กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากล่อ


“ อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ ”

ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นายทวีศักดิ์แซ่ยี่

ชื่อโครงการ อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ

ที่อยู่ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 02-PKL-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 สิงหาคม 2561 ถึง 2 สิงหาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากล่อ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ



บทคัดย่อ

โครงการ " อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 02-PKL-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 สิงหาคม 2561 - 2 สิงหาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,300.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากล่อ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้จัดตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ( Emergency medical system= EMS) หมายถึง ระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้การดูแลปฐมพยาบาล ทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาลประเทศไทยมีข้อมูลการใช้บริการห้องฉุกเฉินจำนวนประมาณ๑๒ล้านครั้งต่อปี มีผู้ป่วยวิกฤติและเร่งด่วนประมาณ ร้อยละ ๓๐ที่จำเป็นต้องได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเสียชีวิตนอกโรงพยาบาลประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน หากมีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพจะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้ถึงปีละ ๙,๐๐๐- ๑๒,๐๐๐ คนสาเหตุที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะมีระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ด้อยประสิทธิภาพไม่ครอบคลุมผู้ป่วยทุกคนและทุกพื้นที่ขาดระบบที่เข้าถึงได้ง่าย การช่วย ณ จุดเกิดเหตุยังด้อยคุณภาพซึ่งทำให้ผู้ป่วยพิการและเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น ทีมอาสาสมัครกู้ชีพตำบลปากล่อ เห็นถึงความสำคัญของการบริการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเฉพาะด้านทักษะการกู้ชีพของอาสาสมัครในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน โรงเรียน ซึ่งทุกหมู่บ้านยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกวิธี ที่สามารถให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผู้เจ็บป่วยปลอดภัย ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตลอดจนบุคลากรและอาสาสมัคร ครูแกนนำนักเรียน ประชาชนในพื้นที่ กู้ชีพที่สามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยบริการระดับพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว และปลอดภัยตลอด ทีมอาสาสมัครกู้ชีพตำบลปากล่อจึงได้จัดทำโครงการอบรมอาสาสมัครบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ปี 2561ขึ้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ระดับพื้นฐานให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
  2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติจริงด้านการปฐมพยาบาล และการกู้ชีพเบื้องต้นได้
  3. เพื่อลดอันตรายการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกู้ชีพระดับพื้นฐาน (FR) แก่อาสาสมัครกู้้ชีพในลักษณะการแบ่งกลุ่ม โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลโคกโพธิ์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 105
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีเจ้าหน้าที่กู้ชีพกู้ภัยเป็นภาคีเครือข่ายครอบคลุมทั้งตำบล ที่มีความรู้และทักษะตามหลักวิชาการ 2.ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและปลอดภัย 3.ทำให้ทุกภาคส่วนของชุมชน โรงเรียน มีการทำงานแบบบูรณาการร่วม


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกู้ชีพระดับพื้นฐาน (FR) แก่อาสาสมัครกู้้ชีพในลักษณะการแบ่งกลุ่ม โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลโคกโพธิ์

วันที่ 2 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.รับสมัครและคัดเลือกอาสาสมัครกู้ชีพทั้ง 9 หมู่ 2.จัดอบรมเชิงปฎิบัติการกู้ชีพระดับพื้นฐาน กิจกรรมลงทะเบียน - อบรมให้ความรู้(เช้า) - ฝึกการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR) ช่วงบ่าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. อาสาสมัครกู้ชีพ อสม. ครูอนามัยโรงเรียน ตัวแทนกู้ชีพมีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการถาม -ตอบ และฝึกปฏิบัติ
  2. เจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต. อาสาแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียนแต่ละโรง มีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการกู้ชีพเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ95  เนื่องจาก อสม.สูงวัย กู้ชีพบางท่านประสพอุบัติเหตุมาการลงมือปฏิบัติไม่อำนวย
  3. มีการสานสัมพันธ์ที่ดี มีการต่อยอดการให้ความรู้ไปยังโรงเรียนและชุมชนที่สนใจ
  4. ทุกภาคส่วนมีการทำแผนแบบบูรณาการในการให้ความรู้เรื่องกู้ชีพ โดยมีการเชิญวิทยากรไปให้ความรู้
  5. ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผลจากการแจ้งเหตุที่ถูกต้อง

 

115 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. อาสาสมัครกู้ชีพ อสม. ครูอนามัยโรงเรียน ตัวแทนกู้ชีพมีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการถาม -ตอบ และฝึกปฏิบัติ
  2. เจ้าหน้าที่ประจำรพ.สต. อาสาแต่ละหมู่บ้าน โรงเรียนแต่ละโรง มีความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการกู้ชีพเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ95 เนื่องจาก อสม.สูงวัย กู้ชีพบางท่านประสพอุบัติเหตุมาการลงมือปฏิบัติไม่อำนวย
  3. มีการสานสัมพันธ์ที่ดี มีการต่อยอดการให้ความรู้ไปยังโรงเรียนและชุมชนที่สนใจ
  4. ทุกภาคส่วนมีการทำแผนแบบบูรณาการในการให้ความรู้เรื่องกู้ชีพ โดยมีการเชิญวิทยากรไปให้ความรู้
  5. ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยและมีประสิทธิผลจากการแจ้งเหตุที่ถูกต้อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ระดับพื้นฐานให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
ตัวชี้วัด : เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังอบรมร้อยละ 100
0.00

 

2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติจริงด้านการปฐมพยาบาล และการกู้ชีพเบื้องต้นได้
ตัวชี้วัด : เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหลังอบรมลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นได้จากอุบัติเหตุนั้นๆ
0.00

 

3 เพื่อลดอันตรายการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ
ตัวชี้วัด : ลดอัตราการเกิดความพิการหรือบาดเจ็บเพิ่มจากอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตจากท้องถนนลดลง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 115
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 105
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ระดับพื้นฐานให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ (2) เพื่อให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติจริงด้านการปฐมพยาบาล และการกู้ชีพเบื้องต้นได้ (3) เพื่อลดอันตรายการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุต่างๆ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการกู้ชีพระดับพื้นฐาน (FR) แก่อาสาสมัครกู้้ชีพในลักษณะการแบ่งกลุ่ม โดยทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลโคกโพธิ์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ผู้เข้าร่วมบางท่านไม่สะดวกเข้าร่วมกิจกรรม

1กิจกรรมในชุมชนมีมาก 2บางท่านสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย

1 หาที่ตรงกันทุกภาคส่วนและให้รวบรัดเร็วขึ้น 2 แนะให้หาตัวแทนอื่นที่สามามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้


อบรมอาสาสมัคร EMS ประจำหมู่บ้านตำบลปากล่อ จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 02-PKL-12

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายทวีศักดิ์แซ่ยี่ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด