กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
ทพญ.นนทิพา เอกอุรุ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ

ชื่อโครงการ โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 62-L7250-1-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 62-L7250-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มีนาคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 214,640.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการติดตามสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพและระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัวรองรับ ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดโรคฟันผุในทุกกลุ่มวัย กรมอนามัย เปิดเผยผลสำรวจสุขภาพทางช่องปาก ในปี 2558 พบว่า เด็กไทยโดยเฉลี่ยร้อยละ 50 เป็นโรคฟันผุสูงสุดในเขตภาคใต้  ร้อยละ 65 โดยเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส      ในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขรายงานพื้นที่ 4 จังหวัดชายเเดนใต้ เด็กและผู้สูงอายุเผชิญปัญหาโรคฟันสูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก
ผลการดำเนินโครงการตรวจสุขภาพช่องปาก ของประชากรทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา ประจำปี 2560 ปากพบว่าเด็กแรกเกิด 0 – 4 ปี ที่เข้ามารับวัคซีนในคลินิกเด็กดีปี 2559 – 2560 พบฟันน้ำนมผุเฉลี่ยร้อยละ 36.17 และ3.30 ตามลำดับ พอเด็กโตขึ้นมาในช่วงกลุ่มอายุ 3 – 6 ปี ที่อยู่ในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนก็จะมีฟันผุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.17 และ41.11 ตามลำดับ และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุย่อมส่งผลไปถึงฟันแท้ของเด็กจะมีโอกาสผุได้มากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุ จากผลการสำรวจเด็กกลุ่มวัยเรียนอายุ 6 – 12 ปี พบเด็กนักเรียนที่มีฟันน้ำนมและฟันแท้ผุเฉลี่ยร้อยละ54.79 และ50.31 ตามลำดับ และกลุ่มที่สำคัญอีกกลุ่มคือ หญิงมีครรภ์เพราะหญิงมีครรภ์ที่สามารถถ่ายทอดเชื้อโรคจากช่องปากไปสู่ลูกได้ จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ จากผลการสำรวจพบหญิงมีครรภ์ในเขตเทศบาลนครสงขลามีฟันผุเฉลี่ยร้อยละ44.17 และ24.76 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พบฟันผุเฉลี่ยร้อยละ 67.17 และ44.52 ตามลำดับ
งานทันตสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก และมีแผนการดำเนินงานด้านทันตสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชน ทุกกลุ่มได้เข้าถึงบริการและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริม ป้องกันและรักษาให้ประชาชนได้มีสุขภาพช่องปากที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 2.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการด้านการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี 2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 480
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3,170
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ 520
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    9.1 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมได้รับคำแนะนำ       อย่างถูกต้องในการดูแลสุขภาพช่องปาก   9.2 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลาได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ       ช่องปากของตนเอง และคนในครอบครัวเพื่อสร้างพฤติกรรม และเจตคติที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก       เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต   9.3 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา ได้รับบริการทันตกรรมที่ครอบคลุม ภายใต้ชุดสิทธิ       ประโยชน์หลักประกันสุขภาพ   9.4 ประชาชนทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลามีจำนวนฟันผุที่ลดลง และมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ขั้นเตรียมการ   3.1 สำรวจข้อมูลจำนวนกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอายุในเขตเทศบาลนครสงขลา   3.2 เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเพื่อขออนุมัติจัดทำโครงการ   3.3 ประชุมชี้แจงติดต่อประสานงาน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตเทศบาลนครสงขลาเพื่อทำ
    ความเข้าใจที่ตรงกันและสะดวกต่อการสร้างภาคีเครือข่าย   3.4 เตรียมข้อมูล เอกสารต่างๆและวัสดุอุปกรณ์ พร้อมสื่อในการจัดทำโครงการ

        ขั้นดำเนินการ กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ ในเด็ก 0 – 2 ปี เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 1. ตรวจสุขภาพช่องปากและประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยจากคลินิกสุขภาพเด็กดี ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ 2. ให้ความรู้โดยใช้สื่อและอุปกรณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมโดยเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กพร้อมแจกบัตรนัดมารับบริการต่อเนื่องครั้งต่อไปทุก 3 เดือน 3. ให้บริการทันตกรรมเบื้องต้น คือ การทาฟลูออไรด์วานิช ติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและเฝ้าระวังการเกิดโรคฟันผุที่อาจลุกลามซึ่งยากต่อการรักษา และหากมีรอยโรคดำเนินไปแล้ว จะนัดให้มารักษาที่เหมาะสมต่อไป กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 1. ตรวจฟันเด็ก และทาฟลูออไรด์วานิช ปีละ 2 ครั้ง (เดือนพฤษภาคม 2562 , กันยายน 2562)
    โรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 2, รร.เทศบาล 3, รร.เทศบาล 4, รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ, รร.ศิริพงศ์วิทยา, รร.กลับเพชร, รร.หวังดี และ รร.สตรีวชิรานุกูล,  รร.จุลสมัย, รร.ชัยมงคลวิทย์, รร.สุมิตรา และ
    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่ ศพด.ท่าสะอ้าน, ศพด.เก้าเส้ง,    ศพด.ไทรงาม, ศพด.กุโบร์, ศพด.บ่อนวัวเก่า และศพด.วิทยาลัยพยาบาล
    2. จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการทางทันตสุขภาพของเด็กเตรียมอนุบาล แก่ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลนครสงขลา จำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่ ศพด.ท่าสะอ้าน, ศพด.เก้าเส้ง, ศพด.ไทรงาม, ศพด.กุโบร์, ศพด.บ่อนวัวเก่า และศพด.วิทยาลัยพยาบาล 3. จัดกิจกรรมแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์หลังอาหารกลางวันทุกวัน โดยมีผู้ดูแลเด็กเป็นผู้ควบคุม 4. สนับสนุนนิทานหนูน้อยฟันสวยแก่ทุกห้องเรียน 5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

    กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็กชั้น ป.1 – ป.6 เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 1. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์เพื่อในการออกตรวจฟัน ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2. ตรวจฟันนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนในเขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 12 โรงเรียน ได้แก่    รร.เทศบาล 1, รร.เทศบาล 2, รร.เทศบาล 3, รร.เทศบาล 4, รร.สงขลาวิทยามูลนิธิ, รร.ศิริพงศ์วิทยา,  รร.กลับเพชร, รร.หวังดี และ รร.สตรีวชิรา, รร.จุลสมัย, รร.ชัยมงคลวิทย์, รร.สุมิตรา 3. แจกผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่นักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนทุกคนและผู้ปกครองได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน และนำบุตรหลานมารับการรักษาสุขภาพช่องปากได้ทันท่วงทีก่อนที่โรคฟันผุจะลุกลามมากขึ้นกว่าเดิม 4. รับเด็กนักเรียนชั้น ป.1 มาเคลือบหลุมร่องฟัน(sealant) ณ คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุข เตาหลวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ (จำนวน 1,000 คน) 5. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่แกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในโรงเรียนเขตเทศบาลนครสงขลาทั้ง 12 โรงเรียน (จำนวน 432 คน) 6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอด ที่ขึ้นทะเบียนโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก และหญิงมีครรภ์ที่ส่งต่อมาจาก รพ.สงขลา ในเขตศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง 1. ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์อย่างละเอียดพร้อมบันทึกข้อมูลนำผลที่ได้มาวางแผนการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง 2. นัดหญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากซึ่งอายุครรภ์ที่สามารถรับบริการทันตกรรมได้คือ          (อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) มารับบริการทันตกรรมจนมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป 3. มีการเยี่ยมหลังคลอดหญิงมีครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการและหญิงมีครรภ์ที่ส่งต่อมาจาก รพ.สงขลา ในเขต
      ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง 4. ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของคุณแม่หลังคลอดและช่องปากของเด็กแรกคลอด 5. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


    กิจกรรมส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 1. จัดกิจกรรม ณ. คลินิกทันตกรรม ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง, ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ, PCU ใจกลาง, PCU พาณิชย์สร้างสุข, PCU กุโบร์ร่วมใจ, PCU สมิหรา, และ PCU ชลาทัศน์ โดยการ ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากในวัยผู้สูงอายุพร้อมทั้งสอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีและทาฟลูออไรด์วานิชแก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ 2. แนะนำและนัดผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากทุกคนมารับบริการทันตกรรมอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 2.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการด้านการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี 2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก
    ตัวชี้วัด : 3.1 ร้อยละ 60 ของเด็ก 0 – 2 ปี ได้รับการ เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่ 3.2 ร้อยละ 55 ของเด็ก 3 – 5 ปี ได้รับการ ตรวจสุขภาพช่องปาก 3.3 ร้อยละ 35 ของเด็ก 6 ปี ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันแท้ 3.4 ร้อยละ 80 ของเด็กฟันดี ไม่มีผุ (Cavity Free) เด็ก 12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก 3.5 ร้อยละ 70 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 3.6 ร้อยละ 35 ของผู้สูงอายุได้รับการได้รับการ เคลือบ/ทา ฟลูออไรด์เฉพาะที่
    0.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4205 4205
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 480 480
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 3,170 3,170
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ 520 520
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35 35
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 2.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการด้านการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี                              2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการฟันดีทุกกลุ่มวัย เทศบาลนครสงขลา ประจำปีงบประมาณ 2562 จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 62-L7250-1-02

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( ทพญ.นนทิพา เอกอุรุ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด