กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 62-L8287-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 32,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหมัดอุเส็น สามารถ
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.ค. 2562 15 ก.ย. 2562 32,450.00
รวมงบประมาณ 32,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 535 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพของคนไทยทุกกลุ่มวัย ทำให้ประชาชนมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังสูงมากขึ้น การดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปตามแบบสังคมตะวันตก บริโภคอาหารจานด่วน ขนมกรุบกรอบ บริโภคอาหารที่มีแป้ง และไขมันสูง รับประทานโปรตีน ผักและผลไม้ไม่เพียงพอ และไม่เหมาะสมตามวัย และการขาดการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของพื้นที่ตำบลเทพา ปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 227 คน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 155 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 641 คนไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ จำนวน 380 คน ผู้ป่วยดังกล่าวมีค่า BMI เกินมาตรฐานร้อยละ 74.26 มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานร้อยละ 86.17 พฤติกรรมการเติมเกลือหรือโซเดียมในอาหารร้อยละ 58.50 และขาดพฤติกรรมการออกกำลังกายร้อยละ 52.60
  ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเทพา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการจัดการโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงแบบบูรณาการ โดยจัดให้มีการเตรียมความพร้อมทุกส่วนเพื่อค้นหาปัญหา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการจัดการโรคเรื้อรัง

กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านกระบวนการในโครงการมีความรู้ >ร้อยละ 80

80.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้กลุ่มป่วย DM,HT ควบคุมโรคได้

กลุ่มป่วย DM ควบคุมโรคได้ ร้อยละ 40 กลุ่มป่วย HT ควบคุมโรคได้ ร้อยละ 50

40.00
3 ข้อที่3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,450.00 4 32,450.00
12 ก.ค. 62 ประเมินภาวะสุขภาพ ทุก 3 เดือน 0 0.00 0.00
31 ก.ค. 62 ประชุมถอดบทเรียน โดยใช้เทคนิค Body Paint 0 0.00 0.00
8 ส.ค. 62 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเองและจัดการโรคในกลุ่มป่วย(AIC)โดยร่วมดำเนินการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ญาติ และภาคีเครือข่าย โดยให้กลุ่มป่วยวิเคราะห์ ความเสี่ยงด้านสภาวะสุขภาพ 0 32,450.00 32,450.00
9 ส.ค. 62 เยี่ยมติดตามเสริมพลัง 0 0.00 0.00
  1. ประชุม อสม.เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. จัดทำโครงการ ขออนุมัติการใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
  3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา

- ผู้นำชุมชนและ อสม. - ผู้ป่วยโรคความดันและเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ จำนวน 535 คน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
- คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ศูนย์ 1 , 2 รพ.เทพา 4. ศึกษาปัญหาและเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยโรคความดันและเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้ 5. เชิญชวนและรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยสมัครใจ 6. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเองและจัดการโรคในกลุ่มป่วย(AIC)โดยร่วมดำเนินการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ญาติ และภาคีเครือข่าย โดยให้กลุ่มป่วยวิเคราะห์ ความเสี่ยงด้านสภาวะสุขภาพจาก 6.1 ตารางบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง ค่า BMI เส้นรอบเอว ผลการตรวจน้ำตาลและค่าความดันโลหิต 6.2 บันทึกพฤติกรรมการกิน 3 วันที่ผ่านมาและค้นหาพฤติกรรมการกินที่ต้องแก้ไข 6.3 วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน 1 สัปดาห์ 6.4 บันทึกพฤติกรรมการออกกำลังกายของตนเองในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 6.5 ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และให้ข้อมูลเรื่องการออกกำลังกายโดยวิทยากร 6.6 วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ 6.7 นัดหมายครั้งต่อไปเพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย 7. พัฒนากระบวนการสร้างคุณค่าในตัวเองให้แก่ผู้ป่วยโดยการใช้โปรแกรม MI และการเสริมพลังโดยครอบครัวและ
    ชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มป่วย DM,HT ควบคุมโรคได้ไม่เปิดภาวะแทรกซ้อน 2. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย DM,HT 3. ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2562 10:28 น.