กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ


“ พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล ”

อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสังคม ชูยิ้มพานิชย์

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล

ที่อยู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-L3333-01-13 เลขที่ข้อตกลง 08/2563

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล



บทคัดย่อ

โครงการ " พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 63-L3333-01-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 19,187.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพและได้ยกระดับสถานีอนามัยเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)”โดยแนวคิดมุ่งเน้นการบริการสาธารณสุขผสมผสานเชิงรุก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม และให้บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถให้คำปรึกษา พร้อมทั้งยังส่งต่อผู้ป่วยได้ มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการบริการสุขภาพของประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น โดยมีรั้วตำบลเป็นรั้วของโรงพยาบาล เตียงที่บ้านผู้ป่วยคือเตียงของโรงพยาบาล และมีทีมสหวิชาชีพ อาทิ พยาบาลวิชาชีพหรือเวชปฏิบัติ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตสาธารณสุข นักกายภาพ  และอื่นๆ รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมกันดูแลสุขภาพ    ของคนในตำบลที่รับผิดชอบ
      ประกอบกับ กระทรวงสาธารณสุข  มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System : DHS) โดยมีหลักคิดของระบบสุขภาพระดับอำเภอ ต้องการให้เกิดภาพของการรับรู้และการร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนในอำเภอให้ดีขึ้น โดยกลไกทีมหมอครอบครัว ทั่วไทย คนไทยแข็งแรง ทุกครัวเรือน มีหมอครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข จิตอาสาสุขภาพ (นักบริบาล-ชุมชน) ที่มีบทบาทในการให้บริการสุขภาพเกิดสมดุลด้วยทีมสาธารณสุขที่เป็นทีมเดียวกันในการร่วมรับรู้และทำงาน เพื่อการตอบสนองต่อสุขภาวะ และสภาวะที่เปลี่ยนแปลงในชุมชนตลอดเวลา การบริหารจัดการเครือข่ายสุขภาพที่มีความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการปัญหาสุขภาพอย่างเป็นเอกภาพในแต่ละอำเภอ โดยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงการบริหารจัดการระบบบริการปฐมภูมิอย่างมีคุณภาพและมีความสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่รวมทั้งลดการส่งต่อ ลดความแออัดในสถานบริการระดับตติยภูมิอันจะส่งผลให้ประชาชนและชุมชนพึ่งพาตนเอง มีขีดความสามารถในการจัดการปัญหาโรคประจำถิ่นและภัยสุขภาพให้ลดลงได้ ดังคำว่า “มีญาติเป็นหมอ มี อสม.เป็นเพื่อน” โดยมีเป้าหมายหลักหรือผลผลิตของบริการปฐมภูมิที่สำคัญมี 2 ประการ คือ การส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเสมอภาคเป็นธรรม (Essential care) และ การส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค(Self care) และการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวกลยุทธ์ คือ แนวทางการดำเนินงานการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System :DHS) และมีกลไกที่สำคัญในการดำเนินงาน คือ ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team) แพทย์ที่ปรึกษา/หมอครอบครัว/อสม. เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีญาติเป็นหมอ และสามารถพึ่งพาได้ทุกเมื่อ ปัจจุบันพบว่าการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของคนในชุมชนลดลง จึงได้เพิ่มศักยภาพเป็นทีมหมอครอบครัวเพื่อเข้าไปดูแล จัดการให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชนรายครัวเรือน รวมทั้งการสรุปวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาสุขภาพ การแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งสร้างนักจิตอาสาสุขภาพ(นักบริบาลชุมชน) เพื่อให้มีความรู้ด้านสุขภาพที่จำเป็นแก่ครัวเรือน สามารถช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนาบ้าน อสม.ต้นแบบ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทีมหมอครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) เพื่อให้มีขีดความสามารถในการทำหน้าที่ในบทบาทผู้ช่วยทีมหมอครอบครัว โดยใช้รูปแบบในการดูแลตามกลุ่มเป้าหมายที่จำเป็นต้องดูแล และจัดบริการ เพื่อให้การบริการมีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ขึ้น    โดยมุ่งหวังในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว
  2. เพื่อพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และจิตอาสาสุขภาพให้มีความสามารถในการเป็นผู้ช่วยหมอครอบครัว และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว
  2. ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 82
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทีมหมอครับครัวได้รับการอบรมและพัฒนาทีมให้ดีขึ้น มีการจัดระบบบริการที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
  2. ทีมหมอครอบครัว มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง วิธีการวัดความดันโลหิตที่บ้านรวมไปถึงรู้วิธีการตรวจคัดกรองน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตสูงได้อย่างเข้าใจ โดยการซักถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตามวัย เช่น ผู้สูงอายุรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย และเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติตัวเองในชีวิตประจำวัน รวมถึงเมื่อมีอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ สามารถปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้นได้
  3. มีทีมจิตอาสาสุขภาพลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่ ลงเยี่ยมบ้าน 6 เดือน เดือนละ 1 ครั้ง
  4. จากการสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการพบว่ามีความพึงพอใจในการจัดโครงการในรั้งนี้มีความพอใจมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการแบบองค์รวม โดยทีมหมอครอบครัว
ตัวชี้วัด : มีการจัดบริการโดยทีมหมอครอบครัวที่ชัดเจนและมีผู้ช่วยหมอครอบครัวหมู่บ้านละ 1 ทีม
0.00

 

2 เพื่อพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และจิตอาสาสุขภาพให้มีความสามารถในการเป็นผู้ช่วยหมอครอบครัว และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
ตัวชี้วัด : อสม.และจิตอาสาสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพประชาชน 5 กลุ่มวัย ร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 82
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 82
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการแบบองค์รวม  โดยทีมหมอครอบครัว (2) เพื่อพัฒนาพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)และจิตอาสาสุขภาพให้มีความสามารถในการเป็นผู้ช่วยหมอครอบครัว และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมพัฒนาองค์ความรู้ อสม.และจิตอาสาสุขภาพในบทบาทผู้ช่วยหมอครอบครัว (2) ลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัย  ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


พัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพประชาชนแบบองค์รวมโดยทีมหมอครอบครัว ปีงบประมาณ2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางตาล จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 63-L3333-01-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสังคม ชูยิ้มพานิชย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด