กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ


“ โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ ”

ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางสาวซูไฮลา ลีเดร์

ชื่อโครงการ โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ

ที่อยู่ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L2537-01-07 เลขที่ข้อตกลง 007

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 31 มีนาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 63-L2537-01-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 54,476.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เหา หรือ Louse เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (Parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคน หรือสัตว์ และดำรงชีวิตโดยการดูดเลือดเป็นอาหารสามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดกัน อาการหลัก คือ อาการคัน ส่วนปัญหาสำคัญของผู้เป็นเหาคือ อาจกลายเป็นที่รังเกียจของสังคม การติดเหา สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเชื้อชาติ โดยทั่วโลกพบผู้ที่เป็นเหามากกว่าร้อยล้านคนต่อปี และพบอัตราการเป็นเหาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศด้อยพัฒนาไม่แตกต่างกันนัก โดย เหาที่ศีรษะ (Pediculushumanuscapitisหรือ Pediculosiscapitis) พบได้ในคนทุกระดับตั้งแต่ฐานะยากจน กระทั่งฐานะร่ำรวย และมักพบในวัยเด็ก การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอาการหลักคืออาการคันที่ศีรษะ ซึ่งเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงนี้ ทำให้เด็กมีปัญหานอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ได้นอกจากนี้การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ และตัวเหายังเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epidemic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้นการรักษาเหาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาเบนซิลเบนโซเอต ๒๕% การใช้ยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่นและการใช้สมุนไพรรักษา เช่น เมล็ดหรือใบน้อยหน่า ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อีกด้วย จากการตรวจสุขภาพของนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีเด็กนักเรียนเป็นเหาร้อยละ ๔๖.๐๒ ซึ่งการเป็นเหาในเด็กวัยเรียนมีโอกาสหายค่อนข้างยาก และมีโอกาสติดโรคซ้ำ เนื่องจากภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน ทำให้เหาเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอดปี จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียนตำบลมูโนะ เหาตายสบายศีรษะ โดยใช้น้ำยาสกัดจากใบน้อยหน่าขึ้น เพื่อลดโรคเหาในเด็กนักเรียน และเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการป้องกัน และรักษาโรคเหาเพิ่มขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ในการป้องกัน และรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น
  3. เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ขั้นตอนการดำเนินงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 412
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
  2. ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้กับบุตรและตนเองได้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ขั้นตอนการดำเนินงาน

วันที่ 23 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการต่อชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โรงเรียน
1.2 ประชาสัมพันธ์โดยการประชุม ถ่ายทอดโครงการสู่ชุมชนที่ประชุมชาวบ้าน ที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล
1.3 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1 กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองนักเรียนที่เป็นเหา
1) สำรวจจำนวน และรายชื่อเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากรายงานการตรวจสุขภาพนักเรียน
2) ตรวจคัดกรองเหาในเด็กที่นักเรียนสำรวจรายชื่ออีกรอบ และสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาเพิ่มเติม
3) ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน/ประสานผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 2.2 กิจกรรมที่2การให้ความรู้เรื่องเหา กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
1) ให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และรักษาโรคเหา แก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่เป็นเหาโดยให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้ 2) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้น้ำยาสกัดใบน้อยหน่าชโลมให้ทั่วศีรษะโพกผ้าขนหนูทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมงจึงล้างออก 3) เด็กนักเรียนสระผมอีกครั้ง พร้อมใช้หวีเสนียดสางเอาตัวและไข่เหาออก
4) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 1 สัปดาห์
5) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม  54,476.00  บาท กิจกรรมที่ 3 ขั้นประเมินผล 1) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
2) สรุปผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
  2. ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้กับบุตรและตนเองได้

 

412 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โรงเรียนบ้านปาดังยอ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 66 คน (ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ธันวาคม 2563) ได้มีการกำจัดทั้งหมด 66 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และหลังจากที่หมักยาสมุนไพรกำจัดเหา 1 ชั่วโมง ได้มีการล้างศีรษะและแชมพู และใช้หวีเสนียดหวีเหาเพื่อกำจัดเหาบนหนังศีรษะ และนัดติดตามพร้อมกำจัดเหาครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 มกราคม 2564 แลได้มีการให้ความรู้กับผู้ปกครอง คุรครู เกี่ยวกับการทำน้ำยาสมุนไพรกำจัดเหาเพื่อใช้เองที่บ้าน และสอนวิธีการกำจัดเหาที่ถูกวิธี การดูแลความสะอาดของหนังศีรษะ กำจัดเหาครั้งที่ 2 (วันที่ 11 มกราคม 2564) ได้มีการกำจัดทั้งหมด 66 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเหาลดลงจากเดิม บางคนมีแต่ไข่เหาที่ตายแล้ว ซึ่งพบว่ามีนักเรียนที่ยังมีเหาเยอะ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 18.18 และเหาลดลงจำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 โรงเรียนบ้านปูโป๊ะ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 96 คน (ครั้งที่ 1 วันที่ 24 ธันวาคม 2563)
ได้มีการกำจัดทั้งหมด 96 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และหลังจากที่หมักยาสมุนไพรกำจัดเหา 1 ชั่วโมง ได้มีการล้างศีรษะและแชมพู และใช้หวีเสนียตหวีเหาเพื่อกำจัดเหาบนหนังศีรษะ และนัดติดตามพร้อมกำจัดเหาครั้งที่ 2 ในวันที่ 13 มกราคม 2564 และได้มีการให้ความรู้กับผู้ปกครอง คุณครู เกี่ยวกับการทำน้ำยาสมุนไพรกำจัดเหาเพื่อใช้เองที่บ้าน และสอนวิะีการกำจัดเหาที่ถูกวิะี การดูแลความสะอาดของหนังศีรษะ กำจัดเหาครั้งที่ 2 (วันที่ 13 มกราคม 2564) ได้มีการกำจัดทั้งหมด 96 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเหาลดลงจากเดิม บางคนมีแต่ไข่เห่าที่ตายแล้ว ซึ่งพบว่ามีนักเรียนที่ยังมีเหาเยอะจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20.83 และเหาลดลงจำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 79.12 โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะลือซง กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 64 คน (ครั้งที่ 1 วันที่ 25 ธันวาคม 2563) ได้มีการกำจัดทั้งหมด 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และหลังจากที่หมักยาสมุนไพรกำจัดเหา 1 ชั่วโมง ได้มีการล้างศีรษะและแชมพู และใช้หวีเสนียตหวีเหาเพื่อกำจัดเหาบนหนังศีรษะ และนัดติดตามพร้อมกำจัดเหาครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 มกราคม 2564     และได้มีการให้ความรู้กับผู้ปกครอง คุณครู เกี่ยวกับการทำน้ำยาสมุนไพรกำจัดเหาเพื่อใช้เองที่บ้าน และสอนวิธีการกำจัดเหาที่ถูกวิธี การดุแลความสะอาดของหนังศีรษะ
กำจัดเหาครั้งที่ 2 (วันที่ 14 มกราคม 2564)   ได้มีการกำจัดเหาทั้งหมด 64 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเหาลดลงจากเดิม บางคนมีแต่ไข่เหาที่ตายไปแล้ว ซึ่งพบว่ามีนักเรียนที่ยังมีเหาเยอะจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 9.37 และเหาลดลงจำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 90.63 โรงเรียนบ้านมูโนะ กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 186 คน (ครั้งที่ 1 วันที่ 28 ธันวาคม 2563) ได้มีการกำจัดทั้งหมด 186 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และหลังจากที่หมักยาสมุนไพรกำจัดเหา 1 ชั่วโมง ได้มีการล้างศีรษะและแชมพู และใช้หวีเสนียตหวีเหาเพื่อกำจัดเหาบนหนังศีรษะ และนัดติดตามพร้อมกำจัดเหาครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 มกราคม 2564   และได้มีการให้ความรู้กับผู้ปกครอง คุรครู เกี่ยวกับการทำน้ำยาสมุนไพรกำจัดเหาเพื่อใช้เองที่บ้าน และสอนวิธีการกำจัดเหาที่ถูกวิะี การดูแลความสะอาดของหนังศีรษะ กำจัดเหาครั้งที่ 2 (วันที่ 14 มกราคม 2564)   ได้มีการกำจัดทั้งหมด 186 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี และพบว่ากลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเหาลดลงจากเดิม บางคนมีแต่ไข่เหาที่ตายแล้ว ซึ่งพบว่ามีนักเรียนที่ยังมีเหาเยอะจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 20.43 และเหาลดลงจำนวน 148 คน คิดเป็นร้อยละ 79.56

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ในการป้องกัน และรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 412
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 412
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน (2) เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้ในการป้องกัน และรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น (3) เพื่อดูแลสุขภาพตัวเองเบื้องต้นได้

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ขั้นตอนการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 63-L2537-01-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวซูไฮลา ลีเดร์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด