กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสมจิตต์ เมืองจันทร์

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 60-L8010-2-14 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 60-L8010-2-14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,417.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สภาพการณ์ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ในวัยสูงอายุบุคคลจะมีสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆเสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ ประกอบกับพฤติกรรมการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมตั้งแต่วัยผู้ใหญ่มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้วัยสูงอายุมีปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อัมพาต/อัมพฤกษ์ ไตวายเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพามากขึ้น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เน้นการพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เน้นให้ประชาชนมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดี และป้องกันโรคเรื้อรังเหล่านั้นได้ ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุจากการสำรวจผู้สูงอายุในหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ในปี 2560 มีจำนวน 173 คน ที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 166 คนกลุ่มติดบ้าน จำนวน 4 คนและกลุ่มติดเตียงจำนวน 3 คน ผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่มมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องดูแลและให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุขึ้น ก็เพื่อหวังที่จะให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ
  2. เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ
  3. เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดีในผู้สูงอายุ
    2. สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน
    3. ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถลดความเสี่ยงทางสุขภาพได้

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. 1 ประชุม ร่วมกันออกแบบแบบสอบถาม สำหรับสำรวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ 2 สรุปผลการออกแบบแบบสอบถาม/แบบสำรวจ

    วันที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย จำนวน 173 คน จากแบบสอบถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแบบประเมินภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ

     

    11 0

    2. สำรวจผู้สูงอายุในชุมชน

    วันที่ 14 มิถุนายน 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ลงพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 เพื่อสำรวจพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ  จำนวน 173 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มาสรุป วิเคราะห์และประเมินผล

     

    173 0

    3. อบรม ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อบรม ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 70 คน

     

    70 0

    4. คืนข้อมูลให้กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำเสนอข้อมูลให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ

     

    20 0

    5. ติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ และติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

    วันที่ 1 สิงหาคม 2560 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้นำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และได้เกิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

     

    70 70

    6. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน

    วันที่ 10 มกราคม 2561 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ส่งรูปเล่มรายงาน

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    จากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 173 คน แบ่งออกเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 166 คน กลุ่มติดเตียงจำนวน 3 คน และกลุ่มติดบ้านจำนวน 4 คน แบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.57 เพศหญิง ร้อยละ 62.43 ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 53.75 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 46.25 และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.26-2.00 กลุ่มเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.51-1.25 และกลุ่มที่มีความจำเป็นเร่งด่วน มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่า 0.50  ซึ่งผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ด้านการออกกำลังกาย มีค่าเท่ากับ 0.60 ส่วนด้านปกติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ มีค่า 1.27 ด้านการจัดการความเครียด มีค่า 1.28 ด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย มีค่า 1.38 ด้านอาหาร มีค่า 1.47 และด้านสุขาภิบาลที่อยู่อาศัย มีค่า 1.58 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อของแต่ละด้านที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง พบว่า หัวข้อที่ 1 การออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันๆละ ไม่เกิน 30 นาที ค่าเฉลี่ย 0.58 หัวข้อที่ 2 การเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและวัย ค่าเฉลี่ย 0.62 หัวข้อที่ 3 การรับประทานยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย 0.66 หัวข้อที่ 4 การตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ค่าเฉลี่ย หัวข้อที่ 5 การงดสิ่งเสพติดทุกประเภท ค่าเฉลี่ย 1.14 หัวข้อที่ 6 การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ  ค่าเฉลี่ย 1.15 หัวข้อที่ 7 เมื่อมีเวลาว่างจะหากิจกรรมสร้างความเพลิดเพลินทำ เช่น การปลูกต้นไม้ ร้องเพลง ค่าเฉลี่ย 1.20 และหัวข้อที่ 8 เมื่อมีความเครียดยังคงหงุดหงิดหรือหมกมุ่นกับปัญหาที่เกิดขึ้น ค่าเฉลี่ย 1.23 จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ผลแล้วก็นำมาดำเนินกิจกรรมที่ 2 ต่อ จากการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ โดยแบ่งเป็นกลุ่มปกติ มีผู้สูงอายุจำนวน 93 คน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ จากการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุออกกำลังกายโดยการเดิน ร้อยละ 83.87 ออกกำลังกายคนเดียว ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ 52.69 ซึ่งมีเหตุผลที่ออกกำลังกาย เพราะมีปัญหาสุขภาพ ร้อยละ  65.59 ต้องการร่างกายแข็งแรง ร้อยละ 34.41 ส่วนพฤติกรรมการกินอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพร้อยละ 70.97 และรับประทานอาหารเช้ากันทุกวันร้อยละ 100 อาหารกลางวันทุกวัน ร้อยละ 95.70 และอาหารเย็นทุกวันร้อยละ 74.19 ส่วนการบริโภคผักเป็นประจำทุกวันร้อยละ 91.40 ดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แก้ว ร้อยละ 63.44 และรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยกะทิเพียงร้อยละ 10.75 จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุกลุ่มปกติส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายและการกินอาหารที่เหมาะสม  ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง จำนวน 80 คน จากการให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสาธิตการทำเมนูเพื่อสุขภาพ โดยใช้แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรม ก่อนเข้าร่วมโครงการ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีระดับความรู้ระดับต่ำ ร้อยละ 39.5 และหลังเข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 70.8 เนื่องมาจากผู้สูงอายุบางท่านมีปัญหาเรื่องสายตา อ่านหนังสือไม่ชัด เป็นต้น หลังจากการอบรมและได้มีการติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง จำนวน 80 คน พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุหันมาออกกำลังกายกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.5 โดยการเดินและวิ่งเหยาะๆ บริเวณบ้านของตนเอง ส่วนพฤติกรรมการบริโภคอาหารผู้สูงอายุหันมาสนใจบริโภคผัก ร้อยละ 95 และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ ร้อยละ 93.75 และบริโภคการรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยกะทิน้อยลง ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะกังกลกับปัญหาที่ตามมา เช่น โรคต่างๆ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ
    ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุในหมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ - แบบสองถามพฤติกรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ - แบบประเมินภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพ

     

    2 เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : 1. ผู้สูงอายุกลุ่มปกติ อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และรับประทานอาหารได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเสี่ยง - แบบสอบถาม 2. กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ - แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม

     

    3 เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของชุมชนได้รับทราบข้อมูลและเกิดประโยชน์กับชุมชน - แบบสำรวจ 2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อยร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม - แบบประเมินสุขภาพ

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของผู้สูงอายุ (2) เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และสร้างแรงจูงใจให้กับผู้สูงอายุ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ (3) เพื่อติดตามผลการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 60-L8010-2-14

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสมจิตต์ เมืองจันทร์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด