กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
โรงเรียนบ้านท่าแลหลา

ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 06 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการนักเรียนท่าแลหลาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขวิทยา ภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวนทั้งหมด ๑๔๓ คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพดี อยู่ที่เรา อีกทั้งยังมีรณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหาและยังสาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวน ๖๒ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพด้านสุขวิทยาของนักเรียน มีการส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง จัดทำคู่มืออาหารที่มีคุณประโยชน์ ดำเนินการแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านทุพโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน อีกทั่งมีการส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปากโดยมีการคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟัน รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหาร มีการดูแล ติดตามสุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพช่องปากและฟัน และสุดท้ายมีการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ โดยมีการเชิญชวนผู้ปกครองและคนในชุมชนให้มาร่วมออกกำลังกาย โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทุกเย็นวันพุธ กลุ่มเป้าหมายนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน จำนวน ๑๘๐ คน เพื่อแก้ปัญหสุขภาพของนักเรียนด้านการออกกำลังกาย ในกิจกรรมดังที่กล่าวมา งบประมาณในการดำเนินโครงการได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน ๕๙,๓๐๑ บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อยดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา งบประมาณ ๑๔,๒๘๕ บาท กิจกรรมที่ ๒ เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร งบประมาณ ๔,๑๘๑ บาท กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริม สุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค งบประมาณ ๖,๖๔๕ บาท กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องป่าก งบประมาณ ๑๖,๕๔๐ บาท กิจกรรมที่ ๕ เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ งบประมาณ ๑๒,๖๕ㅇ บาท และกิจกรรมที่ ๖ รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งบประมาณ ๑,๐๐๐ บาท
ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ประเมินผลจากการทดสอบวัดความรู้ก่อนการอบรม Pre-test และหลังการอบรม Post- test ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรื่อง สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้ารับการ อบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖ กิจกรรมเหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร พบว่าหลังจากได้รับการติดตามโดยการสังเกตพฤติกรรม นักเรียนร้อยละ ๗๕ ที่สามารถรักษาโรคเหาหายและลดการแพร่กระจายต่อผู้อื่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนทุกคน พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๐ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่รวมของประชากรกลุ่มวัยเรียนและเยาวชนซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชน โรงเรียนจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเด็กให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดการจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้คุณภาพของผู้เรียนดียิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิตของผู้เรียน ตลอดจนให้ผู้เรียนรู้จักบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและเฝ้าระวังอันตรายจากการบริโภคอาหาร ทำให้ผู้เรียนมีสุขภาพดี มีภาวะโภชนาการที่สมส่วน ปฏิบัติตามสุขบัญญัติอย่างถูกต้อง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การมีสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในปัจจุบันเด็กในวัยเรียนมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากเด็กมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม จากการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา พบว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา จำนวน 184 คน เป็นโรคเหา จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 33.69 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน87 คน คิดเป็นร้อยละ 47.28 ฟันผุจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 17.39 และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 39.13 ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา โรงเรียนบ้านท่าแลหลาเล็งเห็นความสำคัญของนักเรียนในทุกด้านของชีวิต เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนบ้านท่าแลหลาตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ “นักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลความสะอาดของร่ายกายและศีรษะของตนเอง นักเรียนสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีการเจริญเติบโตสมวัยนักเรียนได้เล่นกีฬาและมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอสามารถนำความรู้และการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพของตนเองไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
  2. เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกายและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่เหมาะสม
  3. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน
  4. เพื่อแก้ไขและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
  5. เพื่อแก้ไข ส่งเสริม และสนับสนุนการออกกำลังกายของนักเรียน และส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
  2. ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก
  3. สร้างองค์ความรู้เรื่อง “สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา
  4. เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร
  5. เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ
  6. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ครู 19
ผู้ปกครอง 177

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครูและนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะโภชนาการ สุขภาพในช่องปาก สุขภาพกายและการออกกำลังกาย
  2. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในเด็กทุกคน
  3. นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
  4. นักเรียนรู้วิธีการกำจัดเหาและดูแลความสะอาดของร่างกาย
  5. นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน และคนในชุมชน ร่วมใจกันออกกำลังกายร่วมกันในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. สร้างองค์ความรู้เรื่อง “สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา

วันที่ 16 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.1 จัดกิจกรรมในการอบรม ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ช่วง ระดับอนุบาล และระดับประถม-มัธยม
- เรื่องสุขวิทยา เช่น ร่างกาย ผิวหนัง ผม เล็บ เป็นต้น
- เรื่องการดูแลรักษาความสะอาดบนศีรษะ การกำจัดเหา
- เรื่องภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด
- เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน
- เรื่องการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ได้ง่ายๆโดยการออกกำลังกาย อย่างต่อเนื่อง
1.2 วัดและประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ โดยคิดเป็นร้อยละ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 58.64 หลังได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.06

 

0 0

2. เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร

วันที่ 14 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

2.1 รณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหา สัปดาห์ละ 1 วัน
2.2 สอน/สาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร
2.3 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม พฤติกรรมการทำความสะอาดของเด็กนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งนักเรียนปลอดเหา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหาร้อยละ 33.69 หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ 83.91

 

0 0

3. ส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

วันที่ 11 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

3.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.2 จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดและโภชนาการสำหรับเด็ก
3.3 นักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำ แจ้งผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องโดยวิธีการมีส่วนร่วมโดยสหวิชาชีพ
3.4 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตามพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 84.50 นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ 100

 

0 0

4. เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ

วันที่ 18 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

5.1 รณรงค์การออกกำลังกาย สู่ชุมชนบ้านท่าแลหลา เพื่อให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย โดยจะจัดกิจกรรม เดิน วิ่ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพุธ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 – 16.00 น. จำนวน 12 สัปดาห์ เส้นทางจากโรงเรียนบ้านท่าแลหลา และหมู่บ้านใกล้เคียง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 84 คน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาและคนในชุมชนใกล้เคียง ซึ่งรวมแล้วจำนวน 150 คน
5.2 จัดกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าแลหลา ผู้ปกครองนักเรียน คนในชุมชนบ้านท่าแลหลา และคนในชุมชนใกล้เคียง มีเจตคติในการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายของตนเองมีสุขภาพที่ดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ 96.66 และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

5. ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก

วันที่ 24 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

4.1 ตรวจคัดกรองสุขภาพฟันและช่องปากของนักเรียน
4.2 รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
4.3 ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดูแล ติดตาม สุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการบันทึกผลการติดตามหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก พบว่า นักเรียนแปลงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 100

 

0 0

6. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 28 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

6.1 รายงานผล นำเสนอโครงการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
6.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น อย่างน้อย 2 เล่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมสร้างองค์ความรู้เรื่อง "สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา" ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ ๑ จัดกิจกรรมในการอบรม ให้ความรู้แก่นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ช่วง ระดับชั้นอนุบาลและระดับชั้นประถมถึงชั้นมัธยม โดยทางโรงเรียนได้เชิญนางสาวเฉลิม ผิวดำ ท่านเป็นวิทยากรมาจาก โรงพยาบาลละงู สาขาแพทย์แผนไทยชำนาญการ มีความสามารในการถ่ายทอดความรู้เรื่องสุขวิทยา การดูแลรักษาความสะอาดบนศีรษะ ภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก การดูแลสุขภาพในช่องปากและฟัน และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมประกอบไปด้วยนักเรียนจำนวน ๑๔๓ คน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าในใจสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน และการออกกำลังกาย จากการประเมินผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้าอบรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมเหาหาย สบายหัวด้วยสมุนไพร เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขวิทยา เช่น ร่างกาย เล็บ โดยเฉพาะเรื่องเหา ทั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้นักเรียนได้ดูแลตนเองโดยการกำจัดเหาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมีกิจกรรมสาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร โดยนักเรียนได้ร่วมลงมือทำแชมพูสมุนไพรด้วยตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการกำจัดเหา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๖๒ คน จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหร้อยละ ๓๓.๒๙ หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ ๘๓.๙๑
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโรค ประกอบไปด้วยการดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกระดับชั้น การจัดทำคู่มืออาหารแต่ละชนิด และนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินและต่ำมีการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านทุพ โภชนาการ พฤติกรรมการบริโภค มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๘๔ คน จากการสังเกตนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕o นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก ประกอบไปด้วยการคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟัน รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน โดยมีการดูแล ติดตามสุขภาพช่องปากและฟัน ของนักเรียนเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพช่องปากและฟัน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๘๔ คน จากการบันทึกผลการติดตามหลังหลังเข้าร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมปลูกฝังให้นักเรียน ผู้ปกครองและครู มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวน ผู้ปกครองและคนในชุมชนบ้านท่าแลหลาให้เข้าร่วมออกกำลังกายผ่านกิจกรรมเดิน วิ่ง สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในทุกเย็นวันพุธ เวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๐๐ น. ซึ่งเส้นทางในการ เดิน วิ่ง ออกชุมชนบ้านท่แลหลา มุ่งหน้าสู่ชุมชนบ้านอุไร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วยนักเรียน คณะครู และผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เมื่อประเมินภาพรวมจะเห็นว่านักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรม สร้างบรรยากาศของการออกกำลังกายร่วมกัน และจากการสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน ให้ความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และให้จัดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด
กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมกิจกรรมสร้างองค์ความรู้เรื่อง "สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา" จากการประเมินผลการทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการอบรม ก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมอบรมเหาหาย สบายหัวด้วยสมุนไพร จากการสำรวจนักเรียนก่อนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนเป็นโรคเหาร้อยละ ๓๓.๖๙ หลังจากนักเรียนได้รับการรักษาโรคเหาด้วยแชมพูสมุนไพร พบว่านักเรียนปลอดเหา ร้อยละ ๘๓.๙๑
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโรค จากการสังเกตนักเรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕- นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการ ร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก จากการบันทึกผลการติดตามหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก พบว่า นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
กิจกรรมที่ ๕ กิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา ภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก และการออกกำลังกาย
0.00 95.06

 

2 เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพกายและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : - นักเรียน ร้อยละ 70 ที่เป็นเหาสามารถรักษา ลดการแพร่สู่ผู้อื่น และการกลับมาติดเหาอีกครั้ง
0.00 83.91

 

3 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน
ตัวชี้วัด : - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการร้อยละ 100 - นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม
0.00 100.00

 

4 เพื่อแก้ไขและส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี
ตัวชี้วัด : - นักเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและฟันร้อยละ 100 - นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 100 - ร้อยละ 60 ของนักเรียนที่ฟันผุมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น กรณีพบฟันผุได้รับการรักษาต่อทุกราย
0.00 100.00

 

5 เพื่อแก้ไข ส่งเสริม และสนับสนุนการออกกำลังกายของนักเรียน และส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ครูและนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรม เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ร้อยละ 70 ร่วมกันเล่นกีฬาเป็นประจำ สม่ำเสมอ อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง - นักเรียน ครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00 96.66

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 380 380
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 41 41
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 143 143
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ครู 19 19
ผู้ปกครอง 177 177

บทคัดย่อ*

โครงการนักเรียนท่าแลหลาปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขวิทยา ภาวะโภชนาการ สุขภาพช่องปากและฟัน การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวนทั้งหมด ๑๔๓ คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพดี อยู่ที่เรา อีกทั้งยังมีรณรงค์ให้นักเรียนกำจัดเหาและยังสาธิตการทำแชมพูกำจัดเหาด้วยสมุนไพร กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน จำนวน ๖๒ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพด้านสุขวิทยาของนักเรียน มีการส่งเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง จัดทำคู่มืออาหารที่มีคุณประโยชน์ ดำเนินการแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาโภชนาการเกินและต่ำ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านทุพโภชนาการ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน อีกทั่งมีการส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปากโดยมีการคัดกรองสุขภาพปากและช่องฟัน รณรงค์ให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหาร มีการดูแล ติดตามสุขภาพปากและช่องฟันของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนักเรียน จำนวน ๑๘๔ คน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียนด้านสุขภาพช่องปากและฟัน และสุดท้ายมีการจัดกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ โดยมีการเชิญชวนผู้ปกครองและคนในชุมชนให้มาร่วมออกกำลังกาย โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ทุกเย็นวันพุธ กลุ่มเป้าหมายนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน จำนวน ๑๘๐ คน เพื่อแก้ปัญหสุขภาพของนักเรียนด้านการออกกำลังกาย ในกิจกรรมดังที่กล่าวมา งบประมาณในการดำเนินโครงการได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน ๕๙,๓๐๑ บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อยดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา งบประมาณ ๑๔,๒๘๕ บาท กิจกรรมที่ ๒ เหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร งบประมาณ ๔,๑๘๑ บาท กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริม สุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค งบประมาณ ๖,๖๔๕ บาท กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องป่าก งบประมาณ ๑๖,๕๔๐ บาท กิจกรรมที่ ๕ เดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ งบประมาณ ๑๒,๖๕ㅇ บาท และกิจกรรมที่ ๖ รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งบประมาณ ๑,๐๐๐ บาท
ผลที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ ประเมินผลจากการทดสอบวัดความรู้ก่อนการอบรม Pre-test และหลังการอบรม Post- test ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเรื่อง สุขภาพดี อยู่ที่ตัวเรา พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีระดับความรู้ร้อยละ ๕๘.๖๔ หลังจากได้รับการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่าผู้เข้ารับการ อบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙๕.๐๖ กิจกรรมเหาหาย สบายหัว ด้วยสมุนไพร พบว่าหลังจากได้รับการติดตามโดยการสังเกตพฤติกรรม นักเรียนร้อยละ ๗๕ ที่สามารถรักษาโรคเหาหายและลดการแพร่กระจายต่อผู้อื่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนทุกคน พบว่านักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๕๐ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพฟันและช่องปาก จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่านักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ และกิจกรรมเดิน วิ่ง เพื่อสุขภาพ จากการสำรวจความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรมพบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ ๙๖.๖๖ และอยากให้จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการนักเรียนท่าแลหลาสดใส ใส่ใจสุขภาพ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 06

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( โรงเรียนบ้านท่าแลหลา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด