอย โดยการนำมารีไซเคิลและประดิษฐ์ให้เป็นชิ้นงานใหม่เพื่อเอาไว้ใช้ประโยชน์ และจากการประเมินผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 62.18 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.73

 

111 0

4. กิจกรรมอื่นๆ

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

 

5 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษหรือการปลูกผักปลอดภัย โดยทางโรงเรียนได้เชิญนายพงษ์ศักดิ์ ฉิมอินทร์ โดยได้รับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอละงู ซึ่งท่านเป็น Smart Farmer ของอำเภอละงู ท่านมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกผักปลอดภัยอย่างถูกวิธีทั้งการเตรียมดิน วิธีการปลูกดูแล การเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 53.20 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.16 ในส่วนกิจกรรมย่อยที่ 2 เป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผัก นักเรียนมีทักษะในการผสมดิน การเพาะเมล็ดพันธุ์ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ ซึ่งพืชที่ปลูกจะเป็นพืชสวนครัว อาทิ ผักบุ้งจีน คะน้า ผักกาด มะเขือ พริก เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปขายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนได้รับรายได้จากการดูแลพืชพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งนักเรียนเองก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในทื้ออาหารกลางวัน และนักเรียนก็จะได้นำองค์ความรู้ ทักษะที่ได้จากโรงเรียนไปต่อยอดสู่ครอบครัวในการปลูกผักเพื่อไว้รับประทานเอง โดยโรงเรียนได้แจกต้นกล้าที่เพาะไว้ให้กับนักเรียนกลับไปปลูกที่บ้าน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูมีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย ทั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายจากโรงเรียนสู่ชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย ผ่านกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในทุกเย็นวันอังคาร เวลา 15.00-16.00 น. ทั้งนี้บางสัปดาห์จะเป็นการวิ่ง บางสัปดาห์จะเป็นการปั่นจักรยานสลับกันไป ซึ่งเส้นทางในการเดิน วิ่ง ปั่น จะออกจากโรงเรียนสู่ชุมชนบ้านท่าแลหลาหรือมุ่งหน้าสู่ชุมชนที่ใกล้เคียง อาทิ ชุมชนบ้านอุไร ชุมชนบ้านป่าฝาง ชุมชนบ้านปีใหญ่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยส่วนมากจะเป็นนักเรียน คณะครู และมีผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือเข้ากิจกรรม ทั้งนี้เมื่อประมวลภาพรวมของกิจกรรมจะเห็นได้ว่า นักเรียนตื่นตัวกับกิจกรรม ให้ความร่วมมือดีและเฝ้ารอที่จะเข้าร่วมกิจกรรม สร้างบรรยากาศของการออกกำลังกายร่วมกัน และจากแบบสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ 98 และอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยทางโรงเรียนได้เชิญครูกิตติศักดิ์ อาหลี ครูโรงเรียนบ้านวังพระเคียน ครูปริญญา หยีมะเร็บ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมป์ 25850 ครูอนิรุทธ์ โทบุรี ครูโรงเรียนบ้านปากบารา ซึ่งครูทั้งสามท่าน เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และคณะครูโรงเรียนท่าแลหลา ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาขยะการจัดการขยะอย่างถูกวิธี การคัดแยกขยะ ซึ่งกิจกรรมการคัดแยกขยะ วิทยากรจะให้ลูกบอลสีแก่นักเรียนทุกคนคละสีกัน ซึ่งนักเรียนจะต้องบอกชื่อขยะให้ตรงกับสีที่ตนเองได้รับ จากนั้นนักเรียนจะต้องนำขยะไปคัดแยกให้ตรงประเภท ซึ่งจากการสังเกตุนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและนักเรียนสามารถบอกชื่อขยะได้ตรงกับสีที่ถือ และสามารถคัดแยกได้ตรงกับประเภทของขยะนั้น ทั้งนี้เป็นการสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะได้เป็นอย่างดี ในส่วนภาคบ่ายเป็นกิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของจากขยะรีไซเคิล โดยให้นักเรียนนำเศษผ้าเหลือใช้มาจากบ้าน เพื่อมาประดิษฐ์เป็นพรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้า วิทยากรได้แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ คละชั้นกัน โดยให้นักเรียนแบ่งเศษผ้าออกเป็นชิ้นเท่าๆกัน มีความกว้างความยาวเท่าๆกัน และให้นักเรียนนำมาผูกกับตะแกรงที่เตรียมไว้เต็มทุกช่อง เมื่อนักเรียนผูกผ้าเต็มทุกช่อง ก็จะได้พรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้าที่มีสีสันสวยงาม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการลดขยะมูลฝอย โดยการนำมารีไซเคิลและประดิษฐ์ให้เป็นชิ้นงานใหม่เพื่อเอาไว้ใช้ประโยชน์ และจากการประเมินผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 62.18 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.73


ปัญหาและอุปสรรค
ในส่วนที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยภาระหน้าที่การงานของแต่ละครที่จะต้องทำ ซึ่งในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม และในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่จะต้องเตรียมไร่นาของตัวเองในการเพาะปลูก จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ จึงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการออกกำลังกายในแก่คนในชุมชนมากเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะ

ควรประชาสัมพันธ์ในหลายๆช่องทาง ทั้งผ่านเสียงตามสายของชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ ที่มากกว่านี้หรือแม้กระทั่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
ตัวชี้วัด : - นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
80.00 81.16

 

2 2.เพื่อลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน - นักเรียนนำผักปลอดสารพิษจากโรงเรียน ไปขยายผลสู่ครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - ร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จำหน่ายผักปลอดสารพิษในชุมชน
80.00 100.00

 

3 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : - นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
70.00 98.00

 

4 4.เพื่อให้นักเรียน และครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด : - นักเรียนและครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
80.00 85.73

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 96
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 96
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกายและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน จำนวนทั้งหมด 150 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและนักเรียนก้ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผักรับประทานเองด้วย อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน จำนวน 150 คน มาร่วมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกายด้วยกันในทุกเย็นวันอังคาร และสุดท้ายเพื่อให้นักเรียนและคณะครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู จำนวน 111 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย และประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้ ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ในการอนุเคราะห์วิทยากรเพื่อมาให้ความรู้แก่นักเรียนในกิจกรรมต่างๆ ดังที่กล่าวมา ซึ่งงบประมาณในการดำเนินโครงการ ได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 48,615 บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ งบประมาณ 15,285 บาท กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ งบประมาณ 10,280 บาท กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย งบประมาณ 7,500 บาท และกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ งบประมาณ 14,550 บาท

ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ ประเมินจากผลการทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม และหลังการอบรม ของนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักปลอดสารพิษและคัดแยกขยะ พบว่า นักเรียนมีความรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม ดังนี้ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ นักเรียนมีความรู้ก่อนอบรม ร้อยละ 53.20 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 81.16 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ นักเรียนมีความรู้ก่อนการอบรม ร้อยละ 62.18 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 85.73 และกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย จากการสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครู ร้อยละ 98 มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ในการดำเนินการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา 2561 พบว่า ในกิจกรรมการเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ความร่วมมือจากผู้ปกครองและคนในชุมชนยังมีสัดส่วนที่น้อย เนื่องด้วยภาระงานของคนในชุมชน จึงไม่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่ควร

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ในส่วนที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยภาระหน้าที่การงานของแต่ละครที่จะต้องทำ ซึ่งในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม และในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่จะต้องเตรียมไร่นาของตัวเองในการเพาะปลูก จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ จึงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการออกกำลังกายในแก่คนในชุมชนมากเท่าที่ควร

 

ควรประชาสัมพันธ์ในหลายๆช่องทาง ทั้งผ่านเสียงตามสายของชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ ที่มากกว่านี้หรือแม้กระทั่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน


โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L8010-2-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( โรงเรียนบ้านท่าแลหลา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด