กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยกินผัก รักสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ทุ่งหมอ
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 25 ธันวาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 25 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 12,357.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุชาดา เพ็ชรมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.745,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและความร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเกิดพฤติกรรมทางโภชนาการอาหารและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ การินผักผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มมากขึ้น และกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย การปลูกฝังให้ให้เด็กในวัยปฐมวัยซึ้งเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของการพัฒนา การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจและอารมณ์ สังคมและสติปัญญา ในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และส่งเสริมการพัฒนารอบด้านเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก มีการเจริญเติบโตของสมองร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์อายุ

1.เด็กร้อยละ 80 มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์อายุ

1.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

2.เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย

2.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก

3.พฤติกรรมการทานผักของเด็ก

0.00
4 4.เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปฏิบัติ หน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.ทุ่งหมอมีความรู้ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการเด็ก

4.ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองและผู้ประกอบการอาหารกลางวันมีความรู้ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการเด็ก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 375 12,357.00 4 12,357.00
1 - 31 ก.ค. 63 เก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ 90 0.00 0.00
10 ส.ค. 63 - 3 ก.พ. 64 กิจกรรมการปลูกผักสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้า 90 8,100.00 8,100.00
1 ก.ย. 63 - 25 ธ.ค. 63 การพัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาทางโภชนาการ และส่งเสริมการจัดเมนูอาหารให้นักเรียนได้รับประทานผักมากขึ้น 90 0.00 0.00
1 - 25 ธ.ค. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กก่อยวัยเรียน 105 4,257.00 4,257.00

1.วิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการ 1.1 เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ 1.2 ติดตามชั่งน้ำหนักแล้ววัดส่วนสูงของเด็ก ทุกเดือน และแปลผลโดยกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงเจริญเติบโตสำหรับเด็กอายุ 0-6 ปี กรมอนามัย 1.3 เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการทานผักของเด็กๆทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน 2.การจัดทำแผนแก้ปัญหาร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง ครู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและแม่ครัว 2.1 สอดแทรกความรู้ ประโยชน์ของผัก ในการจัดกิจเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กลงในแผนการจัดประสบการณ์ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู ผู้แลเด็ก ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผุ้ประกอบอาหารกลางวันและผู้ปกครอง เกี่ยวกับประโยชน์ของการกินผักวิธีการเลือกผักที่ปลอดสารพิษ การจัดการอาหารและภาวะโภชนาการในเด็ก 3.พัฒนาติดตามในรายที่มีปัญหาโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการพื้นฐานให้กับเด็กโดยครู 4.จัดเมนูอาหารกลางวันที่เน้นให้เด็กรับประทานผัก 5.จัดกิจกรรมการปลูกและดูแลผัก (ปลูกผักสวนครัวและเพาะเห็ดนางฟ้า) 6.คืนข้อมูลโภชนาการของเด็กแต่ละคนส่งผู้ปกครอง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอ มีภาวะทางโภชนาการตามวัย 2.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหมอที่มีเจตคติที่ดีต่อการรับประทานผัก 3.ครู ผู้ปกครองและผู้ประกอบการอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2563 11:04 น.