กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง


“ ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย ”

ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายอรุณ บุญรัตน์

ชื่อโครงการ ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย

ที่อยู่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 64-L5168-2-1 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย



บทคัดย่อ

โครงการ " ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 64-L5168-2-1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 พฤศจิกายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 12,630.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาวะโรคโดยรวม ช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลุ่มโรคไม่ติดต่อส่งผลให้ประชากรไทยเสียชีวิตถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320,000 คนต่อปี โดยกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติพบว่า อัตราการตายในช่วงอายุ 30 – 69 ปีของทั้ง 4 โรคมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้น โดยโรคหลอดเลือดสมองมีการเพิ่มมากที่สุดจาก 33.4 ต่อแสนประชากรเพิ่มเป็น 40.9 ต่อแสนประชากร รองลงมาคือโรคหัวใจขาดเลือด จาก 22.4 ต่อแสนประชากร เป็น 27.8 ต่อแสนประชากร โรคเบาหวาน จาก 13.2 ต่อแสนประชากร เพิ่มเป็น 17.8 ต่อแสนประชากร ผู้ที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มจากร้อยละ 6.9 ใน พ.ศ. 2552 เป็นร้อยละ 8.9 ใน พ.ศ. 2557 และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังจาก 3.8 ต่อแสนประชากรเป็น 4.5 ต่อแสนประชากร ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หวาน มัน เค็มจัด ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการทางเมตา-บอลิก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วน ระดับโคเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ พบปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้นในคนไทย เช่น ภาวะน้ำหนักเกินในผู้ใหญ่เพิ่มจากร้อยละ 28 ใน พ.ศ. 2548 เป็นร้อยละ 38 ใน พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น (แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2560 – 2564) จากการสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาพของชาวบ้านหมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากฐานข้อมูล JHCIS ปี พ.ศ.2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง จากประชากร 416 คน พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 11.06 โรคเบาหวาน ร้อยละ 2.40 โรคหลอดเลือดสมองและโรคหอบหืดมีอัตราเท่ากัน คือ ร้อยละ 0.16 และจากการลงสำรวจเก็บข้อมูลจากตัวแทนครัวเรือน 44 ครัวเรือน พบว่า มีสมาชิกในครอบครัวของตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 29.5 รองลงมา คือ ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 13.63 และป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.81 โดยจากที่กล่าวมาผลจากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของชาวบ้าน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง พบว่า สมาชิกในชุมชนมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร แบ่งออกเป็น การรับประทานอาหารหวาน มันและเค็ม โดยพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พบว่าตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคพอใช้ ร้อยละ 61.36 ด้านการออกกำลังกาย พบว่าตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายพอใช้ถึงไม่เหมาะสม ร้อยละ 74.99 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเสี่ยงในชุมชนส่วนใหญ่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยมีสาเหตุจากการที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม และจากการทำประชาคมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 53 คน ประกอบด้วย นายกเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผอ.รพ.สต.โคกม่วง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ สมาชิกอสม. และตัวแทนชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง ได้มีมติเอกฉันท์ในการแก้ปัญหา เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับชุมชนหมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง จึงได้จัดทำโครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย” ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับประชาชน หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ซึ่งจุดมุ่งหมายของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ ปี พ.ศ. 2560 – 2564 ของกระทรวงสาธารณะสุข ที่ว่า ประชาชนสุขภาพดี ปลอดจากภาวะโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ โดยยุทธศาสตร์ที่ 2 การเร่งขับเคลื่อนทางสังคมสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่ออย่างต่อเนื่องและพัฒนาเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสื่อสารความเสี่ยงในการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย โดยพัฒนากลไกให้ประชาชนองค์กรท้องถิ่นภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรค และเป็นการพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านสุขภาพ (Health Leader) ในชุมชนในด้านเฝ้าระวังส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
  2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
  3. 3. เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT
  4. 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 50
    กลุ่มผู้สูงอายุ 40
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพและควบคุมภาวะแทรกซ้อน
    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะเลือกปรุงอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในโรคเรื้อรัง
    • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในโรคเรื้อรัง

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    5.3 การประเมินประสิทธิผลของโครงการ ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ การจัดโครงการ ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกาลังกาย มี 2 ระยะ คือ การจัดอบรม แกนนาการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้าและสมาธิบาบัด SKT ในวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจานวน 8 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และระยะที่ 2 จัดขึ้นในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 มีผู้เข้าร่วมโครงการจานวน 87 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 55 คน คิดเป็นร้อยละ 116.36 และสามารถประเมินผลโครงการ ตามวัตถุประสงค์/เป้าหมายของโครงการได้ ดังนี้ วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เป้าหมาย หลังได้รับความรู้ ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ (60/10055 = 33 คน) สามารถตอบคาถาม เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้ถูกต้องอย่างน้อย 6 ใน 10 ข้อ ภายหลังการให้ความรู้ในกิจกรรม ลด หวาน มัน เค็ม 3 ตัวร้ายก่อโรคเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมจานวน 43 คน สามารถตอบคาถามได้ถูกต้องอย่างน้อย 6 ข้อใน 10 ข้อ จานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถคานวณประสิทธิผลของโครงการได้ ดังนี้ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ = 100 x 10060 = 166.66 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการออกกาลังกายที่ถูกต้อง 2.1 เป้าหมาย หลังได้รับความรู้ ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ (60/10055 = 33 คน) สามารถตอบคาถามเกี่ยวกับการออกกาลังกายที่ได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ใน 7 ข้อ ภายหลังการให้ความรู้ในกิจกรรม ขยับซ้ายผ้าขาวม้า ขยับขวา SKT ผู้เข้าร่วมจานวน 43 คน สามารถตอบคาถามได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ข้อใน 7 ข้อ จานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถคานวณประสิทธิผลของโครงการได้ ดังนี้ ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ = 100 x 10060 = 166.66 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย 2.2 เป้าหมาย หลังการสาธิตการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ (80/10055 = 44 คน) สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT ได้ถูกต้องทุกท่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ขยับซ้ายผ้าขาวม้า ขยับขวา SKT ผู้เข้าร่วมจานวน 43 คน สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT ได้ถูกต้องทุกท่า จานวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถคานวณประสิทธิผลของโครงการได้ ดังนี้ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ = 100 x 10080 = 125 คือ ประสิทธิผลของโครงการที่คิดจากจานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง แต่จานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ (44 คน) โดยขาดไป 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.27 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย?? วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อสร้างแกนนาในการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT 3.1 เป้าหมาย หลังได้รับความรู้ ร้อยละ 100 ของแกนนา (100/1008 = 8 คน) สามารถตอบคาถามได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ข้อใน 7 ข้อ ภายหลังการให้ความรู้ในกิจกรรม ขยับซ้ายผ้าขาวม้า ขยับขวา SKT ผู้เข้าร่วมจานวน 8 คน สามารถตอบคาถามได้ถูกต้องอย่างน้อย 5 ข้อใน 7 ข้อ จานวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถคานวณประสิทธิผลของโครงการได้ ดังนี้ ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ = 100 x 100100 = 100 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย 3.2 เป้าหมาย หลังการสาธิตการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT ร้อยละ 100 ของแกนนา (100/1008 = 8 คน) สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัด SKT ได้ถูกต้องทุกท่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างแกนนาในการออกกาลังกายฯ จานวนทั้งสิ้น 8 คน สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกาลังกายด้วยผ้าขาวม้า และสมาธิบาบัดแบบ SKT ได้ถูกต้องทุกท่า จานวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถคานวณประสิทธิผลได้ ดังนี้ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ = 100 x 100100 = 100 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ 4 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เป้าหมาย หลังสิ้นสุดโครงการ ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการ (80/10055 = 44 คน) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีผู้เข้าร่วมการประเมินความพึงพอใจจานวนทั้งสิ้น 40 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถคานวณประสิทธิผลได้ดังนี้ ประสิทธิผลของโครงการ = ผลลัพธ์ที่ทาได้ x 100เป้าหมายที่กาหนดไว้ =100 x 10080 = 125* *คือ ประสิทธิผลของโครงการที่คิดจากจานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง แต่จานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ (44 คน) โดยขาดไป 4 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 ดังนั้น สรุปได้ว่า การดาเนินโครงการในวัตถุประสงค์นี้บรรลุเป้าหมาย รายละเอียดความพึงพอใจปรากฏตามตารางที่ 6 การประเมินความพึงพอใจโครงการ “ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกาลังกาย” จากการดาเนินโครงการในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนหมู่ 9 บ้านทอนคลอง ตาบลโคกม่วง อาเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี จานวน 64 คน มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจ จานวน 40 คน

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถตอบคำถาม เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมได้ 6 ใน 10 ข้อ 2. ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์จากกิจกรรม “น้ำยาหรอย ถอยห่างโรค” และการถ่ายทอดการดูแลตัวเองจากแขกรับเชิญ
    0.00

     

    2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ออกกำลังกาย สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องได้ 3 ใน 5 ข้อ 2.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการออกกำลังกาย สามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT ได้ถูกต้องทุกท่า
    0.00

     

    3 3. เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 100 ของแกนนำมีความรู้ในการออกกำลังกาย 2.ร้อยละ 100 ของแกนนำมีทักษะในการออกกำลังกายสามารถสาธิตย้อนกลับการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT ได้ถูกต้องทุกท่า
    0.00

     

    4 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
    0.00

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 50
    กลุ่มผู้สูงอายุ 40
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง ควบคุมความรุนแรงของโรคเรื้อรัง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง (2) 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง (3) 3. เพื่อสร้างแกนนำในการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า และ SKT (4) 4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ทอนคลองกินดี ชีวีมีสุข ต้านทุกข์ด้วยการออกกำลังกาย จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 64-L5168-2-1

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอรุณ บุญรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด