กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า


“ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564 ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม

ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3367-1-11 เลขที่ข้อตกลง 20/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 64-L3367-1-11 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2564 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 17,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับประเทศเนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตายการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจ วินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อยในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 5 - 9 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุ และโรคไข้เลือดออกนี้ มียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ สำหรับสถานการณ์โรค 5 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2563) ในเขตพื้นที่อำเภอศรีบรรพต พบว่า มีอัตราป่วย ดังนี้129.23, 105.80 ,233.87 ,227.42 และ 105.39 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ และเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางพบว่า มีอัตราป่วย ดังนี้40.88, 204.17 ,040.44 และ 39.92 (ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ และจากการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563 (กันยายน 2563) พบว่า พฤติกรรมที่ประชาชนกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติเป็นประจำ ได้แก่ การป้องกันยุงลายกัด ร้อยละ 84.25 การจัดบ้านให้ระเบียบเรียบร้อยไม่มีมุมมืด ร้อยละ 75.36 การปิดภาชนะเพื่อไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ ร้อยละการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 70.38 การเปลี่ยนน้ำทุก 7วัน ร้อยละ71.25 และการปล่อยปลากินลูกน้ำ ร้อยละ 70.45 อย่างไร ก็ตามก็ยังนับเป็นปัญหาสำคัญที่ชุมชน องค์กรทุกระดับต้องตระหนักและเร่งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้ความสำคัญในการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์โรคอย่างใกล้ชิด ระดมการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องซึ่งปัญหาที่ผ่านมา ได้แก่ 1. ประชาชนมักขาดความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมจนเกิดปัจจัยเอื้อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อันเป็นพาหะ (Vector) ในการแพร่กระจายโรค 2. ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวงจรชีวิตยุงลาย ไม่ให้ความสำคัญในการกำจัดตัวเต็มวัยและลูกน้ำยุงลายอย่างเหมาะสม

  1. ประชาชนขาดความตระหนักที่จะเฝ้าระวังโรค ไม่เห็นความสำคัญและไม่สร้างนิสัยในการที่จะกำจัดยุงลายและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนตนเองอย่างต่อเนื่อง มักปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทำหน้าที่ป้องกัน และควบคุมโรค
  2. ทรัพยากร/ วัสดุอุปกรณ์ ในการกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย และลูกน้ำยุงลายมีไม่เพียงพอ จากที่กล่าวมานับเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องเร่งระดมความคิดในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค และการดำเนินงานที่ผ่านมา ไม่สามารถดำเนินได้ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ยังมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี แม้ว่าจะไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกก็ตาม ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็งต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขในตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อควบคุมและลดปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยเน้นให้บ้าน วัด โรงเรียน สถานที่ราชการทำการควบคุมป้องกันและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานในการป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือน และบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
  2. เพื่อรณรงค์กำจัด ควบคุมหรือมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน วัด สถานบริการสาธารณสุข และโรงเรียน ตามเกณฑ์
  3. เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง และควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย
  2. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1
  3. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2
  4. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 3
  5. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย

วันที่ 28 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรมฟื้นฟูให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน  กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน และ อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดอบรมฟื้นฟูให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน  กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน และ อสม. มีแบบประเมินความรู้เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เปรียบเทียบ ก่อนและหลังการอบรม  จำนวน 62 คน  มีความรู้ก่อนการอบรม เฉลี่ย ร้อยละ 89.72  และ หลังการอบรม เฉลี่ย ร้อยละ 94.25  (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.53)

 

0 0

2. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่  1 และลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 1 บ้านสำนักปราง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเมินผลการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 บ้านสำนักปราง ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และ ค่า HI=5.29 CI=2.51

 

0 0

3. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่  2 และลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 2 บ้านสะพานยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเมินผลการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 2 บ้านสะพานยาง ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และ ค่า HI=6.34  CI=5.69

 

0 0

4. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 1 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่  3 และลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 4 บ้านเขาย่าออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเมินผลการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 บ้านเขาย่าออก ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และ ค่า HI=4.13 CI=4.88

 

0 0

5. ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4

วันที่ 15 ธันวาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่  4 และลงสำรวจลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 10 บ้านหูหนาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประเมินผลการดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 10 บ้านหูหนาน ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก และ ค่า HI=5.26 CI=9.65

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลืือดออกในชุมชน มีความรู้เฉลี่ยก่อนการอบรม ร้อยละ 89.72 และมีความรู้เฉลี่ยหลังการอบรม ร้อยละ 94.25
2.ร้อยละ 100 ของหมู่บ้านตำบลเขาย่า มีค่า HI

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือน และบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
80.00 80.00

 

2 เพื่อรณรงค์กำจัด ควบคุมหรือมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน วัด สถานบริการสาธารณสุข และโรงเรียน ตามเกณฑ์
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนในเขต รพ.สต.บ้านศาลามะปราง มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.ร้อยละของหมู่บ้านในเขต รพ.สต.บ้านศาลามะปราง มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน โดยมีค่า HI น้อยกว่า 10
10.00 10.00

 

3 เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง และควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ตัวชี้วัด : 1. อัตราป่วยไข้เลือดออกไม่เกิน 80 ต่อแสนประชากร หรือลดลงจากค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 2. .อัตราป่วยตายโดยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0.13 ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 350 304
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 304
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือน และบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ มีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง (2) เพื่อรณรงค์กำจัด ควบคุมหรือมีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน วัด สถานบริการสาธารณสุข และโรงเรียน ตามเกณฑ์ (3) เพื่อลดอัตราป่วยและตายของผู้ป่วยไข้เลือดออกให้น้อยลง และควบคุมอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดกิจกรรมอบรมฟื้นฟูและการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่กลุ่มเป้าหมาย (2) ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 1 (3) ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 2 (4) ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 3 (5) ประชุมติดตาม เฝ้าระวัง และการประเมินผลการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และประเมินผลโครงการ ครั้งที่ 4

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านศาลามะปราง ปี 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 64-L3367-1-11

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด