โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีความดันโลหิตสูง เบาหวานตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2563
ชื่อโครงการ | โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีความดันโลหิตสูง เบาหวานตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2563 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต |
วันที่อนุมัติ | 15 พฤศจิกายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 82,790.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางดารุณี มากแก้ว |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ธ.ค. 2562 | 31 ส.ค. 2563 | 82,790.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 82,790.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 2750 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก(WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น4.8ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95 ต่ำกว่าในระดับประเทศ อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2558 – 2560 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5158, 5,483 ต่อแสนประชากร ตามลำดับตามลำดับ ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.ปันแต ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน จากปี2560 –2562อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ปี 2560-2562 จำนวน 584.89,327.71,471.09ต่อแสนประชากร อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ ปี 2560-2562 จำนวน 747.36, 1101.93, 1182.57 ต่อแสนประชากร ตามลำดับการที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อคัดกรองคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 30 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 90 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองร้อยละ 40 3.เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4. เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ร้อยละ 50 5. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 6.เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ให้มีความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้า ร้อยละ 70
|
1.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 3386 | 82,790.00 | 7 | 492,790.00 | -410,000.00 | |
1 ก.พ. 63 - 30 มิ.ย. 63 | 1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 30 ปี ขึ้นไป | 1,967 | 24,525.00 | ✔ | 24,525.00 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยวัดความดันโลหิตที่บ้าน | 234 | 45,575.00 | ✔ | 455,575.00 | -410,000.00 | |
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 | ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม | 409 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
4 ส.ค. 63 | กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส ประชาชนกลุ่มสงสัยเป็นโรค | 50 | 2,150.00 | ✔ | 2,150.00 | 0.00 | |
11 ส.ค. 63 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ | 298 | 1,650.00 | ✔ | 1,650.00 | 0.00 | |
13 ส.ค. 63 | กิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 117 | 3,825.00 | ✔ | 3,825.00 | 0.00 | |
18 ส.ค. 63 | กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินเท้าตามแนวทางผู้ปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน | 311 | 5,065.00 | ✔ | 5,065.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 3,386 | 82,790.00 | 7 | 492,790.00 | -410,000.00 |
- สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดทำแผนงานโครงการ/ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อวัสดุการแพทย์ ๓. ชี้แจงให้อสม.ทราบขั้นตอนการคัดกรอง และนัดกลุ่มเป้าหมาย
- ออกดำเนินงานคัดกรองตามแผนที่กำหนดไว้
- รวบรวมข้อมูล ลงบันทึกผลการปฏิบัติงานในโปรแกรมJHCIS 6.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค จากการคัดกรอง 7.ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยวัดความดันโลหิตที่บ้าน
- ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ตาม CPG จากการตรวจค่าน้ำตาลจากหลอดเลือดดำ (FBS) มากกว่า 125 mg/dLจ่ายยารักษา โดย รพ.สต.สำหรับกลุ่มเป้าหมายจากหลังติดตามวัดความดันโลหิตซ้ำแล้วยังมีค่าความดันฯตัวบนมากกว่า ๑๔๐และ/หรือ ตัวล่างมากกว่า 90 มม.ปรอท, ส่งต่อโรงพยาบาลควนขนุน เพื่อตรวจวัดความดันซ้ำ และวินิจฉัยโรคโดยแพทย์
- จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน่ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้
- จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 12.เยี่ยมติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่ 13.จัดกิจกรรมให้บริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ 14..รวบรวมข้อมูล/บันทึกผลงาน
- สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
1ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันได้ 2 ลดอัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่ 3 กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส. 4 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ซ้ำเพื่อติดตามผล 5. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน 6. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาล-ความดันโลหิตไม่ได้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น 7.ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบภาวะผิดปกติ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2563 11:35 น.