กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563 ”
ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
นางนฤมล โต๊ะหลัง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563

ที่อยู่ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5307-1-06 เลขที่ข้อตกลง 10/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 63-L5307-1-06 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 22,255.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 15 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากนโยบาย Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และทิศทางหนึ่งคือ การยกระดับคุณค่ามนุษย์ พัฒนาคนไทยให้เป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21” ควบคู่กับการเป็น “คนไทย 4.0 ในโลกที่หนึ่ง” โดยมีการกำหนดคุณลักษณะของคนไทย 4.0 คือ คนไทย มี IQ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 ภายใน 5 ปี และร้อยละ 70 ของเด็กไทย มีคะแนน EQ ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ในปี 2559 กรมสุขภาพจิต ได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญา (ไอคิว: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : EQ) เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 23,641 คน พบว่า เด็กมีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 98.2 ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 94 แต่สิ่งที่ต้องชวนคิดชวนคุยกันให้มากขึ้นนั้นคือ ยังพบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่า 70 ถึงร้อยละ 5.8 สูงกว่ามาตรฐานสากล (ไม่ควรเกินร้อยละ 2) สำหรับจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1 จากข้อมูลสำรวจ ปี 2554 พบว่า มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 101.40 และปี 2559 มีคะแนนไอคิว เฉลี่ยอยู่ที่ 100.55 ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย จึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรที่เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิด เป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโต และการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการอยู่รอดต่ำมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาท้องเสีย หรือปอดบวม ในปัจจุบันมีหลักฐานที่แสดงว่า เด็กที่โตขึ้นมาจากทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหา โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน Coronary heart disease และ stroke รวมทั้งค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในระยะวิกฤตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนสูง สาเหตุสำคัญของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม (2,500 กรัม) คือ การคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนกำหนด preterm หมายถึง การคลอดเมื่ออายุครรภ์ ต่ำกว่า 37 สัปดาห์) ประมาณ 75% ของการเสียชีวิตของทารกแรกเกิด เกิดในกลุ่มทารกน้ำหนักน้อย หรือถ้ารอดตายในช่วงต้นของชีวิต ก็อาจมีปัญหา ในด้านการเจริญเติบโต หรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน เห็นความสำคัญของมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เพื่อให้การดำเนินงานมีการบูรณาการ โดยให้เกิดคลินิกฝากครรภ์คุณภาพ (ANC)คลินิกเด็กสุขภาพดีมีคุณภาพ (WCC)อาสาสมัครสาธารณสุขคุณภาพ และครอบครัวคุณภาพ ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมือง จ.สตูล ปีงบประมาณ 2563

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  2. เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว
  3. เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข
  2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี
  3. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 8
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่น้อยกว่าร้อยละ7

2.ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85

3.ร้อยละของเด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 52

4.ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนามัยของแม่และเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5.เครือข่ายการดำเนินงานและการบริหารจัดการร่วมกัน ในการแก้ไขปัญหาสำคัญด้านอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่ โดยผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชิวิตระดับอำเภอ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข

วันที่ 29 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

4.2.1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (เนื้อหาประกอบด้วย  การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  การดูแลและติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับยาวิตะมินเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา  ประโยชน์ของการฝากครรภ์  การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  การดูแลหญิงหลังคลอด การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก และติดตามเด็กกลุ่มปกติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ร้อยละ 100 ของ  อสม.ได้รับความรู้และทักษะในการแนะนำกลุ่มเป้าหมาย และการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  การดูแลและติดตามหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับยาวิตะมินเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา  ประโยชน์ของการฝากครรภ์  การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  การดูแลหญิงหลังคลอด การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก และติดตามเด็กกลุ่มปกติ

 

49 0

2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

4.2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่ง ชีวิต) ๑) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาหญิง ตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ๒) จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายบุคคล (Individual Care
plan) ๓) จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์และสามีตามหลักสูตรเนื้อหา
การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000 วัน อาหาร การพักผ่อน วิธีการออกกำลังกาย การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร การประเมินความเครียดและวิธีการจัดการความเครียด วิธีการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ศักยภาพสมองเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการสังเกตอาการเจ็บครรภ์เตือนอาการเจ็บครรภ์คลอด และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์ ๔) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข  ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑.1 ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และทักษะในการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และส่งเสริมพัฒนาการ และเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
1.2 ร้อยละ 100ของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และการคลอด โดยการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย
1.3 ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม 1.4อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ  6.9

 

30 0

3. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

4.2.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี
๑) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมกันค้นหาเด็กแรก เกิดถึงปีในพื้นที่และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ๒) จัดบริการคัดกรองค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเกณฑ์เสี่ยง ในเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ดังนี้ - มีภาวะความพิการแต่กำเนิด - มีประวัติมีภาวะขาดอออกซิเจนในระยะแรกเกิด - น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม - มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์) - มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (เต้ย,ผอม) หรือเกินเกณฑ์ (อ้วน) - มีภาวะซีด ( Hct. <33% หรือ Hb <11gms) - เด็กอยู่ในภาวะยากลำบาก (ไม่มีผู้เลี้ยงดู/ครอบครัวหย่าร้าง/เด็กมีประวัติถูกกระทำความรุนแรง) - แม่อายุน้อยกว่า 17 ปี ๓) จัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล (Individual Care
plan) ๔) จัดทำแผนปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง
ประจำเดือน ๕) จัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูเด็ก ตาม หลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1,000 แรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1,000วัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารตามวัย วิธีการออกกำลังกายและการพักผ่อน การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร วิธีการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทางในคู่มือ DSPM ศักยภาพสมองเด็ก การวัดและประเมินการเจริญเติบโต การป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์) ๖) ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ เดือนละครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (Excusive Breast Feeding) ร้อยละ 60
  2. เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 94  คน  ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ  จำนวน 90 คน
    คิดเป็นร้อยละ 95.74
  3. เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จำนวน 94  คน  สูงดีสมส่วน  จำนวน  75 คน
    คิดเป็นร้อยละ  79.79  ของเด็ก 0-2 ปี สูงดีสมส่วน
  4. เด็กกลุ่มที่มีความเสี่ยงได้รับการติดตาม จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 100

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
1.หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ระยะเวลาในการตั้งครรภ์กินเวลา 9 - 10 เดือน ซึ่งบางคนย้ายที่อยู่ที่ทำงาน ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการฝากครรภ์ ประกอบกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ซึ่งต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ทำให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการได้ยากขึ้น
2.ช่วงทำโครงการ ติดอยู่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด - 19 ทำให้การประชุมอบรมและการติดตามกลุ่มเสี่ยงต่างๆทำให้ยากขึ้น
แนวทางการแก้ไข
1.แนะนำสถานบริการที่หญิงตั้งครรภ์และเด็กสามารถเข้าถึงบริการได้ โดยอธิบายโครงการฝากครรภ์ฟรีทุกที่ทุกสิทธิ์
2.ในกรณีหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงของโรคระบาดโควิด 19 ประสานงานกับโรงพยาบาสตูล เพื่อปฏิบัติตามแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็กในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 อย่างเคร่งครัด
3.ในการติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง การให้ความรู้ได้ปรับเปลี่ยนเป็นรายบุคคล เว้นระยะห่าง และมอบเอกสารให้ความรู้แทนในช่วงที่ยังมีการควบคุมโรคเย่างเข้มงวด

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตัวชี้วัด : 1. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์5ครั้ง ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงในการตั้งครรภ์และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
15.00 80.00 100.00

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

2 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว
ตัวชี้วัด : อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
8.00 50.00 60.00

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

3 เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัย 2.ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี สูงดีสมส่วน
15.00 52.00 95.74

ร้อยละของเด็ก 0-2 ปี มีพัฒนาการเด็กสมวัย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 23
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 15
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 8
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน (2) เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียว (3) เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย  สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข (2) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี (3) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนอ.เมืองจ.สตูลปีงบประมาณ 2563 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 63-L5307-1-06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนฤมล โต๊ะหลัง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2 )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด