กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา


“ โครงการเด็กตะโละ "smart kids" ”

ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางภัทรพรรัตนซ้อน

ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะโละ "smart kids"

ที่อยู่ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 60-2986-05 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2560 ถึง 29 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเด็กตะโละ "smart kids" จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเด็กตะโละ "smart kids"



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเด็กตะโละ "smart kids" " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 60-2986-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2560 - 29 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 42,400.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพเด็ก โดยต้องการให้เด็กไทบมีความสมบูรณ์พร้อม ทั้ง 4 ด้าน คือ มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการที่ดีฟันไม่ผุ และการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จังหวัดปัตตานีจึงได้นำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาเป็นจุดเน้นในการพัฒนาให้เด็กปัตตานีมีความสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ด้าน เช่นกัน ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2559 พบเด้กที่มีพัฒนาการล่าช้า จำนวน 4 ราย เด็กน้ำหนักน้อย จำนวน ราย ส่วนใหญ่พบปัญหาฟันผุและวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ ทัศนคติของผู้ปกครองที่ไม่ยอมนำบุตรมารับวัคซีนด้วยหลายเหตุผล จึงได้มีการสำรวจข้อมูลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา ซึ่งมี่เด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 375 คน และพบว่าอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ยังต่ำอยู่มาก เพียงร้อยละ 75.26 และอัตราการมารับบริการตามนัดที่คลินิกเด็กดี ร้อยละ 48.84 มีผู้ปกครองบางส่วนที่ไม่ยอมให้บุตรรับวัคซีนป้องกันโรค จำนวน 36 ราย จงได้มีการติดตามสอบถามและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่า ทัศนคติของผู้ปกครอง ในการนำบุตรมารับวัคซีนเนื่องจากกลัวผลข้างเคียงจากหลังการรับวัคซีน และบางครอบครัวเชื่อว่าวัคซีนไม่ฮาลาล และอีกสาเหตุหนึ่ง คือ ข้อจำกัดขอเจ้าหน้าที่ในการลงให้บริการในพื้นที่ จากสถาณการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสบปัญหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ในเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี ไม่ได้ตามเกณฑ์ สำหรับในปีนี้ นอกจากเน้นการติดตามเด็กให้มารับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์แล้ว ทางศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจะบูรณาการเรื่องของการพัฒนาการ โภชนาการและเรื่องฟันดีไม่ผุ ไปพร้อมๆกัน ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนาจึงปรับกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองให้นำบุตรมารับบริการที่คลินิกเด็กดี และทำงานเชิงรุกในชุมชนให้มากขึ้น มีการรณรงค์ให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของเด็กตะโละแมะนามี Smart Kits โดยการเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้ปกครองและใช้พลังขัเคลื่อนของอาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเสริมแรงจูงใจ ด้วยการจัดทำแสตมป์สะสมคะแนนมาแลกของรางวัล โดยหวังว่าจะทำให้เด็กได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สมบูรณ์มีสุขภาพดี 2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    เด็กตะโละแมะนามีพัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันไม่ผุ สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

              จากกาดำเนินงานโครงการเด็กตะโละฯ "Smart Kids" โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครอง และเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี จำนวน 200 คน ที่อาศัยอยุ่ในตำบลตะโละแมะนา โดยแบ่งเป้นรุ่นๆละ 50 คน ได้รับความร่วมมือจากผุ้ปกครองเด็กเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 ซึ่งในการจัดกิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างความตระหนักแก่ผุ้ปกครองในการดูแลเด็กให้มีสุขภาพดี สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมมีการให้ความรู้ผู้ปกครองในเรื่องของการตรวจพัฒนาการลูกน้อย อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย การใช้สมุดสีชมพู การดูวันนัดวัคซีน การดูแลอาการลูกน้อยหลังการได้รับวัคซีน การดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธีและเหมาะสมกับอายุ การพูดคุยส่งเสริมด้านจิตใจแก่เด็ก เป็นต้น โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความถนัดในเรื่องต่างๆมาให้ความรู้ พบว่าผู้ปกครองให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ และมีความตระหนักมากขึ้น           กิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ กิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดีมีผู้เข้าร่วมประกวดกิจกรรมจำนวน 100 ราย และมีผู้ปกครองส่งเด็กเข้าประกวด จำนวน 50 ราย ซึ่งเด็กที่เข้าร่วมประกวดจะได้รับการตรวจสุขภาพ 4 ด้านตามกลุ่มอายุ ดังนี้ คือ ด้านพัฒนาการ ด้านโภชนาการ ด้านทันตกรรม และด้านวัคซีน
            1. ด้านพัฒนาการ จากการตรวจพัฒนาการเด็ก จำนวน 50 ราย พบว่ามีพัฒนาการสมวัย 42 ราย คิดเป็นร้อยละ 84 สงสัยล่าช้า 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 16
            2. ด้านโภชนาการ จากการตรวจเด็ก จำนวน 50 ราย พบว่า เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 4
            3. ด้านทันตกรรม จำนวนเด็กที่รับการตรวจฟัน จำนวน 50 ราย พบว่า มีเด็กที่มีสุขภาพฟันดี ไม่ผุ จำนวน 44 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 เด็กที่มีปัญหาฟันผุ 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ในจำนวนนี้ได้ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กในการดูแลรักษาฟันลูกน้อย พร้อมมอบแปรงสีฟันด้ามแรกให้ และเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุให้เด็กที่มาร่วมโครงการทุกคน         4. ด้านวัคซีน จำนวนเด็กที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ราย พบว่า เด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 54 เด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จำนวน 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 46         สรุปผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน พบว่า เด็กที่มีความสมบูรณ์ในการประเมินสุขภาพครบทั้ง 4 ด้าน (Smart Kids) จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 30 เด็กที่มีความสมบูรณ์ 3 ด้าน จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 58 และมีความสมบูรณ์ 2 ด้าน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10
              จากการสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้ง 2 กิจกรรม พบว่า ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมและอยากให้มีการจัดกิจกรรมที่มีประโยชน์แบบนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี

    ตัวชี้วัดโครงการ           1. เด็กแรกเกิด 0-1 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักและไวรัสตับอักเสบบี ครบ 3 เข็ม ร้อยละ  90           2. เด็กอายุ 9-12 ปี  ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม  ร้อยละ 95
              3. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ได้รับวัคซีน ไข้สมองอักเสบครบ 2 เข็ม ร้อยละ 90
              4. เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวคซีนไข้สมองอักเสบครบ 3 เข็ม  ร้อยละ 90
              5. เด็กแรกเกิด 0-5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรค ครบตามเกณฑ์อายุ  ร้อยละ 90

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สมบูรณ์มีสุขภาพดี 2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด : 1. เด็กแรกเกิด - ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยักและไวรัสตับอักเสบบีครบ 3 เข็ม ร้อยละ 90 2. เด็กแรกเกิด 9-12 เดือน ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยรมัน คางทูม ร้อยละ 95 3. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ได้รับวัคซีน ไข้สมองอักเสบครบ 2 เข็ม ร้อยละ 90 4. เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบครบ 3 เข็ม ร้อยละ 90 5. เด็กแรกเกิด - 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 90
    200.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในการดูแลเด็กให้สมบูรณ์มีสุขภาพดี    2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี ฟันไม่ผุ และได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการเด็กตะโละ "smart kids" จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 60-2986-05

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางภัทรพรรัตนซ้อน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด