กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 2 - 4 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 7 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน



บทคัดย่อ

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น การจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน และประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน ผลการดำเนินโครงการพบว่า จากข้อมูลเดิมการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี พบว่า ประชาชนที่มีค่า BMI 25.0 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการได้มีการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ รวมทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักหรืออ้วน หลังจากการตรวจคัดกรองแล้ว ได้มีการดำเนินโครงการโดยการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน จำนวน 3 ครั้ง โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเกณฑ์อ้วนมากลดลงเหลือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 เกณฑ์อ้วน ลดลงเหลือ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 เกณฑ์ท้วม เพิ่มขึ้นเป็น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.34 ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยยังคงเดิม จำนวน 2 ราย

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น  ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น

      จากการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านอุไร พบว่า ประชาชนที่มีค่าดัชนีมวลกาย 25-29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่าดัชนีมวลกาย มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งจากการสอบถามถึงพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มนี้ พบว่าสาเหตุที่ทำให้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน คือ 1) การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ชอบรับประทานอาหารประเภทแป้ง อาหารไขมันสูงและขนมหวาน 2) ขาดการออกกำลังกาย เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ด้านปัจจัยนำ พบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการลดความอ้วน โดยเชื่อว่าการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีต้องอดอาหาร และออกกำลังกายอย่างหนักจึงจะได้ผล ซึ่งเคยพยายามลดความอ้วนมาแล้วแต่น้ำหนักไม่ลด ทำให้ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมน้ำหนักได้ ด้านปัจจัยเอื้อ พบว่าชอบซื้ออาหารถุงปรุงสำเร็จเนื่องจากสะดวก ซึ่งอาหารส่วนใหญ่มีไขมันสูง ส่วนด้านปัจจัยเสริมที่ทำให้มีแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายได้แก่ การกระตุ้นเตือนและแรงสนับสนุนจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด

      จากสภาพปัญหาดังกล่าว อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนหมู่ที่ 8 บ้านอุไร เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรค และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ ซึ่งหากประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี ก็นับเป็นต้นทุนทรัพยากรที่เป็นกำลังสำคัญของชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน
  2. ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
  2. กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  4. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดกลุ่มแกนนำสุขภาพในชุมชน ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพ

  2. ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนได้ออกกำลังกาย สามารถป้องกัน และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้

  3. กลุ่มเป้าหมายที่มีค่า MBI เกิน สามารถลดและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 1 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนดำเนินกิจกรรม โดยเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร หรือ 80 เซนติเมตรในเพศหญิง หรือมีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

  2. นัดตรวจหาระดับไขมันในร่างกาย ระดับความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย เพื่อเป็นมาตรฐานก่อนเริ่มโครงการ

  3. ประชุมชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการ ขอความร่วมมือในการปฏิบัติตัวที่จะต้องออกกำลังกายโดยการ เช่น เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน-วิ่ง ฟิสเนส เป็นต้น และการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก

  4. ให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์ ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย

  5. ดำเนินการออกกำลังกายในชุมชน ตามความสนใจ

  • โดยการเต้นแอโรบิค เวลา 17.00-18.00 น. อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์

  • ปั่นจักรยาน

  • เดิน วิ่ง และฟิตเนส เป็นต้น


    เป้าหมาย

  • ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน

  • ประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น

 

50 0

2. กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน

วันที่ 10 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. การจัดตั้งกลุ่มแกนนำสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข เยาวชน ผู้สูงอายุ และชาวบ้าน  เป็นต้น

  2. ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ

  3. กลุ่มแกนนำสุขภาพ รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ในชุมชนเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

เป้าหมาย

  • แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 20 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินงาน

ได้ประชุมโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน อสม. เยาวชน และชาวบ้าน คัดเลือกแกนนำสุขภาพ โดยการเสนอรายชื่อในที่ประชุม และคัดเลือกตำแหน่งแกนนำต่างๆ โดยแต่งตั้งรายชื่อกลุ่มแกนนำสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน จำนวน 20 คน ซึ่งแกนนำสุขภาพได้รณรงค์/ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม

 

20 0

3. ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เป้าหมาย

  • ประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการหลังดำเนินกิจกรรม

  2. สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่า BMI ไม่ลด ดำเนินการ ดังนี้

  • นัดพบปะกลุ่มที่มีค่า BMI เกิน เพื่อประชุมถอดบทเรียน เสนอแนวคิด ผลลัพธ์หลากหลายด้านของรายบุคคลและกิจกรรม เป็นต้น

  • ประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามการปฎิบัติตนและสอบถามทัศนคติเรื่อง อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์

  • ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน

  • ติดตามผล อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

 

20 0

4. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 30 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการฯฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอแก่กองทุนฯ

 

5 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน และเพื่อลดอัตราโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน จากข้อมูลเดิมการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี พบว่า ประชาชนที่มีค่า BMI 25.0 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการได้มีการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ รวมทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักหรืออ้วน หลังจากการตรวจคัดกรองแล้ว ได้มีการดำเนินโครงการโดยการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น

กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน จำนวน 3 ครั้ง โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)
พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเกณฑ์อ้วนมากลดลงเหลือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 เกณฑ์อ้วน ลดลงเหลือ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 เกณฑ์ท้วม เพิ่มขึ้นเป็น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.34 ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยยังคงเดิม จำนวน 2 ราย

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร 2. ประชาชนทั่วไป/ผู้ที่สนใจและกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 70 เข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
80.00 81.67

 

2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ตัวชี้วัด : 1. อัตราโรคแทรกซ้อนของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีอัตราลดลง
50.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุข ที่แนวโน้มมีความรุนแรงมากขึ้น โดยสาเหตุปัจจัยที่สำคัญส่วนใหญ่จากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการบริโภคอาหารไขมันสูง พฤติกรรมนั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วน โดยการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น การจัดทำโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน 2) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน เป้าหมาย ประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ จำนวน 30 คน และประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน จำนวน 20 คน ผลการดำเนินโครงการพบว่า จากข้อมูลเดิมการตรวจคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุตั้งแต่ 20-50 ปี พบว่า ประชาชนที่มีค่า BMI 25.0 – 29.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 5 คน และมีค่า BMI มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จำนวน 15 คน ซึ่งก่อนเริ่มดำเนินโครงการได้มีการตรวจคัดกรองประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ รวมทั้งกลุ่มที่มีภาวะน้ำหนักหรืออ้วน หลังจากการตรวจคัดกรองแล้ว ได้มีการดำเนินโครงการโดยการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารในการควบคุมน้ำหนัก ประโยชน์และข้อพึงปฏิบัติในการออกกำลังกาย ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน – หลังการอบรม (จำนวน 10 ข้อ) ก่อนการอบรมคะแนนของผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4- 7 คะแนน จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 แต่หลังจากการให้ความรู้พบว่าคะแนนของผู้เข้าร่วมอยู่ระหว่าง 8 – 10 คะแนน จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 ซึ่งผ่านตัวชี้วัด

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกกำลังกายตามความสนใจ โดยการเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน เดิน วิ่ง และฟิตเนส ผลการสังเกตของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 ประชาชนมีการตื่นตัวกันมาก ให้ความสำคัญของการออกกำลังกาย จากการสอบถามเป็นรายบุคคล ซึ่งอยากสุขภาพที่ดีขึ้น จะได้ป้องกันตัวเองจากโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาภายหลัง ในกลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน อยากจะลดน้ำหนักให้ได้ เพื่อที่จะมีรูปร่างที่ดี ใส่เสื้อผ้าได้สวยงาม และห่างไกลโรค แต่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเคยชินกับรสชาติอาหาร ที่กินตามใจปาก และอาหารที่รับประทานต้องมีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะทิต่างๆ แต่มีกลุ่มเป้าหมายบางรายที่อยากลดน้ำหนักอย่างจริงจัง และสามารถควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของตัวเองได้ไม่ว่าจะเรื่องการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร โดยหันมากินผักกันเพิ่มขึ้น ลดอาหารที่มีไขมันสูง การออกกำลังกายของบางคนไม่ได้มาร่วมกันออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสาเหตุเนื่องมาจากการประกอบอาชีพ ทำให้ส่วนหนึ่งไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งประเภทการออกกำลังกายของประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิค ร้อยละ 85 ปั่นจักรยาน ร้อยละ 5 ฟิตเนส เดิน ร้อยละ 10 เป็นต้น
กิจกรรมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดำเนินการติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน จำนวน 3 ครั้ง โดยการหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) พบว่า หลังเข้าร่วมโครงการผู้เข้าร่วมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากเกณฑ์อ้วนมากลดลงเหลือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.00 เกณฑ์อ้วน ลดลงเหลือ 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 เกณฑ์ท้วม เพิ่มขึ้นเป็น 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.00 เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.34 ซึ่งมีค่าการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยยังคงเดิม จำนวน 2 ราย

การถอดบทเรียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการที่ไม่สามารถลดค่า BMI ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่ชอบรับประทานอาหารประเภททอด กะทิ เพราะมีรสชาติอาหารที่กลมกล่อม รวมทั้งพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งไม่เห็นสำคัญของสุขภาพ เพราะบางคนถ้าไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรค ก็จะไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ บางคนรอให้เป็นโรคก่อนถึงจะออกกำลังกาย ซึ่งได้ติดตามอัตราโรคแทรกซ้อนของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่พบโรคแทรกซ้อนต่างๆ ของแต่ละคน รวมทั้งส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการปวดข้อต่างๆ ได้ลดลง ร่างกายแข็งแรงและระบบการขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งในภาพรวมประชาชนพึ่งพอใจเป็นอย่างมากในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้และอยากให้มีต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ
  1. กลุ่มเป้าหมายที่มีค่า BMI เกิน ไม่ได้มาร่วมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการประกอบอาชีพ

  2. เป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไม่สามารถลดค่า BMI ได้ เนื่องมาจากความชินในการบริโภคอาหาร บริโภคอาหารตามใจปาก และรสชาติอาหาร

 

  1. แนะนำให้กับกลุ่มที่มีค่า BMI เกิน กรณีที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่นๆ เช่น ลดการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม

  2. แกนนำชุมชนต้องร่วมรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค


โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2562 – L8010 – 2 - 4

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 8 บ้านอุไร )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด