กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่


“ โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ”

ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน

ชื่อโครงการ โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

ที่อยู่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 60-L3336-1-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึง 15 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 60-L3336-1-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2560 - 15 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลดอนประดู่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2557 ประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 40,278 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.33 ต่อแสนประชากร เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 41 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, มกราคม 2558) จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยทั้งหมด 772 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.20 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยทั้งหมด 64 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 125.19 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2558 ประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 142,925 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 219.46 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 141 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, มกราคม 2559) จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยทั้งหมด 519 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.39 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีิวิต อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยทั้งหมด 62 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 121.78 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 18 ราย อาชีพี่พบมากที่สุด คือ อาชีพนักเรียน มีจำนวนผุ้ป่วยทั้งหมด 36 ราย ตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ตำบลดอนประดู่ มีอัตราป่วย 263.77 ต่อประชากรแสนคน สำหรับปี 2559 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2559) อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.85 ต่อประชากรแสนคน มีค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลายที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คือ หมู่บ้านร้อยละ 46.55 โรงเรียนร้อยละ 31.57 และศาสนสถาน ร้อยละ 31.18 จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยูงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่า การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรีย ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ขไปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจักและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลดอนประดู่ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
  3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    2. ลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
    3. ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควนได้ดำเนินการจัดทำโครงการ ชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก เพื่อวัตถุประสงค์ลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคที่นำโดยยุงลาย เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน ให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุข มีความพึงพอใจในกิจกรรมโครงการ ชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนวัดหัวควน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 150 คน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2560     จากการดำเนินงานตามโครงการพบว่า     1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง     2. ก่อนดำเนินโครงการประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 91 คน คิดเป็นร้อยละ 60.66 หลังดำเนินโครงการประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม 125 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.67     3. ก่อนดำเนินโครงการประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 52.50 หลังดำเนินโครงการประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 82.50 ประชานมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30     4. ก่อนดำเนินโครงการนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 54 หลังดำเนินโครงการนักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 82 นักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28     5. ก่อนดำเนินโครงการ อสม.มีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 70 หลังดำเนินโครงการ อสม.มีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้อง จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 86.66 อสม.มีพฤติกรรมการป้องกันไข้เลือดออกได้ถูกต้องเพิ่มขึึ้น ร้อยละ 16.66     6. ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุข มีความพึงพอใจในกิจกรรมโครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก จำนวน 131 คน ร้อยละ 87.33
        รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ     งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอนประดู่ ประจำปีงบประมาณ 2560 จำนวน 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้     1. ค่าอาหารกลางวัน และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 150 คน คนละ 1 วัน ดังนี้     - ค่าอาหารกลางวัน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท  เป็นเงิน 7,500 บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท     2. กิจกรรมจัดประชุมติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คน คนละ 1 ครั้ง ใช้งบประมาณ ดังนี้     - ค่าอาหารกลางวัน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
    ตัวชี้วัด : 1. จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 1 ครั้ง 2 นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 150 คน เข้ารับการประชุมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คนละ 1 ครั้ง

     

    2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียน ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตตัวเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2. นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายไขว้เขต เดือนละ 1 ครั้ง

     

    3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตตัวเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 8 สัปดาห์ 2. นักเรียน ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจแห่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไขว้เขต เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 เดือน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม (2) เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน (3) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 60-L3336-1-01

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด