1.ผลการดำเนินงาน
-ประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,967 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,874 คน คิดเป็นร้อยละ 95.27
กลุ่มปกติ จำนวน 1,541 คน คิดเป็นร้อยละ 82.23
กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 6.40
กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 197 คน คิดเป็นร้อยละ 10.51
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงราย จำนวน 11 คน
คิดเป็นร้อยละ 0.59
คัดกรองโรคเบาหวาน
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,342 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 2,246 คน คิดเป็นร้อยละ 95.90
กลุ่มปกติ จำนวน 1,838 คน คิดเป็นร้อยละ 81.83
กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 334 คน คิดเป็นร้อยละ 14.87
กลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 3.07
ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.22
-ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
กลุ่มเสี่ยงจำนวน 409 คน ได้รับการเจาะFBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 394 คน คิดเป็นร้อยละ 96.33
-อัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 234 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 86.32
-ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2562 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 298 คน ได้รับการตรวจจำนวน 266 คน ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 18.46
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2563 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 311 คน ได้รับการตรวจจำนวน 253 คน ควบคุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 100คน คิดเป็นร้อยละ 32.15
สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 13.69
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปีงบประมาณ 2562 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 702 คน ระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน 331 คน คิดเป็นร้อยละ 47.15
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปีงบประมาณ 2563 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 734 คน ระดับความดันโลหิตได้ดี จำนวน 365 คน คิดเป็นร้อยละ 49.73
สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2562 ร้อยละ 2.58
-อสม.มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประเมินจากแบบทดสอบการอบรม ก่อน-หลัง มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 92
-จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 311 คน
ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า จำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 84.89
3. ระยะเวลาดำเนินการ
1. คัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป เดือนมิถุนายน 2563
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส ประชาชนกลุ่มสงสัยเป็นโรค
เดือนสิงหาคม 2563
3. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เดือนกรกฎาคม 2563 –สิงหาคม 2563
4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยวัดความดันโลหิตที่บ้าน
เดือนมิถุนายน 2563 –เดือนสิงหาคม 2563
5. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ เดือนสิงหาคม 2563
6. กิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
เดือนสิงหาคม 2563
7. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินเท้าตามแนวทางผู้ปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต เดือนสิงหาคม 2563
4. สถานที่ดำเนินการ
1. คัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป
พื้นที่หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
2.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส ประชาชนกลุ่มสงสัยเป็นโรค ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
3.ติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยวัดความดันโลหิตที่บ้าน พื้นที่หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
5.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
6.กิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
7.กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินเท้าตามแนวทางผู้ปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
5. การเบิกจ่ายงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 82,790 บาท
งบประมาณเบิกจ่ายจริง 82,790 บาท คิดเป็นร้อยละ 100
งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ - บาท คิดเป็นร้อยละ
รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและโรค ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไปรวมเป็นเงิน 24,525 บาท
- ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด พร้อมเข็มเจาะ จำนวน 55 กล่อง x390 บาท เป็นเงิน 21,450 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญเข้ารับการคัดกรอง/แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabolic จำนวน 2,750 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 1,375 บาท
- สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์สำเร็จ แผงละ 8 ก้อน กล่องละ 100 แผง กล่องละ 850 บาท จำนวน 2 กล่อง เป็นเงิน 1,700 บาท
2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส ประชาชนกลุ่มสงสัยเป็นโรค รวมเป็นเงิน 2,150 บาท
2.1 ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 50 คนx 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
2.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
3. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ 100 mg/dL) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-
4. กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โดยวัดความดันโลหิตที่บ้าน รวมเป็นเงิน 45,575 บาท
- เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ จำนวน 13 หมู่บ้าน x จำนวน 13 เครื่อง x 3,500 บาท เป็นเงิน 45,500 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มวัดความดันที่บ้าน จำนวน 150 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 75 บาท
5. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตไม่ได้ รวมเป็นเงิน 1,650 บาท
- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
6. กิจกรรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมเป็นเงิน 3,825 บาท
- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 117 คนx 1 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,925 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x3 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
7. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้าและตรวจประเมินเท้าตามแนวทางผู้ปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน รวมเป็นเงิน 5,065 บาท
- ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 195 คน x 1 มื้อ x 25บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มตรวจเท้า จำนวน 190 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 95 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญตรวจเท้า จำนวน 190 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 95บาท
6. ผลที่คาดว่าได้รับ
1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันได้
2. ลดอัตราการเกิดเบาหวานรายใหม่
3. กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.
4. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX>=100 mg/dL) ได้รับการเจาะFBS ซ้ำเพื่อติดตามผล
5. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
6. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับน้ำตาล-ความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น
ปัญหา/อุปสรรค
1.ประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส ชอบกินอาหาร รสหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายน้อย ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ใช้ผงชูรส เช่น เครื่องปรุงรส
2. กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิต ส่วนใหญ่ยังควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตไม่ได้
ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไข
1.ควรจะเริ่มการดูแลสุขภาพด้วยการปลูกฝังการรณรงค์ตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เป็นประจำ ฝึกนิสัยการบริโภคตามหลักสุขบัญญัติ
2.เยี่ยมบ้านติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม / การรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง