กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายกวี สานิง

ชื่อโครงการ โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-12 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-12 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 45,805.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด การใช้ชีวิตของผู้คนดำเนินไปอย่างเร่งรีบและให้ความสำคัญกับความสะดวกจนบางครั้งลืมมองถึงอันตรายที่อยู่รอบตัว การให้ความสำคัญกับความสะดวก ประหยัดเวลาจนกระทั่งละเลยความใส่ใจ เรื่องพิษภัยที่อยู่รอบตัว ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ กล่องโฟมบรรจุอาหารซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองชีวิตที่เร่งรีบได้อย่างลงตัว จนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ขณะเดียวกันก็มีอันตรายที่แฝงมากับกล่องโฟมที่บรรจุอาหาร ในชีวิตประจำวันของเราเองต้องพบเจอกับกล่องโฟมบรรจุอาหาร เช่น ข้าวผัด ข้าวกะเพราไข่ขาว หรือแม้แต่ขนมโตเกียว ขนมครกร้อนๆ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นกล่องโฟมบางประเภท มีการระบุเตือนไว้ มีการระบุเตือนอย่างชัดเจนว่า “ไม่ควรนำมาใส่อาหาร” หรือ “ไม่ควรนำมาใส่ของร้อน” ซึ่งอันตรายกับการใช้กล่องโฟมอย่างผิดประเภทเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปีและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน คือ กล่องโฟม ไม่สามารถ ย่อยสลายได้หรือหากย่อยสลายได้ก็ต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนหรือ ปัญหามลพิษจากขยะล้นเมือง และพิษรอบตัวอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้น้ำมันทอดซ้ำในการประกอบอาหารแม้กระทั่งบางครอบครัวนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาทอดซ้ำ เพราะเห็นว่าประหยัดค่าใช้จ่ายหรือคิดว่าเสียดายน้ำมันที่ทอดครั้งเดียว จึงนำน้ำมันเหล่านั้นกลับมาทอดซ้ำอีกหลายๆครั้ง จนลักษณะทางกายภาพของน้ำมันหรือคุณลักษณะของอาหารเสียไป จึงเปลี่ยนน้ำมันใหม่ผสมลงไปทอดอาหารซ้ำๆต่อไป การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ “สารโพลาร์” ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคมะเร็ง ซึ่งในน้ำมันสำหรับทอดอาหาร กำหนดให้มีปริมาณสารโพลาร์ ไม่เกินร้อยละ 25 ของน้ำหนัก จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มบ้านป่าฝาง รักษ์สขภาพ หมู่ที่ 9 บ้านป่าฝาง จึงเล็งเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงพิษภัยที่ตามมาจึงได้จัดทำโครงการ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำต่อเนื่องเป็น ปีที่ 2 ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน และเพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคและผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 9ได้ตระหนักถึงอันตรายจากกล่องโฟมที่ใช้บรรจุอาหารและน้ำมันทอดซ้ำ ให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  2. เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
  3. เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจถึงพิษภัยของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
    2. ผู้นำชุมชนและแกนนำในหมู่บ้านสามารถเป็นบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
    3. ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

            กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการใช้กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ แก่ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร ผู้นำชุมชน และแกนนำในหมู่บ้าน จำนวน 80 คน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 และนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าฝาง จำนวน 50 คน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560 โดยใช้แบบประเมินก่อนและหลังการอบรม พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 57.50 ส่วนใหญ่ผู้เข้าอบรมยังขาดความรู้เกี่ยวกับสารไตรีนเป็นสารก่อมะเร็งที่พบในกล่องโฟม  น้ำมันทอดซ้ำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำเป็นสาเหตุให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ส่วนการทดสอบความรู้หลังการอบรม พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 92.71 หลังจากให้ความรู้แล้วผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับน้ำมันทอดซ้ำและอันตรายกล่องกล่อมโฟม และตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพ
    การตรวจประเมินน้ำมันทอดซ้ำและการใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน จำนวน 15 ร้าน ตรวจประเมินจำนวน 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2561 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2560 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 โดยใช้ชุดทดสอบโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ก่อนการตรวจประเมินพบร้านค้าที่ใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร จำนวน 1 ร้าน และร้านที่ใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร จำนวน 15 ร้าน         การทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านจำหน่ายอาหารประเภททอด จำนวน 15 ร้าน การแปรผล สารโพลาร์อยู่ในช่วง 9 – 20 % เป็นน้ำมันที่ใช้ได้ สารโพลาร์ไม่เกิน 24 % เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป สารโพลาร์ไม่เกิน 25 % เป็นน้ำมันที่ยังใช้ได้ ไม่ควรเติมน้ำมันใหม่เพิ่มลงไป หากไม่มีสีชมพูแสดงว่าสารโพลาร์เกิน 25 % เป็นน้ำมันที่เสื่อมสภาพแล้ว ไม่ควรใช้ ซึ่งผลการตรวจครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ยังพบสารโพลาร์เกิน 25 % จำนวน 3 ร้านและ 2 ร้าน ตามลำดับ ส่วนผลการตรวจประเมินครั้งที่ 3 พบว่าร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนทุกร้าน เป็นร้านค้าที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ เกิดจากความตระหนักของร้านจำหน่ายอาหารและผู้บริโภคในชุมชน ที่ปฏิบัติเป็นกฎกติกาเดียวกัน ลด ละ เลิกกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำในชุมชน เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ ที่ปลอดโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ พร้อมทั้งมีกฎกติกาของชุมชน 

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
    ตัวชี้วัด : ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้าน และผู้บริโภคเกิดความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมที่จัดทำขึ้นเอง
    92.71

     

    2 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ
    ตัวชี้วัด : เกิดหมู่บ้านต้นแบบ ลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ โดยใช้วิธีการสำรวจ/ติดตาม การละ ละ เลิก การใช้กล่องโฟมในหมู่บ้าน
    100.00

     

    3 เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของร้านจำหน่ายอาหารในชุมชนเป็นร้านที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม
    100.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า แกนนำในหมู่บ้านและผู้บริโภคเกิดมีความรู้ และเข้าใจถึงอันตรายของกล่อมโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ (2) เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบลด ละ เลิก การใช้โฟมและน้ำมันทอดซ้ำ (3) เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารในชุมชน เป็นร้านค้าที่ปลอดน้ำมันทอดซ้ำและกล่องโฟม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการบ้านป่าฝางรักษ์สุขภาพ ลด ละ เลิก กล่องโฟมและน้ำมันทอดซ้ำ จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-12

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายกวี สานิง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด