กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-14 เลขที่ข้อตกลง 6/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2564-L3351-01-14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,700.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมรูปแบบเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมในลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 2,013 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 45-54 ปี (กรมควบคุมโรค,2563) จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนจังหวัดพัทลุง ในปี 2563 พบว่า มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ร้อยละ 71.33 พบว่า มีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 44.88 และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายดำเนินการตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกร จำนวน 115 คนพบว่า เกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย จำนวน 51 คน ร้อยละ 44.35 กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเป็นกลุ่มวัยแรงงานหากกลุ่มวัยแรงงานเกิดการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและจังหวัด ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบลบ้านโคกชะงายเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการใช้สารเคมี และรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 จากภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืชและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร และสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร
  2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเลือดเกษตรกร
  2. อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดื่มสมุนไพรรางจืด
  3. ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรซ้ำ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 300

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
  • เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจซ้ำ ระดับความเสี่ยงสารเคมีลดลง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเลือดเกษตรกร

วันที่ 19 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ประชาสัมพันธ์โครงการห้กลุ่มเกษตรกรทราบ
  • ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรรม ฯ เกษตรกลุ่มเสี่ยงตามเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ดำเนินการตรวจคัดกรองหาสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชน จำนวน 6 หมู่บ้าน ๆ ละ 50 คน  จำนวน 300 คน จากการสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีพบว่า ผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 300 คน ส่วนใหญ่ เป็นเกษตร จำนวน 271 รับจ้างพ่น 29 คน ปัจจุบันยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 198 คน ใช้วิธีธรรมชาติในการทำเกษตร จำนวน 171 ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ มากที่สุด จำนวน 152 คน
  • ผลการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด พบว่า ผลเลือดเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 51.33 รองลงมา คือ กลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 15.33

 

0 0

2. อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดื่มสมุนไพรรางจืด

วันที่ 28 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจเลือดมีผลเลือดไม่ปลอดภัยและไม่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว
  • อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดื้มสมันไพรรางจืด
  • นัดตรวจเลือดซ้ำหลังจากอบรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการอบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดื่มสมุนไพรรางจืด จำนวน 50 คน จากการทดสอบความรู้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเองจากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ทุกข้อมากกว่าร้อยละ 80

 

0 0

3. ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรซ้ำ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • เมื่อกลุ่มเป้าหมายอบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและดื่มสมุนไพรรางจืด ครบ 7 วัน
  • ติดตามตรวจเลือดซ้ำกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการอบรมและดื่มสมุนไพรรางจืดครั้งที่ 2

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ที่ดื่มสมุนไพรรางจืด จำนวน 7 วันติดต่อกัน แลบะตรวจเลือดซ้ำพบว่า ส่วนใหญ่ผลเลือดเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา กลุ่มปลอดภัย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 กลุ่มปกติ  จำนวน 7 คน คิเป็นร้อยละ 14

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจัดโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพปีงบประมาณ 2564 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันและลดอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรและสร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคในชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่ละ 50 คน รวมทั้งหมด 300 คน มีผู้ที่เคยเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จำนวน 271 คน รับจ้างพ่น 29 คน ปัจจุบันที่ยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี จำนวน 198 คน ใช้วิธีธรรมชาติในการทำเกษตร จำนวน 171 คน ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์มากที่สุด จำนวน 152 คน
  • ผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด พบว่า ผลเลือดเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 51.33 รองลงมา คือ กลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 กลุ่มปลอดภัย จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 15.33 สำหรับผู้ที่มีผลเลือดค่าสารเคมีในเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัยจำนวน 50 คน ได้เข้ารับการอบรมและให้ดื่มชาสมุนไพรรางจืดและตรวจประเมินซ้ำ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน ที่ดื่มสมุนไพรรางจืด จำนวน 7 วันติดต่อกัน และตรวจเลือดซ้ำ พบว่าส่วนใหญ่ผลเลือดเปลี่ยนมาเป็รนกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมา กลุ่มปลอดภัย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 28 กลุ่มปกติ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร ร้อยละ 80
68.00 80.00 80.00

 

2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
ตัวชี้วัด : กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงทุกคนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด
115.00 300.00 300.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
กลุ่มเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 300 300

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ในการเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง จากการใช้สารเคมีในเกษตรกร (2) กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดที่มีภาวะเสี่ยง หรือเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดื่มสมุนไพรรางจืด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเคมีในเลือดเกษตรกร (2) อบรมความรู้ทักษะการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และดื่มสมุนไพรรางจืด (3) ตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกรซ้ำ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปีงบประมาณ 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด