กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็มเพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๒

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็มเพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลกาหลงอำเภอศรีสาครจังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L2524-1-0010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุชภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 27 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2562
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาณิต้า ดามัน
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัลดุลรอฟิด หะยีดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291212271236,101.50832747571place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2562 27 ธ.ค. 2562 1 มิ.ย. 2562 27 ธ.ค. 2562 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 320 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ คือหมู่ที่ ๑-๔ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลกลางปีในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (ก
4.00
2 ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ คือหมู่ที่ ๑-๔ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลกลางปีในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (ก
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ คือหมู่ที่ ๑-๔ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลกลางปีในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ (กรกฎาคม ๒๕๖๑ –พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ) มีประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ทั้งหมด ๙๙๒ คน จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนในพื้นที่ตำบลกาหลงโดยการตรวจร่างกาย พบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมาย อายุ ๓๕ ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง และเบาหวาน จำนวน ๙๘๘ คน (ร้อยละ ๙๙.๖๐) พบว่ามีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๔๑ คน (ร้อยละ ๓๔.๕๑) และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๑๘๙ คน (ร้อยละ๑๙.๑๓) สิ่งที่น่าวิตกอย่างยิ่ง คือ ในจำนวนผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๖๐ ในชาย และ ๔๐ ในหญิงไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน (ไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง) ร้อยละ ๑๕ ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้อาการทวีความรุนแรงขึ้นเพราะไม่ได้รับการรักษา และในกลุ่มของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา พบว่ามีเพียง ๑ ใน ๔ ที่ได้รับการรักษาและควบคุมความดันโลหิตได้ ซึ่งถือว่าต่ำมากสำหรับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น จากการประเมินความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค ความรู้การดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย พบว่าส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีการควบคุมอาหารรสเค็ม นิยมบริโภคอาหารมันๆ และออกกำลังกายน้อย ไม่ตระหนักต่อการดูแลตนเองขณะสุขภาพดี สนใจที่จะดูแลตนเองก็ต่อเมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วย แนวโน้มตรงนี้ทำให้เกิดกลุ่มผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และในกลุ่มเรื้อรังเองก็ยังพบภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น แผลติดเชื้อในผู้ป่วยเบาหวาน เส้นเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ ฯ หลายรายในปีที่ผ่านมา จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงมีแนวคิดในการปรับเปลี่ยน และพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรังนี้ ได้โดยการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองให้ถูกต้อง เพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง และส่งเสริมการบริโภคที่ให้กับประชากรกลุ่มนี้ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจและสังคมให้ดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดผู้เสี่ยงสามารถการเจ็บป่วย ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ภาระและค่าใช้จ่ายของครอบครัว สังคม ในด้านการรักษาพยาบาลที่จะตามมา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลกาหลง ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานร้อยละ ๙๐

ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร้อยละ......๙๐............

3.00 0.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ๑๐๐ และเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ...๑๐๐.........................

3.00 0.00
3 ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยโรคก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 0 0.00
??/??/???? 1.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม. 0 1,500.00 -
??/??/???? ๒.คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป๑.ตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่าย อสม.ตำบลกาหลงทั้ง 4 หมู่ ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด ๒. นัดผู้ป่วยที่เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตรวจซ้ำในส 0 11,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ ๙๐ ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๑๐๐ ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจและวินิจฉัยโรคก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 00:00 น.