กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-16 เลขที่ข้อตกลง 8/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2564-L3351-01-16 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2563 - 31 กรกฎาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 10,356.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากสถานการณ์อทุกภัย ภัยพิบัติในพื้นที่ปัจจุบัน ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งพื้นที่ ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางด้านเกษตรกรรม คือ การปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทั้งในสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันและบริเวณที่อยู่อาศัย ประชาชนที่ทำสวนก็มีปัญหาน้ำท่วมที่ทำกิน จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเดินย่ำโคลนหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังด้วยเท้าเปล่า ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรค คือ มีไข้สูงทันที ทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 อำเภอเมืองพัทลุงได้รับรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.12 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต สำหรับในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 11 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 8 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วยในพื้นที่เพียง 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 33.76 ต่อประชากรแสนคน จากการสอบสวนโรคส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองในระหว่างที่ออกไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งรังโรคไม่เหมาะสม คือ สวมรองเท้าบู๊ทที่ขาด ไม่สวมรองเท้าในขณะที่ทำงานในโคลนหรือที่มีน้ำขัง ไม่สวมถุงมือ และไม่รีบมารับการรักษาเมือเกิดการเจ็บป่วย เป็นต้น และซึ่งพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงของตำบลโคกชะงาย คือ แหล่งน้ำหมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 8 โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม ของทุกปี เป็นช่วงระยะเวลาที่พบผู้ป่วยบ่อยที่สุด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีความห่วงใยสุขภาพประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคเลปโตสไปโรซีสเมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 ขึ้น แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนูในช่วงฤดูฝนและช่วงน้ำท่วมและเพื่อเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนตำบลโคกชะงาย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน
  2. เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส เทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน
  2. คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน)
  3. การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน
  4. การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน
  5. สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน
  6. คืนขอมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประชาชนได้ทราบพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงโรคเลปโสไปโรซีสในชุมชน
  • ลดอัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จัดทำโครงการเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคฉี่หนู
  • สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชนเรื่องเลปโตสไปโรซีส ในหมู่ที่ 2 3 4 5 6 8รวมทั้งจำนวน 600 ชุด พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซิสต้องปรับเปลี่ยนคือพฤติกรรมการกินอาหารที่ทิ้งไว้โดยไม่มีภาชนะปกปิด ร้อยละ 3.16 การกินอาหารที่ค้างคืนและสงสัยมีหนูมาฉี่ราด ร้อยละ 1.50 การอาบน้ำทำความสะอาดทันที เมื่อเดินลุยน้ำและโคลน ร้อยละ 0.83 การเดินลุยน้ำโคลนเมื่อมีแผลสม่ำเสมอ ร้อยละ 1.83 การสวมรองเท้าบูทเมื่อมีแผลเวลาเดินลุยน้ำไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 100
  • ความรู้การป้องกันโรค พบว่า ประชาชนเข้าใจผิด คือ
  1. พาหนะของโรคเลปโตสไปโรซีส
  2. เชื้อโรคสามารถเข้าสู่คนได้ทางผิวหนังที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนเท่านั้น
  3. อุปกรณ์ป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ซึ่งส่วนใหญ่ตอบรองเท้าบู๊ทและถุงมือยางซึ่งประชาชนมีความเข้าใจโรคดังกล่าวเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคในพื้นที่เกษตร แต่โรคเลปโตสไปโรซีสยังสามารถเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคได้อีกด้วย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน
ตัวชี้วัด : สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชนทั้ง ุ 6 หมู่บ้าน
2.00 6.00 600.00

 

2 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส เทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง
ตัวชี้วัด : ลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคเลปโตสไปโรซีสเทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (101/แสนประชากร)
101.28 67.52 37.15

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 600 600
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่อโรคเลปโตสไปโรซีสของประชาชนในชุมชน (2) เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิต จากโรคเลปโตสไปโรซีส เทียบกับมัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน (2) คืนข้อมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน) (3) การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน (4) การเฝ้าระวังและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน (5) สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงของประชาชนในชุมชน (6) คืนขอมูลพฤติกรรมและสถานการณ์โรคสู่ชุมชน (เวทีประชุมหมู่บ้าน)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ปี 2564 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2564-L3351-01-16

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด