กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 1 – 4 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน



บทคัดย่อ

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด (กรมสุขภาพจิต) จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่า มีกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม - อารมณ์ เพิ่มขึ้นในทุกปี ที่ผู้ปกครอง คุณครู พาเข้ามารับการรักษา หรือขอคำปรึกษาในโรงพยาบาล โดยจากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยและจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้ 2) เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน , ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน โดยการประเมินความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ก่อนและหลังการอบรม อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารจากทั้งผู้ปกครองและกลุ่มอาสาสมัครในชุมชน เพื่อการติดต่อ สื่อสาร และส่งต่อข้อมูลของเด็ก เพื่อการช่วยเหลือและรักษาต่อไป

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2

ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป นำผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมจากปีที่ผ่านมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแล ให้ความช่วยเหลือเด้กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ ในชุมชนต่อไป โดยการกระตุ้นการทำงานของแกนนำทางด้านสุขภาพจิตเด้กในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลของผู้ปกครองและการประสานกับคุณครูในโรงเรียน เป้าหมายเพื่อให้มีการช่วยเหลือเด็กได้มากขึ้น โดยผ่านช่อทางต่างๆทั้งจากอาสาสมัครในชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ให้การช่วยเหลือร่วมกัน

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด โดยสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จากการสำรวจข้อมูลความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ปี พ.ศ. 2559 ในเด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 319 คน (กรมสุขภาพจิต) พบว่าเด็กจังหวัดสตูลมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 96.66 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ เฉลี่ย 45.90 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 70) และพบว่าผลการประเมินปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ (เด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 264 คน ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน) อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 8.5 และอยู่ในระดับมีปัญหา ร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังว่าเด็กนักเรียน ป.1 สงสัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) เรียนรู้ช้า และสมาธิสั้น ร้อยละ 2.8, 15.4, 9.1 และ 9.4 ตามลำดับ

จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่าในปี 2561 มีจำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเขตตำบลกำแพง ที่เข้ารับการตรวจวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) จำนวน 25 ราย มีระดับความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 71.79 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) นกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็ก ที่อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสซึมมีจำนวน 8 ราย ปัญหาการเรียนรู้ (LD) จำนวน 8 ราย เรียนรู้ช้า (ID) จำนวน 15 ราย และสมาธิสั้นมีจำนวน 32 ราย และพบว่าในปี 2561 (ข้อมูล ก.ค 61) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจ.สตูล 10.32 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติก จ.สตูล ร้อยละ 58.12 (เกณท์ร้อยละ11) อำเภอละงู พบว่าจำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นร้อยละ 5.41 (เกณท์ร้อยละ 9) จำนวนการเข้าถึงบริการของเด็กที่มีปัญหาออทิสติกร้อยละ 30.77 (เกณท์ร้อยละ11)

จากปัญหาดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน” ขึ้น เพื่อค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและคนในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1. เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้
  2. ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต
  2. กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์
  3. กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ
  4. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านด้านพฤติกรรมและอารมณ์ในพื้นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
  2. อาสาสมัครในชุมชนมีความรู้ในเรื่องปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียนเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ระหว่างอาสาสมัครในชุมชน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต เขตตำบลกำแพง ประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 1 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต PCU กำแพง และเจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู จำนวน 19 คน ณ ห้องประชุม PCU กำแพง โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชุมดังนี้

  1. ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงวัตถุประสงค์/กิจกรรมโครงการ ในประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

  2. คืนข้อมูลปัญหาสุขภาพจิต และผู้ป่วยจิตเวชในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มารับบริการที่ รพ.ละงู แก่ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในแต่ละหมู่ รวมทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต

  3. มอบหมายให้ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ แจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 5 คน เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว และส่งต่อข้อมูลข่าวสาร

 

19 0

2. กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์

วันที่ 25 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

ให้ความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรม และอารมณ์ แก่อาสาสมัครในชุมชนและผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม
เด็กนักเรียนชั้นประถมของโรงเรียนเป้าหมาย ที่เข้ารับการตรวจประเมินด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน

  • โรงเรียนไสใหญ่ 7 คน

  • โรงเรียนบ้านท่าแลหลา 10 คน

  • โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์ 7 คน

  • โรงเรียนบ้านโกตา 8 คน

  • โรงเรียนบ้านอุไร 9 คน

  • โรงเรียนตูแตหรำ 9ิ คน

เป้าหมาย

  • อาสาสมัครในชุมชน จำนวน 60 คน

  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ประเมินความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2

 

110 0

3. กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ

วันที่ 26 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน ลงพื้นที่เยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ จำนวน 50 คน

  2. ให้คำแนะนำ การช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรมและอารมณ์

  3. กรณีพบเด็กที่มีอาการรุนแรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

เป้าหมาย

  • เด็กนักเรียนชั้นประถมของโรงเรียนเป้าหมาย ที่เข้ารับการตรวจประเมินด้านพฤติกรรมและอารมณ์
    จำนวน 50 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การลงติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่โรงเรียน และการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าหลังการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนและผู้ปกครอง ทำให้ผู้ดูแลมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้น ในการดูแล ป้องกันการเกิดความเสี่ยงด้านอารมณ์พฤติกรรมเด็ก มีการเข้าถึงบริการโรคจิตเวชในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยเด็กในพื้นที่ตำบลกำแพง ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็ก ในปี 2562 เป็นจำนวน 9 คน (โรคสมาธิสั้น ออทิสติก 8 คน และโรคซมเศร้า 1 คน ) จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ได้รับการยอมรับและการเข้าใจเรื่องโรคของผู้ปกครองที่มากขึ้นและมีการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการ การเข้าถึงการรักษาโรคและช่อทางการติดต่อระหว่างโรงเรียนกับหน่วยบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและสะดวกมากขึ้น

 

50 0

4. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 30 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเสนอกองทุนฯ ฉบับสมบูรณ์

 

5 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิต เขตตำบลกำแพง ประกอบด้วย ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 1 คน จำนวน 12 หมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิต PCU กำแพง และเจ้าหน้าที่งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู จำนวน 19 คน ณ ห้องประชุม PCU กำแพง โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชุมดังนี้

  1. ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงวัตถุประสงค์/กิจกรรมโครงการ ในประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

  2. คืนข้อมูลปัญหาสุขภาพจิต และผู้ป่วยจิตเวชในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่มารับบริการที่ รพ.ละงู แก่ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในแต่ละหมู่ รวมทั้งหมด 12 หมู่บ้าน เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยด้านสุขภาพจิต

  3. มอบหมายให้ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ แจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านๆละ 5 คน เข้ารับการอบรมในโครงการดังกล่าว และส่งต่อข้อมูลข่าวสาร


    กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และดูแลช่วยเหลือเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์

จากการประเมินโดยใช้แบบทดสอบ ประเมินความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2


กิจกรรมที่ 3 ค้นหา/ติดตามเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ

การลงติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมายที่โรงเรียน และการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าหลังการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนและผู้ปกครอง ทำให้ผู้ดูแลมีความตระหนักเพิ่มมากขึ้น ในการดูแล ป้องกันการเกิดความเสี่ยงด้านอารมณ์พฤติกรรมเด็ก มีการเข้าถึงบริการโรคจิตเวชในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยเด็กในพื้นที่ตำบลกำแพง ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งต่อเพื่อพบจิตแพทย์เด็ก ในปี 2562 เป็นจำนวน 9 คน (โรคสมาธิสั้น ออทิสติก 8 คน และโรคซมเศร้า 1 คน ) จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ได้รับการยอมรับและการเข้าใจเรื่องโรคของผู้ปกครองที่มากขึ้นและมีการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการ การเข้าถึงการรักษาโรคและช่อทางการติดต่อระหว่างโรงเรียนกับหน่วยบริการสาธารณสุขอย่างครอบคลุมและสะดวกมากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้
ตัวชี้วัด : 1. ผู้ป่วยที่พบปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กวัยเรียน ได้รับการช่วยเหลือ ร้อยละ 100
100.00 100.00

 

2 ข้อที่ 2. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน ร้อยละ 100 2. เด็กของโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรมและอารมณ์ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม 3. เด็กวัยเรียนในพื้นที่ของตำบลกำแพงได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น ด้านพฤติกรรม อารมณ์ โดยอาสาสมัครในชุมชน และได้รับการส่งต่อมายังสถานบริการ ร้อยละ 100
100.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด (กรมสุขภาพจิต) จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู พบว่า มีกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม - อารมณ์ เพิ่มขึ้นในทุกปี ที่ผู้ปกครอง คุณครู พาเข้ามารับการรักษา หรือขอคำปรึกษาในโรงพยาบาล โดยจากการศึกษาข้อมูลผู้ป่วยและจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อค้นหาและสามารถนำผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เข้าสู่กระบวนการดูแลช่วยเหลือได้ 2) เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเป้าหมายที่พบข้อสงสัยด้านพฤติกรรม อารมณ์ และเด็กในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยผู้ปกครองและอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 60 คน , ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน โดยการประเมินความรู้ ความเข้าใจในการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ก่อนและหลังการอบรม อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเป้าหมาย และสร้างช่องทางการติดต่อสื่อสารจากทั้งผู้ปกครองและกลุ่มอาสาสมัครในชุมชน เพื่อการติดต่อ สื่อสาร และส่งต่อข้อมูลของเด็ก เพื่อการช่วยเหลือและรักษาต่อไป

ผลการดำเนินงาน พบว่า กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ และโรคทางจิตเวชในเด็กวัยเรียน ของผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครในชุมชน จากระดับคะแนนเฉลี่ยนก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 63.70 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.9 และผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับการตรวจประเมินพฤติกรรม จากระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 69.40 เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 77.2

ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป นำผลลัพธ์การดำเนินกิจกรรมจากปีที่ผ่านมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแล ให้ความช่วยเหลือเด้กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ ในชุมชนต่อไป โดยการกระตุ้นการทำงานของแกนนำทางด้านสุขภาพจิตเด้กในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลของผู้ปกครองและการประสานกับคุณครูในโรงเรียน เป้าหมายเพื่อให้มีการช่วยเหลือเด็กได้มากขึ้น โดยผ่านช่อทางต่างๆทั้งจากอาสาสมัครในชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ให้การช่วยเหลือร่วมกัน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ยังไม่มีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในการให้บริการเบื้องต้น จึงให้เจอกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลก่อนนัดวันเพื่อไปพบจิตแพทย์เด็กที่โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา หรือโรงพยาบาลหาดใหญ่ ตามความสะดวกของผู้ปกครอง ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยโรค

 

แนวทางแก้ไข

  • งานสุขภาพจิตโรงพยาบาลละงู ร่วมกับงานจิตเวชโรงพยาบาลสตูล ได้จัดทำโครงการร่วมกันในการเชิญจิตแพทย์เด็กจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลา มาช่วยในการตรวจรักษาและวินิจฉัยเด็กที่โรงพยาบาลสตูลโดยการเขียนโครงการพิเศษขึ้นมา ทำให้มีการเข้าถึงบริการโรคจิตเวชในเด็กเพิ่มขึ้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 1 – 4

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงู )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด